ผลต่างระหว่างรุ่นของ "น้ำ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Teetaweepo (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่: {{วิกิพีเดีย|น้ำ}} == {{หน้าที่-th|นาม}} == '''๑''' สารประกอบซึ่งมีองค...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:02, 24 พฤศจิกายน 2550

วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

แม่แบบ:หน้าที่-th

สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน ในอัตราส่วน ๑ : ๘ โดยน้ำหนัก เมื่อบริสุทธิ์เป็นของเหลว ใส ไร้สี ไร้กลิ่น ไร้รส มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันมาก เช่น ใช้ดื่ม ใช้ชำระล้างสิ่งสกปรก.

  • โบราณถือว่าเป็น ธาตุชนิดหนึ่ง ในธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ.
  • เรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นน้ำหรือเหลวเหมือนน้ำ เช่น น้ำตา น้ำปลา น้ำพริก น้ำส้ม.
  • โดยปริยายหมายถึง คุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น น้ำคำ น้ำใจ น้ำพักน้ำแรง น้ำมือ.
  • ความแวววาว, ใช้แก่รัตนชาติ.
  • ลักษณนามเรียกกิริยาเกี่ยวกับน้ำ หมายถึง ครั้ง เช่น ล้าง ๓ น้ำ ต้ม ๓ น้ำ.
  • ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว หมายถึง ปี เช่น เรือ ๒ น้ำ เรือ ๓ น้ำ.

แม่แบบ:หน้าที่-th

  • มีแสงแวววาว, ใช้แก่รัตนชาติ เช่น เพชรน้ำหนึ่ง ทับทิมน้ำงาม.

คำพ้องความหมาย

  • คงคา น. นํ้า, แม่นํ้า, ใช้เป็นสามัญว่า แม่พระคงคา หมายถึง เจ้าแม่ประจํานํ้า, ชื่อแม่นํ้าสําคัญสายหนึ่งในประเทศอินเดีย. (ป., ส. คงฺคา ว่า ผู้ไปเร็ว, ผู้ไหลเชี่ยว).
  • ชล, ชล [ชน, ชนละ] น. นํ้า. (ป., ส.).
  • ชลาสินธุ์ น. น้ำ เช่น พระเหลือบเล็งชลาสินธุ์ ในวารินทะเลวน ก็เห็นรูป อสุรกล ซึ่งกลายแกล้งเป็นสีดา. (พากย์นางลอย), ทะเล, แม่น้ำ, เช่น ข้าเป็นไรแทรกขนสุบรรณบิน เร็วรีบยิ่งมหาวายุ พัดกวักกวัดปีกข้ามชลาสินธุ์. (กากี)
  • ธารา, ธาร [ทาน-] น. นํ้า, ลําธาร, ห้วย, หยาดนํ้า, ท่อนํ้า.
  • วาริ, วารี น. นํ้า. (ป., ส.).
  • อุทก, อุทก [อุทกกะ, อุทก] น. นํ้า. (ป., ส.).
  • นที [นะ-] (แบบ) น. แม่นํ้า. (ป.).
  • ละหาร น. ห้วงน้ำ. (เทียบมลายู lahar).

คำแปล

ข้อผิดพลาด Lua ใน มอดูล:utilities/templates บรรทัดที่ 15: Language code has not been specified. Please pass parameter 1 to the template.

แม่แบบ:mid


คำประสม และคำใกล้เคียง

คำว่า น้ำ นำหน้า

  • น้ำกรด น. สารละลายของกรดซึ่งใช้นํ้าเป็นตัวทําละลาย.
  • น้ำกระด้าง น. นํ้าที่เมื่อฟอกกับสบู่แล้วเกิดตะกอนซึ่งเรียกว่า ไคลสบู่ และไม่มีฟองสบู่เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นน้อย เพราะมีเกลือของแคลเซียมและแมกนีเซียมละลายอยู่, ตรงข้ามกับ น้ำอ่อน.
  • น้ำกระสาย น. นํ้าใช้เป็นเครื่องแทรกยาไทย เช่น นํ้าเหล้า นํ้าซาวข้าว.
  • น้ำกะทิ น. นํ้าที่คั้นออกจากมะพร้าวขูด อาจผสมนํ้าตาลปึก กินกับข้าวเหนียวหรือลอดช่องเป็นต้น เช่น ข้าวเหนียวนํ้ากะทิ ลอดช่อง นํ้ากะทิ.
  • น้ำกับน้ำมัน (สำ) เข้ากันไม่ได้.
