ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์อา-ลัก
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงaa-lák
ราชบัณฑิตยสภาa-lak
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/ʔaː˧.lak̚˦˥/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

ยืมมาจากภาษาเขมรเก่า អាលក្ឞណ (อาลกฺษณ), អាលក្ឞន (อาลกฺษน), អាលក្ឞ (อาลกฺษ, เอกสาร, หมาย, คำสั่งของทางราชการ)[1]; ร่วมเชื้อสายกับภาษาเขมร អាល័ក្សណ៍ (อาลักฺสณ์), អាល័ក្ស (อาลักฺส), ภาษาลาว ອາລັກ (อาลัก)

รูปแบบอื่น

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

อาลักษณ์

  1. ผู้ทำหน้าที่ทางหนังสือในราชสำนัก

รากศัพท์ 2

แก้ไข

ยืมมาจากภาษาสันสกฤต आलक्षण (อาลกฺษณ); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ອາລັກ (อาลัก)

คำนาม

แก้ไข

อาลักษณ์

  1. (ภาษาหนังสือ, ร้อยกรอง) การเห็น, การสังเกต

อ้างอิง

แก้ไข
  1. ราชบัณฑิตยสภา (2015) กฎหมายตราสามดวง: พระธรรมสาตร และหลักอินทภาษ ฉบับราชบัณฑิตยสภา (in ไทย), Bangkok: ราชบัณฑิตยสภา, →ISBN, page 57:
    ผศ. ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา: ลักษณ (ส. ลกฺษณ) หมายถึง การมองดู การตรวจสอบ การสังเกต ส่วนคำว่า เลขก (ป., ส.) หมายถึง ผู้เขียน. ศ.วิสุทธ์ บุษยกุล: ลักษณ หมายถึง เป็นที่สังเกต เช่น อภิลักขิตสมัย หมายถึง เวลาที่ดีงาม ที่ประเสริฐ จึงต้องบันทึกไว้. ดร.ใกล้รุ่ง อามระดิษ: อาลกฺษณ (ข.โบราณ) หมายถึง เอกสาร, หมาย หรือคำสั่งของทางราชการ. พล.ต. ม.ร.ว.ศุภวัฒย์ เกษมศรี: คนไทยมีคำเรียกรอยพระพุทธบาทว่า บาทลักษณ์ คำว่า อาลักษณ จึงอาจหมายถึง การเขียนรูปรอยให้ปรากฏลักษณะชัดเจน.