ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์ลืม
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงlʉʉm
ราชบัณฑิตยสภาluem
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/lɯːm˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *lɯːmᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩃᩨ᩠ᨾ (ลืม), ภาษาลาว ລືມ (ลืม), ภาษาเขิน ᩃᩨ᩠ᨾ (ลืม), ภาษาไทลื้อ ᦟᦹᧄ (ลืม), ภาษาไทดำ ꪩꪳꪣ (ลึม), ภาษาไทใหญ่ လိုမ်း (ลึ๊ม), ภาษาไทใต้คง ᥘᥪᥛᥰ (ลื๊ม), ภาษาอาหม 𑜎𑜢𑜤𑜉𑜫 (ลึม์), ภาษาจ้วง lumz

คำกริยา

แก้ไข

ลืม (คำอาการนาม การลืม)

  1. หายไปจากความจำ, นึกไม่ได้, นึกไม่ออก
    เขาลืมความหลัง
    ลืมชื่อเพื่อน
  2. ระลึกไม่ได้เพราะขาดความเอาใจใส่เป็นต้น
    ลืมทำการบ้าน
    ลืมรดน้ำต้นไม้

คำแปลภาษาอื่น

แก้ไข

รากศัพท์ 2

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *mlɯnᴬ (เปิด(ตา)) (Pittayaporn, 2008); พยัญชนะท้าย /*-n/ กลายเป็น /-m/ เนื่องจากการกลืนเสียงไปกับพยัญชนะต้น /*m-/: พยัญชนะต้น /*ml-/ กลายเป็น /l-/ ตามปกติ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน มืน, ภาษาลาว ມືນ (มืน), ภาษาคำเมือง ᨾᩨ᩠ᨶ (มืน), ภาษาเขิน ᨾᩨ᩠ᨶ (มืน), ภาษาไทลื้อ ᦙᦹᧃ (มืน), ภาษาไทใหญ่ မိုၼ်း (มึ๊น)

คำกริยา

แก้ไข

ลืม (คำอาการนาม การลืม)

  1. เปิด(ตา) (ในคำว่า ลืมตา).

ภาษาคำเมือง

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข

คำกริยา

แก้ไข

ลืม (คำอาการนาม ก๋ารลืม หรือ ก๋านลืม)

  1. (สกรรม) อีกรูปหนึ่งของ ᩃᩨ᩠ᨾ (ลืม)