  • น้ำกับไฟ (สำ) เข้ากันไม่ได้.
  • น้ำกาม น. นํ้าเชื้อที่เกิดจากความกําหนัด แล้วเคลื่อนออกมาจากอวัยวะสืบพันธุ์ ของเพศชาย, น้ำอสุจิ หรือ สเปิร์ม ก็เรียก. (เทียบ อ. sperm).
  • น้ำเกลือ (แพทย์) น. นํ้าที่มีเกลือโซเดียมคลอไรด์ละลายอยู่ สําหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดํา. (เทียบ อ. solution, saline).
  • น้ำเกิด น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลําคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับทะเลหรือได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้น มีระดับนํ้าขึ้นสูงมากและลงตํ่ามาก เนื่องจากอิทธิพลของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์อยู่ในวงโคจรเกือบเป็นแนวเดียวกันกับโลก นํ้าเกิดจะมี ๒ ช่วงคือ ช่วงวันเดือนเพ็ญ ตั้งแต่วันขึ้น ๑๓ คํ่าถึงวันแรม ๒ คํ่า และช่วงวันเดือนดับ ตั้งแต่วันแรม ๑๓ คํ่า ถึงวันขึ้น ๒ คํ่า, ตรงข้ามกับ น้ำตาย.
  • น้ำขาว น. นํ้าเมาชนิดหนึ่งทําด้วยข้าวเหนียวนึ่งคลุกกับแป้งเหล้าซึ่งเป็นเชื้อหมัก ไว้จนมีนํ้าขุ่นขาว.
  • น้ำข้าว ๑ น. นํ้าที่ได้จากข้าวเมื่อหุงแล้วเช็ดนํ้าหรือตักนํ้าออก.
  • น้ำข้าว ๒ ไม้พุ่มชนิด Glycosmis pentaphylla (Retz.) Correa ในวงศ์ Rutaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นตามชายป่าและริมหมู่บ้าน สูงประมาณ ๒ เมตร ผลกลมขนาดราวปลายนิ้วก้อย สุกสีชมพูเรื่อ ๆ รสหวาน กินได้ รากใช้ทํายา, เขยตาย กระรอกน้ำข้าว กระโรกนํ้าข้าว ก็เรียก, พายัพและอีสานเรียก ส้มชื่น.
  • น้ำขึ้น (ธรณี) น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลําคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับทะเลหรือได้รับ อิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้น ที่มีระดับนํ้าสูงขึ้น ในวันหนึ่ง ๆ ตามปรกตินํ้าจะขึ้น ๒ ครั้ง และนํ้าขึ้นครั้งแรกจะมีระดับสูงกว่าขึ้นครั้งที่ ๒, ตรงข้ามกับ น้ำลง และมักเรียกคู่กันว่า น้ำขึ้นน้ำลง. (เทียบ อ. tidal water; tide-water).
  • น้ำขึ้นให้รีบตัก (สำ) มีโอกาสดีควรรีบทํา.
  • น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก (สำ) แม้จะไม่พอใจก็ยังแสดงสีหน้ายิ้มแย้ม.
  • น้ำเขียวน้ำแดง (ปาก) น. น้ำอัดลม
  • น้ำแข็ง น. นํ้าที่ถูกความเย็นจัดจนแข็งตัวเป็นก้อน, (วิทยา) น้ำในสถานะของแข็ง.
    • น้ำแข็งกด น. น้ำแข็งไสที่ใส่กระบอกหรือแก้วอย่างหนา กดให้เป็นแท่ง.
    • น้ำแข็งเปล่า น. น้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ ใส่แก้วเป็นต้น ใส่น้ำหรือน้ำชา.
    • น้ำแข็งไส น. น้ำแข็งที่ได้จากการไสก้อนน้ำแข็งไปบนเครื่องไส ลักษณะเป็นเกล็ดฝอย.
    • น้ำแข็งแห้ง ๑ น. คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งอยู่ในสภาพเป็นของแข็ง เย็นจัด ลักษณะคล้ายนํ้าแข็ง ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําความเย็น. (อ. dried ice).
    • น้ำแข็งแห้ง ๒ (ปาก) น. น้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ ใส่แก้วเป็นต้น ไม่ใส่น้ำ.
    • (คำศัพท์เกี่ยวกับ น้ำแข็ง ดู น้ำแข็ง)
  • น้ำไขสันหลัง, น้ำหล่อสมองไขสันหลัง (แพทย์) น. ของเหลวภายในไขสันหลัง. (เทียบ อ. neurolymph, cerebrospinal fluid).
