คาน
ภาษาไทยแก้ไข
รากศัพท์แก้ไข
สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ɢaːnᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨣᩤ᩠ᨶ (คาน), ภาษาเขิน ᨣᩤ᩠ᨶ (คาน), ภาษาลาว ຄານ (คาน), ภาษาไทลื้อ ᦅᦱᧃ (คาน), ภาษาไทใหญ่ ၵၢၼ်း (ก๊าน), ภาษาไทใต้คง ᥐᥣᥢᥰ (ก๊าน), ภาษาพ่าเก ကꩫ် (กน์), ภาษาอาหม 𑜀𑜃𑜫 (กน์), ภาษาจ้วงแบบหนง ganz; เทียบภาษาจีนยุคกลาง 竿 (MC kɑn) หรือภาษาจีนเก่า 竿 (OC *kaːn)
การออกเสียงแก้ไข
การแบ่งพยางค์ | คาน | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | kaan |
ราชบัณฑิตยสภา | khan | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /kʰaːn˧/(สัมผัส) | |
คำพ้องเสียง | ฆาน |
คำนามแก้ไข
คาน
- เครื่องเรือนที่ยึดเสาและรองตง ทำด้วยไม้ เป็นต้น
- ไม้ทำอย่างรอดสำหรับรองรับของหนัก
- คานเรือ
- ไม้สำหรับหาบหรือหามสิ่งของต่าง ๆ
- ภาวะเป็นโสดของหญิงที่มีอายุเกินวัยแต่งงาน
- เมื่อไรเธอจะลงจากคานเสียที
คำพ้องความแก้ไข
- (4) คานทอง
คำเกี่ยวข้องแก้ไข
|
คำกริยาแก้ไข
คาน (คำอาการนาม การคาน)
- รองรับหรือเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งรองรับของหนักขึ้นไว้
- ถ่วงน้ำหนักกัน
- อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติกับอำนาจของฝ่ายบริหารคานกัน
- ค้านกัน, ยังตกลงกันไม่ได้
อ้างอิงแก้ไข
- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 1 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส, 2553. หน้า 32.