Potapt
ยินดีต้อนรับคุณ Potapt สู่วิกิพจนานุกรมภาษาไทย | |
วิกิพจนานุกรม เป็นเว็บไซต์ที่เปิดให้ทุกคนช่วยกันเขียนพจนานุกรมออนไลน์ที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วม และร่วมกันปรับปรุงให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น ผมขอแนะนำหน้าต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ดังนี้ หากไม่แน่ใจว่าควรทำอะไรก่อนดี ลองแวะดูได้ที่คุณช่วยคุณได้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งาน หรือเรื่องใดๆในวิกิพจนานุกรม สามารถสอบถาม ปรึกษา หรือเข้ามาพูดคุยกันได้ที่หน้าถามการใช้งาน ขอให้มีความสุขกับการเขียนวิกิพจนานุกรมนะครับ Hello Potapt! Welcome to Thai Wikitionary. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook. Have a nice day! |
ä
แก้ไขสวัสดีครับ ä ที่คุณใส่ไปหมายถึง centralized a ซึ่งโดยปกติบางพยางค์ก็ไม่ใช่ และสระอะ-อา-เอีย-เอือ-อัว-อำ-ใอ-ไอ-เอา มันเป็น/มีเสียงแปร [a~ä] ที่ต่างกันไม่มาก ผมจึงคิดว่าควรใส่เป็น a ให้หมด
ที่จุดผมใส่ aˑ ไปนั้น จุดเล็ก ๆ U+02D1 หมายถึงเสียงกึ่งพยางค์ (half-length) ซึ่งภาษาไทยสอนกันมาแต่เดิมในจำพวกอักษรนำ (ถ้าผมเข้าใจผิดช่วยบอกด้วย) และพยางค์ดังกล่าวนี้เสียงวรรณยุกต์ไม่สำคัญจึงไม่ได้ใส่ไว้ เช่น อร่อย ผมจะเขียนว่า [ʔaˑ.rɔj˩] เป็นต้น เรื่องตัด ʔ ออกนี่ผมก็เอาออกเหมือนกันไม่ได้ขัดข้องอันใด
สำหรับขนุน ũ หมายถึง nasalized u แต่ปกติคำนี้สะกดด้วยพยัญชนะนาสิกอยู่แล้ว ไม่ต้องใส่ตัวหนอนลงไปก็ได้ครับ สระนาสิกปกติใช้กับคำที่ไม่มีตัวสะกดแต่มีเสียงนาสิกปรากฏ w:ภาษาจีนแต้จิ๋ว
ปล |lang=th ไม่ต้องใส่ก็ได้นะครับ ไม่มีผลอันใด --Octahedron80 (พูดคุย) 08:36, 2 มิถุนายน 2556 (ICT)
- ผมไม่แน่ใจว่า "เสียงกึ่งพยางค์" ที่คุณว่านั้นคือสิ่งเดียวกับ "สระอะกึ่งเสียง" หรือเปล่า ถ้าใช่ ก็ควรแทนด้วยสัญลักษณ์ ə ไม่ใช่เหรอครับ เพราะมันเป็นเสียง a ที่ถูกกร่อน (reduced) ไป ส่วนสัญลักษณ์ aˑ นี่ ถ้าเข้าใจไม่ผิด มันคือหนึ่งเสียงกับความยาวอีกครึ่งแล้วนะ (ประมาณว่าเป็น 1.5 ไม่ใช่ 0.5) คือมันยาวมากกว่า [a] (เสียงอะ ที่ไม่ใช่ [àʔ]) แต่สั้นกว่า [aa] ซึ่งระหว่าง [a] กับ [aˑ] ก็ไม่ได้ต่างกันมาก แต่ในคำไทยที่ผมถอดเสียงไป 4-5 คำนั้น ปกติไม่น่ามีใครออกเสียงพยางค์เหล่านั้นเป็น [aˑ] ด้วย อย่างคลิปนี้ [1] ผมว่าเขาออกเสียงเป็น [ə] "ซ(ะ)บู่" เลยด้วยซ้ำ ไม่ใช่ [aˑ] "ซาบู่" แน่นอน
- คำที่เหมาะจะใช้สัญลักษณ์ aˑ ที่พอจะนึกออกน่าจะเป็นคำว่า "ตาปลา" (เสียงสระอาในคำ "ตา" สั้นกว่าเสียงสระอาในคำ "ปลา" แต่ยาวกว่าเสียงสระอะในคำว่า "สบู่" "ขนุน" เป็นต้น) หรือ "นราธิวาส" (สำหรับคนที่ออกเสียงว่า นา-รา-ทิ-วาด) อะไรพวกนี้มากกว่า และเนื่องจากผมไม่เคยเห็นการถอดเสียงอะในพยางค์ที่ไม่เน้นโดยใช้ ə หรือ aˑ ที่ไหนมาก่อน (มีบทความวิชาการบางฉบับเสนอให้ใช้ ə แต่ก็ไม่ได้ถอดเป็นคำหรือเป็นย่อหน้าให้ดู) ถ้าจะให้เลือก ผมว่าใช้ a ทั้งหมดนั้นเซฟที่สุดแล้ว