  • น้ำครำ น. นํ้าเสียที่ขังอยู่ในพื้นดินที่เป็นแอ่งเช่นใต้ถุนครัว ในท่อระบายน้ำเสีย, ไขเสนียด ก็เรียก.
  • น้ำคร่ำ (แพทย์) น. ของเหลวในถุงเยื่อหุ้มลูกในมดลูกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทำหน้าที่ลดผลการกระทบกระแทก และช่วยหล่อลื่นในตอนคลอด เป็นต้น เรียกถุงเยื่อหุ้มที่บรรจุน้ำคร่ำว่า ถุงน้ำคร่ำ. (เทียบ อ. fluid, amniotic waters).
  • น้ำคัน น. นํ้าที่ถูกเข้าแล้วเป็นโรคที่ง่ามเท้า.
  • น้ำค้าง ๑ น. ไอนํ้าในอากาศที่ถูกความเย็นแล้วหยาดลงมาค้างบนใบไม้ใบหญ้า เป็นต้นในเวลากลางคืนหรือเช้ามืด.
  • น้ำค้าง ๒ น. เพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  • น้ำค้างแข็ง (วิทยา) น. นํ้าค้างที่แข็งตัวอยู่ตามต้นไม้ซึ่งอยู่ใกล้พื้นดิน เมื่ออุณหภูมิผิวหน้า ของพื้นดินตํ่ากว่า ๐ องศาเซลเซียส. (เทียบ อ. frost).
  • น้ำคาวปลา ๑ น. นํ้าล้างปลาที่มีเมือกและเลือดติด ใช้รดต้นไม้ให้งาม, นํ้าล้างปลา ก็เรียก.
  • น้ำคาวปลา ๒ (แพทย์) น. นํ้าที่ขับถ่ายจากช่องคลอดภายหลังคลอดลูกแล้วประมาณ ๓–๔ วัน ปรกติมีกลิ่นคาวเล็กน้อย. (เทียบ อ. lochia).
  • น้ำคำ น. ถ้อยคําสํานวน.
  • น้ำเค็ม ๑ น. นํ้าที่มีรสเค็ม มักหมายถึง นํ้าทะเล.
  • น้ำเค็ม ๒ ว. ที่เกิดหรือโตอยู่ในทะเล หรือแถบชายทะเล เช่น ลูกนํ้าเค็ม ปลาน้ำเค็ม.
  • น้ำเคย น. นํ้าที่ได้จากเยื่อเคย (กะปิ) มีรสเค็ม ใช้ปรุงอาหาร.
  • น้ำเงิน ๑ ว. สีอย่างสีคราม
  • น้ำเงิน ๒ (โบ) น. ค่าป่วยการที่ชักออกจากจํานวนเงินที่ส่งไป เรียกว่าค่านํ้าเงิน, เรียกทาสที่ขายตัวแก่นายเงิน หรือที่นายเงินไถ่ค่าตัว มาว่า ทาสนํ้าเงิน.
  • น้ำเงิน ๓ น. ปลานํ้าจืด ชนิด Kryptopterus apogon ในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด มีฟันเล็กแต่แหลมคม ลําตัวด้านหลังสีนํ้าตาลครีบต่าง ๆ มีจุดประสีเทาดํา เป็นพวกปลา เนื้ออ่อน ไม่มีครีบ หลัง ปากอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีจุดดําบนลําตัว, ชะโอน เนื้ออ่อน แดง หรือนาง ก็เรียก.
  • น้ำเงี้ยว (ถิ่น-พายัพ) น. แกงชนิดหนึ่ง ใช้หมูสับผัดกับเครื่องแกง มีหอม กระเทียม ตะไคร้ พริกแห้ง ถั่วเน่า เป็นต้น ต้มกับน้ำต้มกระดูก หมู ใส่ดอกงิ้ว มะเขือเทศ เลือดหมู น้ำแกงมีรสเค็ม เผ็ดน้อย กินกับ ขนมจีน.
  • น้ำจัณฑ์ (สุภาพ, ราชา) น. เหล้า
  • น้ำจิ้ม น. นํ้าผสมเครื่องเทศบางอย่าง โดยมากมีรสเปรี้ยวเค็มหวาน เช่น นํ้าจิ้มทอดมัน.
