Alifshinobi
เข้าร่วมเมื่อ 11 มิถุนายน 2551
| ||
| ||
| ||
| ||
|
สวัสดีครับ
เป้าหมายหลักปัจจุบันแก้ไข
- เพิ่มคำลาว ไทใหญ่ และไทลื้อให้มีอย่างน้อย 10,000 คำต่อภาษา ตอนนี้จะเน้นคำใช้บ่อยก่อน โดยเฉพาะคำกริยาประสมและคำนามประสม ผมเน้นคำประสมเพราะส่วนตัวเวลาอ่านภาษาไทลื้อและไทใหญ่ ความงงมักเกิดขึ้นเพราะเข้าใจความหมายคำเดี่ยว ๆ แต่ยังงงเพราะความเดี่ยวเหล่านี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของคำประสม ซึ่งมีความหมายที่ไม่สามารถเดาได้ เช่น คำว่า "ต้อง, ควร" (คำช่วยก่อนคำกริยา) ในไทใหญ่ คือ တေလႆႈ (เตไล้) และไทลื้อ คือ ᦈᧅᦺᦡᧉ (จักได้) ซึ่งแปลคำต่อคำเป็นไทยคือ "จะได้ (จักได้)"
การเรียงลำดับตัวอักษรธรรมล้านนา (collating order) ตามหลักยูนิโค้ดแก้ไข
ดูเพิ่มที่ https://www.unicode.org/L2/L2007/07007r-n3207r-lanna.pdf
- สระ เอีย กับ อัว (ถ้าลืมให้ใช้ "เมีย" กับ "ผัว" เป็นตัวช่วยจำ): ให้สันนิษฐานว่า ย กับ ว เป็นพยัญชนะตัวที่สองของพยัญชนะควบกล้ำ จึงต้องเรียงก่อน เ- และ ไม้กง ตามลำดับ เช่น ᩈ᩠ᨿᩮ (สเย, “เสีย”) คือ ส + ย สะกด + เ- และ ᨲ᩠ᩅᩫ (ตว็, “ตัว”) คือ ต + ว สะกด + ไม้กง
- ถ้ามีไม้วรรณยุกต์ ให้เขียนหลังพยัญชนะควบกล้ำ เหมือนดั่งที่ ในภาษาไทย ไม้วรรณยุกต์ต้องเขียนไว้บนพยัญชนะต้นตัวที่สองในพยัญชนะควบกล้ำทั่วไป ยกตัวอย่าง เสี้ยง กับ ม่วน เพราะ ย กับ ว ได้สันนิษฐานว่าเป็นเหมือน ร ล ว ใน ครั้ง, กล้า, กว้าง ตามลำดับ คำว่า เสี้ยง (ᩈ᩠ᨿ᩶ᨦ (สย้ง)) กับ ม่วน (ᨾ᩠ᩅ᩵ᩁ (มว่ร)) จึงต้องเขียน ส + ย สะกด + ไม้โท + ง และ ม + ว สะกด + ไม้เอก + ร ตามลำดับ
- สระใต้พยัญชนะต้องเรียงก่อนสระข้างบน เช่น ᨤᩬᩴ (ฅอํ) คือ ฅ + อ + -ํ และสระซ้ายมือต้องมาก่อน เช่น เมือง (ᨾᩮᩬᩥᨦ (เมอิง)) เขียน ม + เ- + อ ล่าง + -ิ + ง
- สระ อำ ให้เขียน -า ก่อน -ํ เช่น ᨠᩣᩴ (กาํ) คือ ก + -า + -ํ ถ้ามีไม้วรรณยุกต์ ให้เขียนบนตัวพยัญชนะก่อนเขียน -า เช่น ถ้ำ (ᨳ᩶ᩣᩴ (ถ้าํ)) กับ น้ำ (ᨶ᩶ᩣᩴ (น้าํ)) คือ ถ + ไม้โท + -า + -ํ และ น + ไม้โท + -า + -ํ ตามลำดับ
หน้าย่อยแก้ไข
ดูเพิ่มแก้ไข
ลิงก์แก้ไข
- ฟอนต์ Padauk - สำหรับผู้ที่มีคอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถรับอักษรพม่า, ไทใหญ่, มอญ, และ กระเหรี่ยงได้
- ฟอนต์ตัวธรรมล้านนา