- เรื่องเสียงวรรณยุกต์กับ stress นั้น จากหนังสือหรือบทความที่เคยอ่านมา เขาจะพูดในทำนองเดียวกันว่า เสียงวรรณยุกต์เอกหรือตรีในพยางค์ที่ไม่เน้น ("unstressed") จะมีการเปลี่ยนแปลงไป ส่วนมากจะบอกว่ามันถูกทำให้เป็นกลาง หมดความแตกต่าง (neutralized) และกลายเป็นเสียงสามัญ (mid tone) บางคนแย้งว่าไม่ใช่เช่นนั้น แต่ก็ยอมรับว่ามีการเปลี่ยนแปลงจริง ผมเห็นว่าในเมื่อภาษาไทยมีเสียงวรรณยุกต์ ดังนั้นไม่ว่าจะออกเสียงสูงต่ำยังไง มันก็ต้องตกอยู่ในระดับใดระดับหนึ่งอยู่แล้ว และในที่นี้น่าจะเป็นเสียงที่คล้ายกับเสียงสามัญ (ตามปกติ) มากที่สุด อีกอย่างในบทความ "Thai" ที่ลงในวารสารของสมาคม IPA ก็ใส่สัญลักษณ์แทนเสียงสามัญเมื่อถอดเสียงตลอด เช่น ขณะ สัทอักษรสากล(คำอธิบาย): [kʰāˈnàʔ], พลัง สัทอักษรสากล(คำอธิบาย): [pʰāˈlāŋ], พระอาทิตย์ สัทอักษรสากล(คำอธิบาย): [ˌpʰráʔāˈtʰít] จึงใช้ตามนั้นไป
- ส่วนเครื่องหมายเพิ่มเติมอื่น ๆ ผมไม่ได้ดูในแง่ที่ว่ามันมีหลักการอ่านภาษาไทยกำหนดไว้ยังไง เพราะใส่ไว้ใน phonemic transcription ก็ได้ ถ้าจะถอดเป็น phonetic transcription ผมนิยมถอดตามการออกเสียงแบบธรรมชาติ (ที่ไม่หละหลวมจนเกินไป) มากกว่า ตามที่ผมเคยเรียนมา การออกเสียงอะกึ่งเสียง จะใช้กับคำที่มีสระอะไม่ประวิสรรชนีย์เท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้ก็เห็นออกเสียงคำที่มีรูป -ะ เป็นเสียงอะกึ่งเสียงกันหลายคำ สระอาก็ใส่เครื่องหมายเพิ่มเพื่อเน้นว่า โดยทั่วไปสระอาภาษาไทยเป็นสระกลางลิ้น [ä] ไม่ใช่สระหน้า [a] (ดูจาก vowel chart สระอาภาษาไทยก็อยู่ตำแหน่งเดียวกับ ä ของ vowel chart ทั่วไป) หรือเครื่องหมาย tilde ก็ใส่เพื่อเจาะจงให้ชัดเจนขึ้นตามหลักการกลมกลืนเสียง สระที่ถูกขนาบด้วยพยัญชนะนาสิกและอยู่ในพยางค์ที่เน้น เวลาออกเสียงจะกลายเป็นเสียงสระขึ้นจมูกอยู่แล้ว ไม่ได้ดูว่ารูปเขียนมีพยัญชนะสะกดหรือไม่
- ขอบคุณที่บอกเรื่องจุดครับจะได้เลิกใช้ เรื่องเครื่องหมายเพิ่มเติม ผมลองใส่ใน จำนำพรรษา ปรากฏว่าเครื่องหมายซ้อนสองชั้นเลย แบบนี้สามารถทำได้ไหมครับ แล้วถ้าเป็นสระผสมเอีย-เอือ-อัวต้องใส่ tilde ทั้งสองสระหรือไม่ เสียงลือเสียงเล่าอ้าง --Octahedron80 (พูดคุย) 09:06, 3 มิถุนายน 2556 (ICT)
- ก่อนหน้านี้ผมไม่เคยเข้าไปดูหน้าที่คุณเขียนมาก่อนว่าคุณถอดเสียงคำหรือวลีอะไรไปบ้าง และใส่เครื่องหมายไว้อย่างไร และผมเองก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง จึงต้องบอกว่าผมตอบรายละเอียดได้เฉพาะหน้าที่ผมเคยใส่ไว้เท่านั้นเองนะครับ เพราะคำที่ผมถอดเสียงไปไม่มีเสียงสระประสมพอดี และไม่ได้คิดมาก่อนว่าทุกหน้าจะต้องถอดเสียงออกมาในระดับเดียวกันหมด ที่บอกได้ก็คือ ผมไม่เคยเห็นการใส่ tilde บนสระทั้งสองตัวในสระประสมภาษาไทย และไม่เคยเห็นการใส่ซ้อนกับจุดสองจุด คือตัดอย่างใดอย่างหนึ่งออกไป (ในหลักการนั้นเป็นไปได้ที่จะใส่ แต่หลักปฏิบัติ ผมไม่เคยเห็น เพราะบทความแต่ละเรื่องไม่ได้กล่าวถึงประเด็นที่ว่ามานั้นร่วมกัน) ซึ่งถ้าคุณเองก็ไม่แน่ใจว่ามันจะถูก ผมคิดว่าก็เอาออกไปทั้งหมดก็แล้วกันครับ ขออภัยที่ให้คำตอบคุณมากกว่านี้ไม่ได้ --Potapt (พูดคุย) 07:30, 4 มิถุนายน 2556 (ICT)
IPA
แก้ไขผมสร้างเครื่องมือขึ้นมาเพื่อจะได้กดเลือก IPA สำหรับภาษาไทยได้ง่ายขึ้นครับ http://alpha.bond.in.th/th-ipa.php --Octahedron80 (พูดคุย) 20:14, 18 สิงหาคม 2556 (ICT)
http://alpha.bond.in.th/word-input.php ฉบับปรับปรุงใหม่ครับ ปัจจุบันผมใช้อันนี้อยู่ สามารถดึงข้อมูลจาก royin ได้โดยตรง (แต่ก็ต้องปรับแต่งก่อนเอาลงจริงนิดหน่อย) --Octahedron80 (พูดคุย) 18:11, 2 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