  • น้ำใจ น. ใจแท้ ๆ, ใจจริง, ความจริงใจ, เช่น เห็นนํ้าใจ, นิสัยใจคอ เช่น นํ้าใจพ่อ นํ้าใจแม่ นํ้าใจชาย นํ้าใจหญิง, ความเอื้อเฟื้อ เช่น เขาไม่มีนํ้าใจ แล้งนํ้าใจ.
  • น้ำใจใคร่ น. ไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Olax scandens Roxb. ในวงศ์ Olacaceae ตามลําต้นมีหนามห่าง ๆ ใบรูปไข่หรือรี ๆ ดอกเล็ก สีขาว อยู่เป็นกระจุกที่ง่ามใบ ผลกลมหรือรีขนาดเท่าเม็ดบัวเขื่อง ๆ เป็น สมุนไพรที่รู้จักกันทั่วไป, กะทกรก นางจุม หรือนางชม ก็เรียก, อุดร เรียก เยี่ยวงัว.
  • น้ำชน น. ลักษณะที่กระแสนํ้าขึ้นกับนํ้าลงหรือนํ้าจืดกับนํ้าเค็มมาบรรจบกัน.
  • น้ำชุบ ๑ น. นํ้าที่เจือด้วยธาตุเงิน ธาตุทองแดง หรือธาตุทองคํา สําหรับช่างชุบโลหะ เช่นทองเหลืองเป็นต้น ให้เคลือบหรือเป็นสีเงินหรือสีทอง.
  • น้ำชุบ ๒ น. นํ้าที่เอาเหล็กเผาไฟ ให้แดงแล้วชุบลงเพื่อให้เหล็กกล้า.
  • น้ำชุบ ๓ (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. นํ้าพริก.
  • น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ (สำ) อย่าขัดขวางผู้ที่มีอํานาจ, เป็นคําพูดเชิงเตือนสติ.
  • น้ำเชื้อ ๑ น. นํ้าที่ต้มเคี่ยวกระดูกหมูหรือไก่เป็นต้น เพื่อใช้เป็นนํ้าแกงจืดให้มี รสอร่อย.
  • น้ำเชื้อ ๒ น. หัวนํ้าหอมหรือนํ้าหวานเป็นต้น.
  • น้ำเชื้อ ๓ (ดู น้ำกาม)
  • น้ำเชื่อม น. นํ้าตาลทรายผสมนํ้าตั้งไฟจนละลาย ใช้ใส่ขนม เช่นวุ้นนํ้าเชื่อม หรือใช้ผสมกับแป้งทําขนมชั้นหรือขนมนํ้าดอกไม้เป็นต้น.
  • น้ำเชื่อม (แพทย์) น. ยาน้ำที่ผสมน้ำตาล แต่งสี กลิ่น รส ให้ดีขึ้น, ยาน้ำเชื่อม ก็เรียก. (เทียบ อ. sirup, syrup).
  • น้ำซับ น. แหล่งที่มีนํ้าซึมซาบอยู่ภายใต้ เรียกว่า ที่นํ้าซับ, ทางภาคอีสาน เรียกว่า ซํา.
  • น้ำซาวข้าว น. นํ้าที่ล้างข้าวสารให้สะอาดเมื่อก่อนหุง.
  • น้ำซุป ๑ น. น้ำจากอาหารประเภทซุปหรือแกงจืด.
  • น้ำซุป ๒ (ปาก) (ดู น้ำสต๊อก).
  • น้ำซึม น. แหล่งที่มีนํ้าไหลซึมอยู่เรื่อย เรียกว่า ที่นํ้าซึม, บางถิ่นเรียกว่า นํ้างึม.
  • น้ำซึมซ่าน (แพทย์) น. ภาวะมีของเหลวสะสมมากเกินไปในช่องปอด. (อ. Pleural effusion).
  • น้ำซึมบ่อทราย (สำ) หาได้มาเรื่อย ๆ.
  • น้ำโซดา น. นํ้าที่มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่โดยใช้ความดันอย่างน้ำอัดลม แต่ไม่ผสมนํ้าตาลหรือนํ้าผลไม้ ใช้เป็นเครื่องดื่ม มักผสมกับเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์.
  • น้ำดอกไม้ ๑ น. ขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมแป้งมัน ละลายกับนํ้าเชื่อม ใส่ถ้วยตะไลนึ่ง เมื่อสุกหน้าจะบุ๋ม, ขนมชักหน้า ก็เรียก.
  • น้ำดอกไม้ ๒ น. ชมพู่ชนิด Syzygium jambos (L.) Alston ในวงศ์ Myrtaceae ผลสุกสีเขียวอ่อนหรือเขียวอมเหลือง เนื้อบาง กลิ่นหอมเหมือนกุหลาบ.
