ดูเพิ่ม: เถี้ยง

ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์เถียง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงtǐiang
ราชบัณฑิตยสภาthiang
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/tʰia̯ŋ˩˩˦/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน เถียง, ภาษาลาว ຖຽງ (ถย̂ง), ภาษาคำเมือง ᨳ᩠ᨿᨦ (ถยง), ภาษาเขิน ᨳ᩠ᨿᨦ (ถยง), ภาษาไทลื้อ ᦵᦏᧂ (เถง), ภาษาไทดำ ꪖꪸꪉ (ถย̂ง), ภาษาไทใหญ่ ထဵင် (เถง), ภาษาอาหม 𑜌𑜢𑜂𑜫 (ถิง์)

คำกริยา

แก้ไข

เถียง (คำอาการนาม การเถียง)

  1. (สกรรม) พูดโต้, พูดแย้ง, พูดโต้แย้ง
  2. (สกรรม) ขัดกัน
    เรื่องนี้ความตอนต้นกับตอนปลายเถียงกัน

คำสืบทอด

แก้ไข
  • ญัฮกุร: เทียง

รากศัพท์ 2

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຖຽງ (ถย̂ง), ภาษาไทใหญ่ ထဵင် (เถง), ภาษาอาหม 𑜌𑜢𑜂𑜫 (ถิง์), ภาษาจ้วงใต้ ting/tieng (ถิง/เถียง)

คำนาม

แก้ไข

เถียง

  1. เรือนพักชั่วคราวในทุ่งนา สำหรับอยู่เฝ้าข้าว