ภาษาปาก-ภาษาพูด
แก้ไขตอนนี้มีหมวดหมู่แยกกันทั้ง ภาษาปาก ({{ปาก}}
) ตามพจนานุกรมฉบับเดิม และ ภาษาพูด (ยังไม่มีแม่แบบ) ควรใช้อะไรดีครับ --Octahedron80 (พูดคุย) 09:09, 4 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
อนึ่ง แม่แบบในวงเล็บต่าง ๆ มีอยู่ที่ ภาคผนวก:อภิธาน --Octahedron80 (พูดคุย) 09:16, 4 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
proto-language
แก้ไขภาษาที่เป็น proto-language ยังมีอีกหลายภาษา จะเรียกภาษาดั้งเดิมหมดได้หรือครับ [2] มันจะทำให้เข้าใจผิดไปหมดนะ เพราะดั้งเดิมอาจหมายถึง traditional หรือ classical หรือ original ก็ได้ อีกอย่างมันเป็นชื่อเฉพาะไม่ใช่คำสามัญครับ --Octahedron80 (พูดคุย) 10:30, 17 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
นอกจากนี้แหล่งข้อมูลที่ผมไปหามา มันก็มีทั้ง Proto-Zhuang-Tai Proto-Kam-Sui Proto-Tai-Kadai ด้วย จะใช้ดั้งเดิมมาแทนคงไม่ดีเท่าไรกระมัง [3] --Octahedron80 (พูดคุย) 10:35, 17 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
ตัวอย่าง swallow ก็ใช้ว่า โปรโต-เจอร์แมนิก และ โปรโต-อินโด-ยูโรเปียน --Octahedron80 (พูดคุย) 10:45, 17 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
- ผมว่าก็เรียกได้นี่ครับ ไม่เห็นจะเป็นอะไร เช่น อินโด-ยุโรเปียนดั้งเดิม, ออสโตรนีเชียนดั้งเดิม ฯลฯ ลองดูในกูเกิล เห็นว่า "โปรโต-ไต" มีใช้ในวิกิพีเดียแทบจะที่เดียว (ผมก็เพิ่งเห็นนี่แหละว่ามีหน้านี้ด้วย) ถ้าเป็นพวก paper ของสาขาภาษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของไทย เวลาใช้เป็นภาษาเขียนเขาก็เรียก "ภาษาไทดั้งเดิม" นะครับ อีกอย่าง Tai–Kadai languages ในวิกิภาษาไทยก็ใช้ว่า "ไท-กะได" และ "ภาษาไท-กะไดดั้งเดิม" ด้วย ส่วนคำที่ขึ้นต้นด้วย traditional / classical / original ที่ผมไปค้นมาก็มีเท่านี้น่ะครับ ไม่เห็นว่ามีคำอื่นที่จะเป็นชื่อเฉพาะที่จะต้องกังวลว่ามันจะซ้ำกัน
- แล้วค้นพบเปเปอร์ใดสะกดว่า "โปรโต-ไต" หรือ "โปรโต-ไท" บ้างไหมครับ เพราะถ้าไม่มี บทความวิกิพีเดียก็คงต้องเปลี่ยนยกชุดเหมือนกัน --Octahedron80 (พูดคุย) 10:51, 17 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
- ผมไม่เคยเห็นนะครับ เห็นแต่ที่ใช้ "ไทดั้งเดิม" อย่างที่ค้นได้ในกูเกิล เช่น http://www.lc.mahidol.ac.th/lcjournal/Documents/JLC30-1-Somsonge-BR.pdf. (ของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหิดล) แล้วก็ course syllabus ของสาขาภาษาศาสตร์ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ก็ใช้แต่คำนี้ --Potapt (พูดคุย) 11:08, 17 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
ภาษาถิ่น
แก้ไขขอความร่วมมืออีกอย่างครับ ตอนนี้ภาษาถิ่นที่ปรากฏในพจนานุกรมไทย มีรหัสภาษาหมดแล้ว (คำเมือง=nod อีสาน=tts ปักษ์ใต้=sou ไทน้อย ไทใหญ่ ไทขาว ไทดำ มีหมด) ดังนั้นเราก็ควรจะแยกความหมายของภาษาถิ่นนั้นออกมาจากภาษาไทยกลางครับ --Octahedron80 (พูดคุย) 12:07, 17 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
fr in lao
แก้ไข- ตัว r นั้น ออกเสียง /ʁ/ มันไม่ใช่ ร ธรรมดา ถ้าดูใน IPA จะออกเสียงก้ำกึ่งระหว่าง fricative (ก-ค) กับ approximant ผมจึงใส่ รฺคฺ ลงไปเพื่อให้คนอ่านพออ่านได้ และเพื่อให้คล้ายกับภาษาลาวที่ถ่ายเสียงไป