  • น้ำดอกไม้ ๓ น. มะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. ผลยาว ดิบรสเปรี้ยวจัด สุกรสหวานหอม เมล็ดแบนมาก.
  • น้ำดอกไม้ ๔ น. ปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Sphyraena วงศ์ Sphyraenidae ลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวแหลม คางล่างยื่น ปากกว้าง ฟันคม ตาโต เกล็ดเล็กบาง ขอบเรียบ ครีบหลัง ๒ ตอน สีพื้นลำตัวต่างกันตามชนิด มักเป็นสีฟ้าเทา เช่น S. forsteri หรือสีน้ำตาลอมเหลือง เช่น S. obtusata บ้างมีบั้งขวางลำตัวเป็นระยะ เช่น S. jello และ S. putnamiae บ้างมีจุดหรือแต้มดำ เช่น S. barracuda ขนาดต่างกัน ๓๐-๑๕๐ เซนติเมตร, สาก ก็เรียก.
  • น้ำดอกไม้เทศ น. หัวนํ้าหอมทําจากดอกกุหลาบชนิดหนึ่ง.
  • น้ำดอกไม้สด น. นํ้าที่ลอยดอกมะลิ มีกลิ่นหอม.
  • น้ำดับไฟ น. ไม้เถา ๒ ชนิดในสกุล Gouania วงศ์ Rhamnaceae คือชนิด G. javanica Miq. ใบมีขนสีน้ำตาลแดง ดอกสีเขียวอ่อน และชนิด G. leptostachya DC. ใบเกลี้ยง ดอกสีขาวอมเขียว.
  • น้ำด่าง ๑ (แพทย์) น. นํ้าขี้เถ้าที่เกรอะหรือแช่ไว้ มีรสกร่อย ๆ สําหรับทํายาและกัดสิ่งของ. (เทียบ อ. lye).
  • น้ำด่าง ๒ (เคมี) น. สารประกอบจําพวกไฮดรอกไซด์ของโลหะแอลคาไล ซึ่งละลายนํ้าได้ดี มีรสฝาด ถูกมือลื่นคล้ายสบู่ มีฤทธิ์เป็นเบส. (อ. alkali).
  • น้ำดิบ น. นํ้าที่ยังไม่ได้ต้ม.
  • น้ำดี ๑ น. นํ้าย่อยชนิดหนึ่งเกิดในตับแล้วไหลไปเก็บในถุงนํ้าดี. (เทียบ อ. bile).
  • น้ำดี ๒ (วิทยา) น. น้ำที่มีปริมาณออกซิเจนสูง สะอาด ใช้อุปโภคบริโภคได้, ตรงข้ามกับ น้ำเสีย.
  • น้ำเดิน ๑ น. อาการน้ำคร่ำไหล ซึ่งเป็นสัญญาณก่อนคลอด.
  • น้ำเดิน ๒ น. น้ำหรือของเหลวสายเล็ก ๆ หลายสายไหลกระจายอยู่ทั่วไป.
  • น้ำดูดซึม (ธรณี) น. น้ำในดินที่ถูกจับยึดไว้ด้วยแรงดูดซึมของช่องว่างระหว่างเม็ดดินที่มีขนาดเล็ก เป็นน้ำส่วนที่พืชสามารถนำไปใช้ได้. (อ. capillary water). [1]
  • น้ำตก ๑ น. นํ้าที่ขังอยู่บนเขาตกลงมาที่หน้าผา; โดยปริยายเรียกนํ้าที่ทําให้ตกลงมาในลักษณะคล้ายกัน เช่นน้ำตกจำลอง.
  • น้ำตก ๒ น. อาหารเนื้อสัตว์ เช่นเนื้อหมูหรือเนื้อวัว ย่างพอสุกเล็กน้อยหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วปรุงด้วย พริกป่น หอมแดงซอย ข้าวคั่ว น้ำมะนาว น้ำปลา เป็นต้น.
  • น้ำตก ๓ น. ก๋วยเตี๋ยวเนื้อสดที่ใส่เลือดวัวสด.
  • น้ำต้อย (พฤกษ) น. นํ้าหวานที่หล่ออยู่ในดอกไม้ เกิดจากต่อมนํ้าหวานซึ่งมักปรากฏอยู่ ที่โคนของกลีบดอก. (เทียบ อ. nectar).
