นา
ภาษาไทย
แก้ไขการออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ | นา | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | naa |
ราชบัณฑิตยสภา | na | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /naː˧/(สัมผัส) |
รากศัพท์ 1
แก้ไขสืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *naːᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨶᩣ (นา), ภาษาลาว ນາ (นา), ภาษาไทลื้อ ᦓᦱ (นา), ภาษาไทดำ ꪙꪱ (นา), ภาษาไทขาว ꪙꪱ, ภาษาตั่ย nà, ภาษาไทใหญ่ ၼႃး (น๊า), ภาษาไทใต้คง ᥘᥣᥰ (ล๊า) หรือ ᥢᥣᥰ (น๊า), ภาษาอ่ายตน ꩫႃ (นา), ภาษาพ่าเก ꩫႃ (นา), ภาษาอาหม 𑜃𑜠 (นะ) หรือ 𑜃𑜡 (นา), ภาษาจ้วง naz, ภาษาปู้อี naz; เทียบภาษาเบดั้งเดิม *niaᴬ², ภาษาไหลดั้งเดิม *hnaːɦ (“นา; คันนา”)
คำนาม
แก้ไขนา
- พื้นที่ราบทำเป็นคันกั้นน้ำเป็นแปลง ๆ สำหรับปลูกข้าวเป็นต้น
- พื้นที่มีลักษณะคล้ายนาสำหรับทำประโยชน์อื่น ๆ เรียกตามสิ่งที่ทำ เช่น นาเกลือ นากุ้ง นาผักกระเฉด
- ใช้ประกอบกับคำอื่นที่เกิดหรือเกี่ยวข้องกับนา เช่น เต่านา ปูนา
- (เลิกใช้) ตำแหน่งเจ้ากระทรวงปกครองครั้งโบราณ มีหน้าที่ดูแลรักษานาหลวงจัดหาและรักษาเสบียงอาหารสำหรับพระนคร ดูแลทุกข์สุขของชาวไร่ชาวนา
- (ร้อยกรอง) อวัยวะเพศหญิง
- นาดีดีต้องใช้ข้าวปลูกพันธุ์ดี ถ้าปลูกไม่ดีก็ทำให้เสียที่นา(เพลง รักกับพี่ดีแน่)
- นาน้องทำไมหญ้ารก หญ้าปรกเสียจนเป็นป่า พี่จะมาช่วยไถ เอาไหมนะจ๊ะแก้วตา(เพลง รักเลี่ยมทอง)
คำประสม
แก้ไขคำแปลภาษาอื่น
แก้ไขพื้นที่สำหรับปลูกข้าวเป็นต้น
รากศัพท์ 2
แก้ไขเกี่ยวข้องกับคำว่า นะ
คำอนุภาค
แก้ไขนา
- (ภาษาหนังสือ) มักใช้ประกอบท้ายคำบทร้อยกรองให้มีความกระชับหรือสละสลวยขึ้น
- แลนา
ภาษาเขมรเหนือ
แก้ไขรากศัพท์
แก้ไขเทียบภาษาเขมร ណា (ณา), អ៊ីណា (อ̰ีณา), អីណា (อีณา), ឯណា (เอณา)
การออกเสียง
แก้ไข- สัทอักษรสากล(คำอธิบาย): /naː/
คำสรรพนาม
แก้ไขนา