ดูเพิ่ม: กล็อม

ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์
{ไม่ตามอักขรวิธี; เสียงสระสั้น}
กฺล็่อม
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงglɔ̀m
ราชบัณฑิตยสภาklom
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/klɔm˨˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

กล่อม

  1. ชื่อมาตราชั่งของไทยโบราณ 4 เมล็ดข้าวเปลือก เป็น 1 กล่อม, 2 กล่อม เป็น 1 กล่ำ

รากศัพท์ 2

แก้ไข

คำกริยา

แก้ไข

กล่อม (คำอาการนาม การกล่อม)

  1. ถากแต่งให้กลมงาม
    กล่อมเสา
    กล่อมไม้
  2. โดยปริยายหมายความว่า เหมาะเจาะ
    น้ำหอมกล่อมกลิ่นดอกไม้กลั่น
    (ขุนช้างขุนแผน)

รากศัพท์ 3

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

กล่อม

  1. ชื่อเพลงเครื่องปี่พาทย์ ทำตอนพระเข้าหานาง ซึ่งเรียกว่า โลม หรือตอนขับบำเรอ เรียกว่า กล่อมมโหรี อันใช้เป็นเครื่องสายประสมในภายหลังและมีชื่อเป็นชนิดต่าง ๆ คือ กล่อมช้าง กล่อมพระยา กล่อมนารี และกล่อมในพิธีพราหมณ์ เรียกว่า ช้าหงส์ หรือ ช้าเจ้าหงส์, ชาวบ้านมักเรียกว่า กล่อมหงส์

คำกริยา

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับ จ้วง gyomq (กล่อม-ร้องเพลงกล่อมเด็กนอน)

กล่อม (คำอาการนาม การกล่อม)

  1. ร้องเป็นทำนองเพื่อเล้าโลมใจหรือให้เพลิน
  2. โดยปริยายหมายความว่า พูดให้น้อมใจตาม หรือทำให้เพลิดเพลิน
    กล่อมใจ
    กล่อมอารมณ์