ภาษาไทย แก้ไข

รากศัพท์ แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ɡ.lwɤːnᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨣᩖᩤ᩠ᨶ (คลาน), ภาษาลาว ຄານ (คาน), ภาษาไทลื้อ ᦅᦱᧃ (คาน), ภาษาเขิน ᨣᩤ᩠ᨶ (คาน), ภาษาไทใหญ่ ၵၢၼ်း (ก๊าน), ภาษาไทใต้คง ᥐᥣᥢᥰ (ก๊าน), ภาษาไทดำ ꪋꪱꪙ (จ̱าน), ภาษาจ้วง gyanz, ภาษาจ้วงแบบหนง zanz

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์คฺลาน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงklaan
ราชบัณฑิตยสภาkhlan
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kʰlaːn˧/(สัมผัส)

คำกริยา แก้ไข

คลาน (คำอาการนาม การคลาน)

  1. ไปด้วยมือและเข่าอย่างเด็ก
  2. กิริยาที่ใช้มือและเท้าทั้ง 2 ทาบพื้นแล้วเคลื่อนไป เรียกว่า คลานสี่เท้า
  3. กิริยาที่เคลื่อนไปด้วยเข่าและศอก เรียกว่า คลานศอก, ด้วยเข่า เรียกว่า คลานเข่า
  4. กิริยาที่เดินไปอย่างช้า ๆ ของสัตว์บางชนิด เช่น เต่า จระเข้
  5. เคลื่อนไปอย่างช้า ๆ
    รถยนต์ค่อย ๆ คลานไป