- ตัว u ที่ออกเสียงเป็น /ɥ/ และ /y/ มันเขียนแทนด้วยสระอุ-อูอยู่แล้ว แต่คุณเติมสระอิ-อีลงไปเพิ่ม ซึ่งผิดอักขรวิธีและทำให้อ่านไม่ออกครับ อาจต้องเขียนวิธีอื่น
- ตัว o นั้น บางทีก็เป็น ออ /ɔ/ บางทีก็เป็น โอ /o/ อยากให้ดูที่ frwikt เป็นหลักครับ
--Octahedron80 (พูดคุย) 09:08, 3 เมษายน 2557 (ICT)
- ตรงนั้นเข้าใจครับ แต่ในมุมมองของผม เสียงพยัญชนะหนึ่งเสียงก็ควรใช้รูปหนึ่งรูป (ถ้าเป็นไปได้) อย่างตัว รฺคฺ มองดูแล้วเหมือนกับว่าเป็นการออกเสียง /r/ แล้วตามด้วย /k/ เสียมากกว่า นอกจากนี้ ถ้าเอาไปใช้กับเสียง /ʁ/ ในตำแหน่งพยัญชนะต้นหรือพยัญชนะควบจะทำให้อ่านยากหรืออ่านเพี้ยนไปได้ เช่น Paris = ปา-รฺคฺี, France = ฟรฺคฺองสฺ, Hongrie = อง-กฺรฺคฺี, Sartre = ซารฺคฺทฺรฺคฺ หรือถ้าใช้ ค เฉย ๆ ก็จะซ้ำกับ ค ที่ใช้แทนเสียง [kh] อีก เช่น croissant = คฺคัว-ซ็อง, creer = คเคเอ และถ้าจะใช้ ร ผมว่ามันก็ไม่ได้ผิดมากขนาดนั้น เพราะบางเมืองทางภาคใต้ของฝรั่งเศสจะออกเสียงตัว r เป็น [r] แบบ ร ในภาษาไทยอยู่แล้ว
- ผมต้องการแยกให้ต่างจากเสียง /w/ และ /u/ ครับ เพราะ /ɥ/ และ /y/ ก็เป็นเสียงสำคัญ ในตำราภาษาฝรั่งเศสของไทยบางเล่ม จะสอนให้ออกเสียง /y/ โดยห่อปากแบบจะออกเสียง อู แต่พยายามเปล่งเสียงออกมาเป็น อี (โดยไม่ให้ริมฝีปากเหยียด) ครับ บางเล่มก็เขียนคำอ่านออกมาเป็นแบบนี้เลย คือ อีู ซึ่งหมายถึงให้ออกเสียงกึ่งอูกึ่งอีไปในเวลาเดียวกัน แต่จะไม่เอาก็ได้ครับ แต่การใช้ อูว์ แบบหลักเกณฑ์การทับศัพท์นั้นผมเห็นว่าไม่ช่วยอะไร เพราะมันไม่ใช่ [uw] และพอมีตัวสะกดก็ต้องตัด ว์ ออกอยู่ดีเพื่อไม่ให้ดูรก ถ้าใช้ อือ หรือ อืว น่าจะใกล้เคียงกว่า ส่วนเสียง /ɥ/ ก็ควรจะถอดเสียงคล้าย ๆ กัน เพราะในภาษาฝรั่งเศส เสียงนี้จะเกิดขึ้นในตำแหน่งที่ควรจะเป็นเสียง /y/ แต่บังเอิญว่ามีสระอื่นตามมาเลยกลายเป็นกึ่งสระ เหมือน /w/ (มาจาก /u/ ตามด้วยสระอื่น) และ /j/ (มาจาก /i/ ตามด้วยสระอื่น)
- จริง ๆ แล้ว ตัว o ในคำที่มีตั้งแต่สองพยางค์ขึ้นไป มีวิธีการออกเสียงกว้าง ๆ อยู่ว่า เมื่ออยู่ท้ายสุดของคำจะออกเสียง /o/ แต่ถ้าอยู่ในตำแหน่งอื่น ๆ ของคำจะออกเสียง /ɔ/ ครับ เช่น chocolat = ชอกอลา, photo = ฟอโต, Monaco = มอนาโก ทั้งนี้สามารถออกเสียง /ɔ/ (เฉพาะในบริบทนี้) เป็น [o] ก็ได้ เช่น โชโกลา, โฟโต, โมนาโก แต่ไม่เป็นไปตามหลัก คำว่า Slovénie ผมไปแก้ใน frwikt แล้ว หรือคุณดูจากพจนานุกรมนี้ประกอบไปด้วยก็ได้ครับ http://www.collinsdictionary.com/dictionary/french-english/slovenie?showCookiePolicy=true --Potapt (พูดคุย) 03:50, 4 เมษายน 2557 (ICT)
ศัพท์รูปอื่น
แก้ไขเรื่องศัพท์รูปอื่น ขอให้กำหนดหน้าละคำไปครับ รูปเก่ารูปใหม่ก็เก็บหมดครับ รูปเติมอุปสรรคปัจจัยก็เก็บหมดครับ ของอังกฤษก็ทำแบบนี้ครับ เรื่องศัพท์ใหม่นั้นการสะกดก็ลอกมาจากหนังสือ ก็ควรจะคงไว้เช่นกัน อย่าไปแก้มัน บางคำก็ไม่ได้สะกดตามหลักทับศัพท์แต่ใช้กันมานานแล้ว --Octahedron80 (พูดคุย) 08:28, 13 กรกฎาคม 2558 (ICT)
- พจนานุกรมคำใหม่ที่พิมพ์ใหม่และรวมเล่ม 1-2 เอารูปวรรณยุกต์ในคำทับศัพท์อังกฤษออกเกือบหมดแล้วครับ --Potapt (พูดคุย) 08:35, 13 กรกฎาคม 2558 (ICT)
- งั้น ทั้งรูปเก่ารูปใหม่ ขอให้ใส่ลงไปทั้งหมดเลยครับ อาจจะใส่ทับไว้ก็ได้ --Octahedron80 (พูดคุย) 08:43, 13 กรกฎาคม 2558 (ICT)