  • น้ำตะกู, น้ำตะโก น. กระดาษสีเหลืองทอง นิยมใช้สลักปรุเป็นลวดลาย หรือใช้ทั้งแผ่นปิดตกแต่งสิ่งปลูกสร้าง หรือครุภัณฑ์บางอย่างเป็นการชั่วคราวเรียกว่า กระดาษน้ำตะกู หรือกระดาษน้ำตะโก.
  • น้ำตะไคร้ น. นํ้าหอมชนิดหนึ่งมีลักษณะใสสีเหลืองอ่อนหรือสีนํ้าตาลแกมแดง สกัดจากต้นและใบตะไคร้; น้ำคั้นจากต้นและใบตะไคร้ เป็นเครื่องดื่ม.
  • น้ำตับ (ถิ่น-อีสาน) น. อาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ละเอียด คลุกข้าวสุก เกลือ และเครื่องปรุง ขยําให้เข้ากันแล้วยัดในไส้หมู, หมํ้า หรือหมํ้าตับ ก็เรียก.
  • น้ำตา น. นํ้าที่ไหลออกจากนัยน์ตา; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ไหลเยิ้มอย่างนํ้าตา. (เทียบ อ. tears).
  • น้ำตาเช็ดหัวเข่า (สำ) เสียใจเพราะชํ้าใจหรือต้องผิดหวังอย่างหนัก.
  • น้ำตาตกใน (สำ) เศร้าโศกเสียใจอย่างมาก แต่ไม่แสดงให้ปรากฏ.
  • น้ำตาเทียน น. ขี้ผึ้งซึ่งไหลออกจากเทียนเวลาจุด.
  • น้ำตาย น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลําคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับทะเล หรือได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้น มีระดับนํ้าขึ้นและลงน้อย เนื่องจากอิทธิพลของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ในช่วงเวลาที่ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อยู่ในวงโคจรเกือบเป็นมุมฉากซึ่งกัน และกันสัมพันธ์กับโลก นํ้าตายมี ๒ ช่วงคือ ช่วงกึ่งปักษ์แรก ระหว่างวันขึ้น ๕–๙ คํ่า และช่วงกึ่งปักษ์หลัง ระหว่างวันแรม ๕–๙ คํ่า, ตรงข้ามกับ น้ำเกิด.
  • น้ำตาล ๑ น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และไดแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีรสหวาน โดยมากได้จากตาล มะพร้าว อ้อย, ถ้าเป็นความหมายเฉพาะอย่างและทําด้วยอะไร ก็เติมคํานั้น ๆ ลงไป เช่น ทําจากตาล เรียกว่า นํ้าตาลโตนด, ทําจากมะพร้าว เรียกว่า นํ้าตาลมะพร้าว, ทําเป็นงบ เรียกว่า นํ้าตาลงบ, ทําจาก อ้อย แต่ยังไม่ได้ทําให้เป็นนํ้าตาลทรายเรียกว่า นํ้าตาลทรายดิบ, ทําเป็นเม็ด ๆ เหมือนทราย เรียกว่านํ้าตาลทราย, ทําเป็นก้อนแข็ง เหมือนกรวด เรียกว่า นํ้าตาลกรวด, เคี่ยวให้ข้น ๆ เรียกว่า นํ้าตาล ตงุ่น, หยอดใส่ใบตาลหรือใบตองแห้งทําเป็นรูปปี่ เรียกว่า นํ้าตาลปี่, หลอมเป็นปึก เรียกว่า นํ้าตาลปึก, หยอดใส่หม้อ เรียกว่า นํ้าตาลหม้อ, บรรจุใส่ปีบ เรียกว่า น้ำตาลปีบ หรือน้ำตาลปี๊บ, รองมาใหม่ ๆ ยัง ไม่ได้เคี่ยว เรียกว่า นํ้าตาลสด, ถ้าต้มให้เดือด เรียกว่า นํ้าตาลลวก, ถ้าใส่เปลือกตะเคียน มะเกลือ หรือเคี่ยม เป็นต้น หมักไว้ระยะหนึ่งจน มีแอลกอฮอล์กินแล้วเมา เรียกว่า นํ้าตาลเมา.
  • น้ำตาล ๒ ว. สีคล้ายสีนํ้าตาลหม้อ ที่เคี่ยวแก่ไฟ, ถ้าสีคล้ำคล้ายน้ำตาลหม้อแก่ไฟจนไหม้ เรียกว่า สีนํ้าตาลไหม้.
    • น้ำตาลใกล้มด ใครจะอดได้ (สำ) ชายหญิงที่ใกล้ชิดกันมากย่อมห้ามใจไม่ให้รักกันได้ยาก, น้ำตาลใกล้มด ก็เรียก.
