ดูเพิ่ม: บา, บ่า, และ บ๋ำ

ภาษาไทย

แก้ไข
 
วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

รากศัพท์

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ɓaːꟲ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨷ᩶ᩤ (บ้า), ภาษาเขิน ᨷ᩶ᩤ (บ้า), ภาษาลาว ບ້າ (บ้า), ภาษาไทลื้อ ᦢᦱᧉ (บ้า), ภาษาไทดำ ꪚ꫁ꪱ (บ้า), ภาษาไทใหญ่ မႃႈ (ม้า) หรือ ဝႃႈ (ว้า), ภาษาไทใต้คง ᥛᥣᥲ (ม้า, โกรธ), ภาษาอาหม 𑜈𑜡 (บา)

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์บ้า
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงbâa
ราชบัณฑิตยสภาba
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/baː˥˩/(สัมผัส)

คำคุณศัพท์

แก้ไข

บ้า (คำอาการนาม ความบ้า)

  1. เสียสติ, วิกลจริต, สติฟั่นเฟือน, หลงใหลหรือมัวเมาในสิ่งนั้นจนผิดปรกติ
    บ้ากาม
    บ้ายศ
    บ้าฟุตบอล
  2. อาการที่สัตว์บางชนิดเช่นหมาเป็นโรคกลัวนํ้า

คำแปลภาษาอื่น

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

บ้า (คำลักษณนาม ตัว)

  1. (ปลา~) ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Leptobarbus hoeveni (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวค่อนข้างยาวหนาเกือบเป็นรูปทรงกระบอก หัวกว้าง มีหนวด ๒ คู่ ท้องกลมมน ด้านหลังและข้างตัวสีเขียวอ่อน ด้านท้องสีขาวแต้มเหลือง ครีบท้อง ครีบก้น และครีบหลังสีแดงอ่อน ในปลาขนาดเล็กมีแถบสีดำคลํ้าพาดตลอดข้างตัว พบอาศัยตามแม่นํ้าลำคลองและบึงใหญ่ทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร ในธรรมชาติกินผลไม้รวมทั้งผลกระเบา เมื่อมีผู้นำไปบริโภคทำให้เกิดอาการมึนเมา

ภาษาคำเมือง

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

บ้า

  1. (บ่า~) อีกรูปหนึ่งของ ᨷ᩶ᩤ (บ้า)