- งั้นก็ใส่ลงไปอย่างเดียวสิครับ ไม่เห็นต้องย้อน --Potapt (พูดคุย) 08:46, 13 กรกฎาคม 2558 (ICT)
- ขออภัยผมกดเร็วไปก่อนเห็นข้อความของคุณ--Octahedron80 (พูดคุย) 08:50, 13 กรกฎาคม 2558 (ICT)
- ปล.ผมค่อนข้างข้องใจอยู่ว่าทำไมไม่รวมเล่ม 3 เข้าไปด้วย--1.46.41.211 09:32, 13 กรกฎาคม 2558 (ICT)
- มีฉบับออนไลน์หรือดาวน์โหลดไหม --Octahedron80 (พูดคุย) 14:04, 13 กรกฎาคม 2558 (ICT)
- งั้นก็ใส่ลงไปอย่างเดียวสิครับ ไม่เห็นต้องย้อน --Potapt (พูดคุย) 08:46, 13 กรกฎาคม 2558 (ICT)
- งั้น ทั้งรูปเก่ารูปใหม่ ขอให้ใส่ลงไปทั้งหมดเลยครับ อาจจะใส่ทับไว้ก็ได้ --Octahedron80 (พูดคุย) 08:43, 13 กรกฎาคม 2558 (ICT)
- พจนานุกรมคำใหม่ที่พิมพ์ใหม่และรวมเล่ม 1-2 เอารูปวรรณยุกต์ในคำทับศัพท์อังกฤษออกเกือบหมดแล้วครับ --Potapt (พูดคุย) 08:35, 13 กรกฎาคม 2558 (ICT)
การอ่านออกเสียงในภาษาสเปน
แก้ไขสวัสดีครับคุณ Potapt ขอบคุณมากครับที่ช่วยตรวจทานคำศัพท์ที่ผมสร้าง นอกจากนี้ ผมสังเกตว่าในบทความที่เป็นศัพท์ภาษาสเปน หัวข้อการออกเสียงในภาษาไทย คุณ Potapt มักจะมาตรวจทานเรื่องการออกเสียงแทบทุกคำ ผมเองก็ขอยอมรับครับว่าพิมพ์จากการออกเสียงสด ๆ นั่นคือไม่ได้ใช้หลักใด ๆ เลย ผมอยากทราบว่า คุณ Potapt ได้ใช้หลักการใดในการสะกดการออกเสียงในภาษาสเปนครับ เผื่อครั้งหน้าผมจะได้ใช้เป็นแม่แบบในการถอดเสียง จะได้ไม่ต้องรบกวนคุณ Potapt ช่วยตรวจแก้อีกต่อหนึ่งครับ ขอบคุณครับ — Ponpan (พูดคุย) 05:17, 16 กรกฎาคม 2558 (ICT)
- ปกติผมถอดเสียงตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาสเปนครับ ซึ่งก็ใกล้เคียงกับการออกเสียงอยู่แล้ว ยกเว้น
- j และ g (+e, i) ใช้ ฆ
- n ท้ายคำใช้ น
- ñ กลางคำใช้ ญญ ตามร่างหลักเกณฑ์ฉบับใหม่ (ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจากที่เคยทราบมา) ที่จริงควรใช้ ญ ตัวเดียว เพราะไม่ได้ยืดหรือซ้ำเสียง (geminated) เหมือน gn ในภาษาอิตาลี (เช่น Bologna [boˈloɲɲa]) แต่ภาษาไทยปัจจุบันออกเสียงเป็น /ย/ ไปแล้ว
- a ในพยางค์เปิดใช้ อา เพราะออกเสียงเต็มเสียงเสมอ
- i ทุกตำแหน่งใช้ อิ ยกเว้นท้ายคำใช้ อี ตามร่างฉบับใหม่ (ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจากที่เคยทราบมา)
- เสียงสระประสมที่ไม่มีในภาษาไทย เช่น ie, io, ue ให้ถอดเสียงแยก แต่ใช้เครื่องหมาย - แบ่งพยางค์ด้วยเพื่อให้รู้ว่ามีกี่พยางค์ เช่น ra-dio = 'รา-ดิโอ
- c, k, qu ปกติออกเสียงไม่พ่นลม (unaspirated) เช่นเดียวกับ p และ t
- v โดยทั่วไปออกเสียงเหมือนกับ b ทั้งในสเปนและลาตินอเมริกา (เท่าที่ผมเคยอ่านตำราสัทศาสตร์และภาษาถิ่นภาษาสเปนมา ไม่เคยพบการระบุว่ามีสำเนียงไหนที่มีหน่วยเสียง /v/)
- วรรณยุกต์ อักษรนำ ผมคิดว่าไม่ควรใส่ เพราะเคยทดลองให้คนไม่เคยเรียนภาษาสเปนมาออกเสียงอ่าน ปรากฏว่าเขาเน้นน้ำหนักเกินไปตามจังหวะในภาษาไทย (โดยเฉพาะพยางค์สุดท้าย) ทำให้เสียงเพี้ยนไปอยู่ดีครับ --Potapt (พูดคุย) 20:46, 16 กรกฎาคม 2558 (ICT)
สภากาแฟ
แก้ไขตอนนี้สภากาแฟมีการเสนอสองเรื่อง คือ เสนอเพิ่มเนมสเปช Index และ Appendix และ เสนอเพิ่มส่วนขยาย Dynamic Page List รบกวนไปร่วมอภิปรายด้วยครับ --Octahedron80 (พูดคุย) 10:52, 9 ตุลาคม 2558 (ICT)
th-pron