    • น้ำตาลก้นแก้ว (สำ) น. เปรียบหญิงที่ผ่านการร่วมประเวณีแล้ว โดยค่านิยมโบราณว่ามีราคี.
    • น้ำตาลจีน น. มะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. เดิมเรียก น้ำตาลทรายจีน.
    • น้ำตาลเมา น. เหล้าที่หมักจากน้ำตาลโตนด. (เทียบ อ. toddy).
  • น้ำเต้า ๑ น. ไม้เถาล้มลุกชนิด Lagenaria siceraria Standl. ในวงศ์ Cucurbitaceae อยู่ในจำพวกฟักแฟง ดอกสีขาว ผลกินได้ เมื่อแก่แห้งใช้เป็นภาชนะได้; ว. โดยปริยายเรียก รูปทรงลักษณะคล้ายกันกับผลของน้ำเต้า.
  • น้ำเต้า ๒ น. อวัยวะส่วนที่อยู่โคนงวงช้าง มีรูปโป่งคล้ายลูกนํ้าเต้า.
  • น้ำเต้า ๓ น. การพนันชนิดหนึ่ง เล่นโดยเจ้ามือจะเป็นผู้ซัดหรือฝัดลูกบาศก์ซึ่งมี ๖ หน้า เขียนเป็นรูป นํ้าเต้า ปู ปลา เสือ ไก่ และกุ้ง ให้ลูกค้าแทง.
  • น้ำเต้า ๔ (ดู โกฐน้ำเต้า)
  • น้ำใต้ดิน (ธรณี) น. แหล่งน้ำตามธรรมชาติที่อยู่ใต้ดิน เกิดจากนํ้าฝนที่ตกลงสู่พื้นดินแล้วไหลซึมไปรวมกัน. (อ. subsurface water; subterranean water; underground water).
  • น้ำท้น (ธรณี) น. แอ่งบนพื้นดิน เกิดจากถ้ำใต้ดินในเขตภูเขาหินปูนของภาคเหนือ เกิดยุบตัวลงมา เนื่องจากทานน้ำหนักของหลังคาถ้ำไม่ไหว, แอ่งยุบ หรือ อ่างสลุง ก็เรียก. (เทียบ อ. flash). [2]
  • น้ำทรง น. นํ้าที่หยุดไหลชั่วขณะ, นํ้าที่คั่งค้างอยู่ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งรับนํ้า, นํ้ากําลังจะเปลี่ยนระดับจากนํ้าขึ้นเต็มที่มาเป็นนํ้าลง หรือจากนํ้า ลงเต็มที่มาเป็นนํ้าขึ้น, ช่วงนํ้าหยุดไหลในทะเลและแม่นํ้าลําคลอง อาจมีระยะเวลาตั้งแต่ ๕ นาที หรือนานถึง ๒ ชั่วโมงก็ได้ แล้วแต่ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่ ความลาดชันของขอบฝั่งและลํานํ้า.
  • น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง (สำ) ก. พูดมากแต่ได้เนื้อหาสาระน้อย, น้ำท่วมทุ่ง หรือ มีแต่น้ำ ก็เรียก.
  • น้ำท่วมปาก (สำ) ก. พูดไม่ออกเพราะเกรงจะมีภัยแก่ตนหรือผู้อื่น.
  • น้ำทอง (ปาก) น. น้ำชุบที่มีธาตุทองคำผสมอยู่. (ดู น้ำชุบ ๑).
  • น้ำท่า น. นํ้าในแม่นํ้าลําคลอง.
  • น้ำทิ้ง น. น้ำสกปรกที่เหลือจากการใช้อุปโภคหรือการผลิตทางอุตสาหกรรม ทำให้เกิดน้ำเสีย. (อ. waste water).
  • น้ำทูนหัว น. นํ้าที่อยู่ในถุงนํ้าครํ่าซึ่งอยู่รอบลูกในท้อง ช่วยหล่อลื่นในการคลอด.
  • น้ำไทย น. กล้วยพันธุ์หนึ่งของชนิด Musa acuminata Colla ผลรูปรี เนื้อสีเหลืองส้ม รสหวาน.
  • น้ำนม น. ของเหลวสีขาวออกมาจากนมคนและสัตว์ สําหรับเลี้ยงลูก.
  • น้ำนมแมว น. ของเหลวชนิดหนึ่งประกอบด้วย เอทิลแอซีเทต (อ. ethyl acetate) มีกลิ่นหอมคล้ายดอกนมแมว ใช้ประโยชน์เป็นตัวปรุงกลิ่นขนมเป็นต้น.
