ดูเพิ่ม: อาย, อายุ, และ อ่าย

ภาษาไทย

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน อ้าย, ภาษาลาว ອ້າຍ (อ้าย), ภาษาคำเมือง ᩋ᩶ᩣ᩠ᨿ (อ้าย), ภาษาเขิน ᩋ᩶ᩣ᩠ᨿ (อ้าย), ภาษาไทลื้อ ᦀᦻᧉ (อ้าย), ภาษาไทดำ ꪮ꫁ꪱꪥ (อ้าย), ภาษาไทใหญ่ ဢၢႆႈ (อ้าย)

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์อ้าย
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงâai
ราชบัณฑิตยสภาai
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/ʔaːj˥˩/(สัมผัส)

คำนาม

แก้ไข

อ้าย

  1. (โบราณ) เรียกลูกชายคนที่ 1 ว่า "ลูกอ้าย" คู่กับลูกหญิงคนที่ 1 ว่า "ลูกเอื้อย" (กฎหมายตราสามดวง)
  2. โดยปริยาย อนุโลมเรียกพี่ชายคนโตว่า "พี่อ้าย"
  3. คำประกอบคำอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้
    อ้ายหนุ่ม
    อ้ายด่าง
  4. คำประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะต่ำกว่าอย่างนายเรียกคนใช้
  5. คำประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามีความสนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย
  6. คำใช้ประกอบหน้าชื่อผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม
  7. คำประกอบคำบางคำที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามากด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง
    อ้ายหนู
    อ้ายน้องชาย
  8. คำประกอบหน้าคำบางคำเพื่อเน้น
    อ้ายเราก็ไม่ดี
    อ้ายจะไปก็ไม่มีที่จะไป
    อ้ายจะอยู่หรือก็คับใจ
  9. คำประกอบหน้าชื่อสัตว์บางชนิดโดยไม่เน้นเพศ
    อ้ายเหลือม
    อ้ายทุย
  10. คำประกอบหน้าคำบางคำเพื่อเน้นในเชิงบริภาษ
    อ้ายทึ่ม
    อ้ายโง่
    อ้ายควาย
  11. คำใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน
    อ้ายนั่น
    อ้ายนี่
  12. (โบราณ) คำนำหน้าชื่อผู้ชาย มักใช้ในทางไม่ดี
    อ้ายดีผู้ร้ายรับเปนสัจให้การซัดพวกเพื่อนถึงอ้ายเชด อ้ายแสน อ้ายคง อ้ายมั้น
    (กฎหมายตราสามดวง)

ดูเพิ่ม

แก้ไข

คำคุณศัพท์

แก้ไข

อ้าย

  1. ต้น, หนึ่ง, ในคำว่า เดือนอ้าย

ภาษาคำเมือง

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

อ้าย (คำลักษณนาม คน)

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᩋ᩶ᩣ᩠ᨿ (อ้าย)

ภาษาอีสาน

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

อ้าย

  1. อีกรูปหนึ่งของ อ่าย