แก้ไขสวัสดีครับ แม่แบบ th-pron ทำขึ้นมาเพื่อแสดง IPA และคำพ้องเสียงโดยอัตโนมัติ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกขึ้น ซึ่งร่วมพัฒนากับ en กรุณาใช้งานด้วย --Octahedron80 (พูดคุย) 21:46, 4 มีนาคม 2560 (ICT)
- เครื่องหมายต่าง ๆ นี้ถูกแล้ว โดยอิงตามระบบเดิม ที่เคยพิมพ์กันมา ตรงไหนไม่ถูก จะได้ไปแก้ไข --Octahedron80 (พูดคุย) 21:51, 4 มีนาคม 2560 (ICT)
นอกจากนี้ยังใช้แม่แบบ th-noun, th-proper noun, th-pronoun, th-verb, th-adj, th-adv ฯลฯ ในการจัดหมวดหมู่แทนแม่แบบ หน้าที่ แล้ว ซึ่งบางแม่แบบมีฟังก์ชันพิเศษประกอบอยู่ กรุณาใช้งานด้วย --Octahedron80 (พูดคุย) 21:51, 4 มีนาคม 2560 (ICT)
- อย่างแรก / / ใช้กับการถอดเสียงแบบกว้างหรือในระดับหน่วยเสียง ส่วน [ ] ใช้กับการถอดเสียงแบบแคบหรือระดับเสียงที่ออกจริง แต่คำอ่านที่แสดงอยู่ในแม่แบบเป็นการถอดเสียงแบบแคบ ส่วนที่เหลือเป็นเรื่องการถอดเสียง ร, การถอดเสียงสระประสม, การถอดเสียงวรรณยุกต์ในพยางค์แรกที่ลงท้ายด้วยเสียง อ ที่ผมเคยบอกไปแล้ว --Potapt (พูดคุย) 22:02, 4 มีนาคม 2560 (ICT)
- ที่ใช้ / / ก็คือเป็นการตั้งใจเขียนการออกเสียงแบบกว้าง r ก็ไม่ได้เปลี่ยน สระประสมก็ไม่ได้เปลี่ยน วรรณยุกต์ก็ไม่ได้เปลี่ยน ที่ enwikt เริ่มทำขึ้นมานั้นก็ทำเพื่อให้ฝรั่งอ่าน ซึ่งก็จะเข้าใจแบบกว้าง ขอให้คุณแยกเป็นกรณี ๆ ไปว่าอันไหนควรจะอยู่ใน / / อย่างเช่นอะไรควรจะเอาออกหรือเอาใส่ เพราะเราแสดงได้เพียงแค่แบบเดียว หรือจะเปลี่ยนเป็น [ ] ไปเลยปัญหาอาจจะน้อยกว่า ? --Octahedron80 (พูดคุย) 22:18, 4 มีนาคม 2560 (ICT)
- ปล. เรื่องวรรณยุกต์ ความเห็นส่วนตัว ไม่ควรใช้วิธีเติม diacritic เพราะอาจจะทำให้คนที่ไม่คุ้นเคยอ่านผิดได้ เนื่องจากแต่ละภาษาใช้ระบบ diacritic ต่างกัน หากใช้ contour จะเห็นชัดเจนกว่า (และเขียนโปรแกรมง่ายกว่า) --Octahedron80 (พูดคุย) 22:34, 4 มีนาคม 2560 (ICT)
- โดยทั่วไป ถ้าพูดว่าถอดเสียงแบบกว้าง มันควรจะเป็นแบบการถอดเสียงภาษาไทยในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ คือจะไม่มีสัญลักษณ์จำพวก ä หรือ t̚ ปรากฏอยู่ เพราะในภาษาไทย [ä] ไม่ได้ contrast กับ [a] ส่วน [t̚] ท้ายพยางค์ ก็ไม่ได้ contrast กับ [tʰ] ท้ายพยางค์ (ในแง่ความหมาย) ดังนั้นใช้แค่สัญลักษณ์ a กับ t ก็เพียงพอแล้ว ส่วนพวกที่อยู่ในวงเล็บเช่น ʔ หรือ ː เอาเท่าที่ผมลองใช้ดู แม่แบบก็ยังแสดงผลได้ไม่ค่อยถูก อย่างเสียงเอียก็คือ ia̯ เสียงเอียะก็คือ ìa̯ʔ ไม่ใช่ ไม่ใช่ iːa̯ กับ ìa̯ʔ (ในภาษาไทย ia̯ ไม่ได้ contrast กับ iːa̯)
- ส่วนพยางค์ที่ไม่เน้นที่มีเสียง ʔ ปิดท้าย มีปัญหาเยอะ (เป็นเพราะคนพูดภาษาไทย ออกเสียงไม่สม่ำเสมอเอง) แม่แบบจะเข้าใจตามได้หมดหรือไม่ เช่น
- krä(ʔ)˨˩.wäːn มองแล้วตีความหมายได้ว่า ถ้าไม่ออกเสียง kräʔ˨˩.wäːn˧ (แบบแผน) ก็ออกเสียง krä˨˩.wäːn˧ ซึ่งในความเป็นจริง ถ้าตัดเสียง ʔ ออก คนพูดก็มักจะออกเสียงเป็น krä˧.wäːn˧ ด้วย ไม่ใช่ krä˨˩.wäːn˧ เพียงอย่างเดียว
- สาลิกา แม่แบบถอดเป็น säː˩˩˦.li˦˥.käː˧ แต่ในความเป็นจริงรวมทั้งในการออกเสียงแบบแผนอาจมีเสียง ʔ ท้าย li˦˥ ด้วย (ทำไมไม่มีวงเล็บไว้เหมือนกรณีอื่น)
- พยางค์ นะ ในคำว่า นคร กับ นราธิวาส เวลาอ่านแยกทีละพยางค์ออกเสียงตรีทั้งคู่ แต่ปกติออกเสียงคนละระดับวรรณยุกต์ (แม้ในการออกเสียงแบบแผน) --Potapt (พูดคุย) 22:47, 4 มีนาคม 2560 (ICT)
