ดูเพิ่ม: เหน้บ

ภาษาไทย

แก้ไข
 
วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์เหฺน็บ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงnèp
ราชบัณฑิตยสภาnep
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/nep̚˨˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับลาว ເໜັບ (เหนับ), ไทลื้อ ᦵᦐᧇ (เหฺนบ), ไทใหญ่ ၼဵပ်း (เน๊ป), ไทใต้คง ᥘᥥᥙᥱ (เล่ป), พ่าเก ꩫိပ် (นิป์), อาหม 𑜃𑜢𑜆𑜫 (นิป์)

คำกริยา

แก้ไข

เหน็บ (คำอาการนาม การเหน็บ)

  1. เสียบ, สอดไว้ในที่บังคับ
  2. กิริยาที่เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีสบู่เป็นต้นสอดเข้าไปในช่องทวารหนักเพื่อให้อุจจาระออก

คำนาม

แก้ไข

เหน็บ (คำลักษณนาม เล่ม)

  1. (มีด~, มีดอี~, อี~) ชื่อมีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างปลายแหลม กลางป่อง โคนแคบ สันค่อนข้างหนา ด้ามทำเป็นกั่นสอดติดกับด้ามไม้หรือทำเป็นบ้องติดอยู่ในตัวก็มี ปรกติสอดใบมีดไว้ในฝักซึ่งทำด้วยไม้หรือหวายสาน นิยมเหน็บเอวด้านหลังหรือด้านหน้าในเวลาออกนอกบ้าน ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง

รากศัพท์ 2

แก้ไข

คำกริยา

แก้ไข

เหน็บ (คำอาการนาม การเหน็บ)

  1. พูดเสียดสีแคะไค้
    เขาชอบมาเหน็บให้เจ็บใจ

คำกริยาวิเศษณ์

แก้ไข

เหน็บ

  1. (พูด~) อาการที่พูดเสียดสีแคะไค้

รากศัพท์ 3

แก้ไข

เทียบไทลื้อ ᦵᦐᧆ (เหฺนด), ไทใหญ่ ၼဵတ်း (เน๊ต), ไทใต้คง ᥘᥥᥖᥱ (เล่ต), พ่าเก ꩫိတ် (นิต์) ในความหมายเดียวกัน; เป็นไปได้ว่าร่วมรากกับ เหน็ด

คำนาม

แก้ไข

เหน็บ

  1. อาการชาและเจ็บแปลบปลาบตามแขนขาเป็นต้น เกิดจากหลอดเลือดและเส้นประสาทหรืออย่างใดอย่างหนึ่งบริเวณนั้นถูกกดทับระยะหนึ่ง