ดูเพิ่ม: หมา และ หม่ำ

ภาษาไทย แก้ไข

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์หฺม่า
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงmàa
ราชบัณฑิตยสภาma
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/maː˨˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1 แก้ไข

คำกริยา แก้ไข

หม่า (คำอาการนาม การหม่า)

  1. (ล้าสมัย) กิน
    ในห้องมีของกินมาก เข้าไปหม่าเสียซิ

รากศัพท์ 2 แก้ไข

คำกริยา แก้ไข

หม่า (คำอาการนาม การหม่า)

  1. (ล้าสมัย) ปล่อยไว้ไม่เป็นระเบียบ
    เสื้อผ้าข้าวของไม่เก็บ หม่าไว้เต็มห้อง

รากศัพท์ 3 แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩉ᩠ᨾ᩵ᩣ (หม่า), ภาษาอีสาน หม่า, ภาษาลาว ໝ່າ (หม่า), ภาษาไทลื้อ ᦖᦱᧈ (หฺม่า), ภาษาไทใหญ่ မႃႇ (ม่า)

คำกริยา แก้ไข

หม่า (คำอาการนาม การหม่า)

  1. (ล้าสมัย) หมัก, แช่ให้อ่อนตัว
    หม่าข้าว
    หม่าแป้ง
    หม่าปูน

คำสลับอักษร แก้ไข

ภาษาแสก แก้ไข

รากศัพท์ แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ʰmaːᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาไทย หมา, ภาษาคำเมือง ᩉ᩠ᨾᩣ (หมา), ภาษาลาว ໝາ (หมา), ภาษาไทลื้อ ᦖᦱ (หฺมา), ภาษาไทดำ ꪢꪱ (หฺมา), ภาษาไทใหญ่ မႃ (มา), ภาษาไทใต้คง ᥛᥣᥴ (ม๋า), ภาษาอ่ายตน မႃ (มา), ภาษาอาหม 𑜉𑜠 (มะ), ภาษาจ้วง ma

คำนาม แก้ไข

หม่า

  1. หมา

ภาษาอีสาน แก้ไข

รากศัพท์ แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาไทย หม่า, ภาษาคำเมือง ᩉ᩠ᨾ᩵ᩣ (หม่า), ภาษาลาว ໝ່າ (หม่า), ภาษาไทลื้อ ᦖᦱᧈ (หฺม่า), ภาษาไทใหญ่ မႃႇ (ม่า)

คำกริยา แก้ไข

หม่า (คำอาการนาม การหม่า)

  1. หมัก, แช่ให้อ่อนตัว