- เรื่อง อิ/อึ/อุ ยังมีปัญหาอยู่เล็กน้อย เป็นปัญหาที่ทราบอยู่แล้ว เพราะ อะ หรือ สระสั้นที่ลงท้าย ะ จะไม่สามารถมีตัวสะกดได้ จึงเติม ʔ ได้ทันที ในขณะที่ อิ/อึ/อุ มันมีตัวสะกดได้ แต่เงื่อนไขที่เขียนไว้ค่อนข้างซับซ้อน ตรงนี้อาจจะต้องปรึกษากับผู้สร้างคนแรก --Octahedron80 (พูดคุย) 23:04, 4 มีนาคม 2560 (ICT)
- ถ้าจะใช้การอ่านแบบชัดถ้อยชัดคำแล้ว วรรณยุกต์ต้องใช้กฎเดียวกันหมดครับ นครหรือนราธิวาส ก็เช่นกัน (แต่ผมอ่านด้วยเสียงตรีนะ) --Octahedron80 (พูดคุย) 23:18, 4 มีนาคม 2560 (ICT)
- ปัญหาคือบทความทางภาษาศาสตร์มักจะไม่ถอดเสียงแบบชัดถ้อยชัดคำหรือแบบแยกทีละพยางค์ ๆ เหมือนเวลาเราอ่านสะกดคำนะครับ อีกอย่างคือจะไม่ยึดกับตำราภาษาไทยแบบดั้งเดิมนัก เพราะไม่ใช่การออกเสียงที่ตรงตามสภาพความเป็นจริง เช่น ตัวสะกดในมาตราแม่กดที่จริงออกเสียง t ไม่ใช่ d, สระอัวที่สอนว่า มาจาก อู + อา ในความเป็นจริง เรามักออกเสียง ua ไม่ค่อยมีใครออกเสียง uːaː คุณลองดูบทความนี้ ในพยางค์ที่ไม่เน้นที่มีเสียง ʔ ปิดท้าย เขาตัด ʔ ออกไปเลย ไม่ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ (ที่อื่นบางแห่งก็ใส่เครื่องหมายเสียงสามัญ แต่ประเด็นคือเขาไม่ได้คงเสียงวรรณยุกต์ตรีหรือเอกไว้อย่างที่แม่แบบแสดง) ยกเว้นถ้าเป็นพยางค์สุดท้ายซึ่งในภาษาไทยมักเป็นพยางค์ที่เน้น บางแห่งก็จะคง ʔ ไว้ ไม่ตัดออกไป เช่น "ปรกติ" ในบทความนั้นถอดเป็น pròkkatì แต่ที่อื่นอาจถอดเป็น pròkkatìʔ) แต่ที่ผมสงสัยคือ โปรแกรมจะเข้าใจได้หมดทุกกรณีหรือไม่ เพราะการออกเสียงเน้นหรือไม่เน้นในภาษาไทยมันลักลั่นและขึ้นกับอะไรหลายอย่าง เช่น จำนวนพยางค์ในคำ ความคุ้นเคยกับคำ อย่างคำว่า "นคร" ผมก็อ่านเสียงตรี (ละเสียง ʔ) แต่ "นราธิวาส" ผมอ่านเสียงสามัญ (มั่นใจว่าหลายคนก็ออกเสียงแบบนี้ รวมถึงในสถานการณ์ทางการด้วย)
- ในบทความนั้นใช้วิธีถอดเสียงแบบกว้าง ถึงแม้จะใส่ใน [ ] ก็ตาม (การถอดเสียงภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษในวิกิพีเดียอังกฤษก็ใช้รูปแบบนี้ เช่น ฝรั่งเศส สเปน) ในทางกลับกัน ผมไม่เคยเห็นการใช้ / / กับการถอดเสียงแบบแคบหรือละเอียด ที่ผมใช้ ä, t̚ ฯลฯ ในวิกิพจนานุกรมช่วงแรกนั้นก็เพราะผมถอดไว้ทั้งแบบกว้างและแบบละเอียด ให้คนอ่านเลือกเองว่าจะทำความเข้าใจกับแบบไหน แต่ถ้าคุณบอกว่าให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ผมว่าควรจะเลือกแบบกว้าง เพราะในวิกิพจนานุกรมภาษาอื่นก็ถอดเสียงแบบกว้างกันทั้งนั้น อาจจะง่ายต่อการเขียนโปรแกรมมากกว่าด้วย --Potapt (พูดคุย) 23:37, 4 มีนาคม 2560 (ICT)
- https://en.wiktionary.org/wiki/hue (คำในวิกิพจนานุกรมภาษาอังกฤษที่ถอดเสียงทั้งในระดับหน่วยเสียงและแบบละเอียด) --Potapt (พูดคุย) 23:48, 4 มีนาคม 2560 (ICT)
- ที่ enwikt บอกว่า unreleased stop sign เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนต่างชาติที่จะมาเรียนภาษาไทย เพราะเราไม่ได้ปล่อยเสียง k t p ออกมาตอนท้ายเหมือนภาษาฝรั่ง --Octahedron80 (พูดคุย) 10:22, 26 มีนาคม 2560 (+07)
- ผมดูการถอดเสียงภาษาลาว เขมร ใน enwikt ก็ไม่เห็นเขาใส่เครื่องหมายนั้นเลยนะครับ แต่ก็แล้วแต่แล้วกัน --Potapt (พูดคุย) 19:17, 26 มีนาคม 2560 (+07)
การประชุม ESEAP 2018
แก้ไขสวัสดีค่ะ คุณ Potapt
งานประชุม ESEAP 2018เปิดรับสมัครขอรับทุนแล้ว!
การประชุม ESEAP 2018 เป็นการประชุมระดับภูมิภาคสำหรับชุมชนวิกิมีเดียในพื้นที่ ESEAP ซึ่งย่อมาจาก East and South East Asia, and Pacific (เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิก) และจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 7 พฤษภาคม 2561 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
ทุนเต็มจำนวนมีจำนวนจำกัด สูงสุด 2 คนต่อประเทศและประเทศของคุณสามารถส่งตัวแทนเข้าร่วมได้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมบนหน้านี้
พวกเรายินดีที่จะรับการนำเสนอหลายรูปแบบ รวมทั้ง:
- กิจกรรมเชิงปฏิบัติการและการติว: การนำเสนอที่เน้นการปฏิบัติจริง โดยมีเป้าหมายในการฝึกทักษะใหม่หรือทำภารกิจเฉพาะ ระยะการประชุมมีความยาว 55 นาที นำโดยผู้นำเสนอ ในพื้นที่ห้องเรียนซึ่งเหมาะกับการใช้แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์และการทำงาน
- โปสเตอร์: รูปแบบขนาด A2 เพื่อให้ข่าวสาร แบ่งปันกิจกรรมหรือโครงการในชุมชนของคุณ ริเริ่มความคิด ก่อตั้งต้นแบบ หรืออธิบายปัญหา โปสเตอร์จะต้องถูกอัพโหลดไปที่วิกิมีเดียคอมมอนส์โดยมีลิขสิทธิ์ที่เหมาะสม
- การนำเสนอแบบสั้น/การพูดเชิงแบ่งปัน: การนำเสนอเป็นเวลา 10 – 15 นาทีเกี่ยวกับหัวข้อหนึ่ง
ปิดการรับสมัครขอทุนและส่งการนำเสนอในวันที่ 15 มีนาคม 2561 หากมีข้อสงสัย อย่าลังเลที่จะติดต่อฉันหรือส่งอีเมลไปยัง eseap@wikimedia.or.id
ภาษาโซ่
แก้ไขสวัสดีครับ ผมเห็นคุณเพิ่งเพิ่มภาษาใหม่ thm = ภาษาโซ่ (ทะวืง) ผมสืบค้นในวิกิพีเดียก็พบว่ามีสองภาษาที่ใช้ชื่อ "โซ่" แต่ในวิกิพจนานุกรมนั้นชื่อภาษาไม่เหมาะที่จะใช้วงเล็บ (ไม่สามารถแก้กำกวม) เนื่องจากชื่อภาษาจะใช้ประสมกับคำอื่น ๆ เป็นชื่อหมวดหมู่โดยอัตโนมัติ จะทำให้การทำงานผิดเพี้ยนไปทั้งหมด ดังนั้นผมจะเปลี่ยนชื่อหลักของ thm เป็นภาษาทะวืง นอกจากนี้ การแทนที่ชื่อไทยลงใน มอดูล:languages... ต้องเก็บชื่อเดิมและชื่ออื่น ๆ ไว้ใน otherNames ด้วย ซึ่งอย่างน้อยก็แจ้งผมนิดนึงครับ เพราะมีรูทีนที่จะต้องทำต่อ --Octahedron80 (คุย) 09:03, 10 ตุลาคม 2561 (ICT)
รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียเหนือ
แก้ไขสวัสดีครับคุณ Potapt เนื่องจากคุณเป็นผู้สร้างบทความ ภาคผนวก:รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียเหนือในภาษาไทย ผมจึงจะมาแจ้งว่าบัดนี้ชื่อในชุดเดิมถูกใช้มาจนถึงชื่อสุดท้ายคือ "อำพัน" แล้วครับ และเนื่องจากระเบียบการใช้ชื่อพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียเหนือนั้นเป็นแบบใช้ครั้งเดียวไม่วนซ้ำ ทางผู้ดูแลชุดรายชื่อ (IMD) จึงได้ประกาศรายชื่อชุดใหม่ออกมา (http://www.rsmcnewdelhi.imd.gov.in/images/pdf/cyclone-awareness/tc-names/tc-names.pdf) โดยมีชื่อในกลุ่มภาษาอาหรับเพิ่มขึ้น (จากการเพิ่มเข้ามาในกลุ่มของประเทศแถบตะวันออกกลาง) และเนื่องด้วยความรู้ด้านภาษาศาสตร์อันน้อยนิดของผมจึงไม่สามารถอัพเดทบทความดังกล่าวด้วยตนเองได้ จึงรบกวนขอความอนุเคราะห์จากคุณ Potapt ในการอัพเดทบทความดังกล่าวครับ
ขอบคุณครับ --Slentee (คุย) 14:50, 15 พฤษภาคม 2563 (+07)
- ได้ครับ ขอบคุณที่เตือนมาครับ --Potapt (คุย) 17:32, 15 พฤษภาคม 2563 (+07)