  • น้ำนมราชสีห์ ๑ น. กล้วยชนิดหนึ่ง ผลคล้ายกล้วยกรัน สุกรสหวานเย็น มีกลิ่น หอม. (พจน. ๒๔๙๓).
  • น้ำนมราชสีห์ ๒ น. ไม้ล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Euphorbia วงศ์ Euphorbiaceae ใบออกตรงข้ามกัน ทุกส่วนมี ยางขาวคล้ายนํ้านม ใช้ทํายาได้ เช่น ชนิด E. hirta L. ต้นและใบมีขน.
  • น้ำนวล ว. ผ่องใส, ผุดผ่อง, มักใช้แก่ผิวพรรณ นิยมใช้เป็นคำซ้อน เช่น เป็นนํ้าเป็นนวล มีนํ้ามีนวล.
  • น้ำนอง ๑ น. น้ำท่วมหรือเจิ่งนอง.
  • น้ำนอง ๒ น. ปลวกหลายชนิดในหลายวงศ์ สีดําหรือนํ้าตาลแก่ อาศัยอยู่ใต้ดิน เมื่อเกิดตะไคร่ขึ้น พอนํ้าลดจะเดินแถวมาเก็บตะไคร่ไปเลี้ยงลูก ซึ่งอาจพบได้ทั้งคืน จึงเห็นตัวเฉพาะในเวลานํ้านอง เช่น ชนิด Hospitalitermes monoceros, H. asahinai, H. birmanicus ในวงศ์ Termitidae.
  • น้ำนอง ๓ น. ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นชนิด Polyalthia suberosa (Roxb.) Thwaites ในวงศ์ Annonaceae ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงด้านบนมีขน กลีบดอกสีเหลืองคล้ำ ผลเป็นกลุ่ม เมื่อสุกสีแดง, กลึงกล่อม ก็เรียก.
  • น้ำนอง ๔ น. ไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Salacia chinensis L. ในวงศ์ Celastraceae ขึ้นตามป่าดิบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ขอบใบจัก ดอกสีเขียวอมเหลือง ใช้ทํายาได้, กําแพงเจ็ดชั้น หรือตะลุ่มนก ก็เรียก.
  • น้ำนอนคลอง น. นํ้าในคลองซึ่งไหลลงไม่หมด เหลือนํ้าอยู่มาก เพราะมีนํ้าหนุนขึ้นมา.
  • น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ (สำ) ฝ่ายข้างน้อยย่อมแพ้ฝ่ายข้างมาก, น้ำน้อยแพ้ไฟ ก็เรียก.
  • น้ำนิ่งไหลลึก (สำ) คนที่มีท่าหงิม ๆ มักจะมีความคิดลึกซึ้ง.
  • น้ำบ่อน้อย (สำ) นํ้าลาย. (รามเกียรติ์).
  • น้ำบาดาล (ธรณี) น. น้ำที่สูบจากใต้ดินที่ลึกไม่ต่ำกว่า ๑๐ เมตร. (เทียบ อ. ground water).
  • น้ำบูดู (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. น้ำที่ได้จากปลาหมักจนเปื่อย ต้มสุกแล้วปรุง รส มี ๒ ชนิด คือ บูดูแบบเค็ม เป็นเครื่องจิ้มกับผักสด และบูดู แบบหวาน สำหรับคลุกกับข้าวยำปักษ์ใต้, บูดู ก็เรียก.
  • น้ำโบย (ถิ่น-พายัพ) น. กระบวย.
  • น้ำประสานทอง (วิทยา, ศิลปะ) น. เกลือเคมีชนิดหนึ่งใช้เป็นตัวประสานในการเชื่อมหรือบัดกรีโลหะ เป็นต้น. (เทียบ อ. borax).
  • น้ำประปา น. น้ำที่เกรอะกรองให้สะอาดปราศจากเชื้อโรค แล้วจ่ายไปให้ประชาชน บริโภคใช้สอย.
  • น้ำปลา น. นํ้าปรุงอาหารให้มีรสเค็ม ทําจากปลาหรือสิ่งอื่นหมักกับเกลือ.
  • น้ำป่า น. นํ้าที่เกิดท่วมในที่ตํ่าโดยฉับพลันทันทีและไหลลดลงอย่างรวดเร็ว.
  • น้ำปู๋ (ถิ่น-เหนือ) น. นํ้าปรุงอาหารให้มีรสเค็ม ทําจากปูน้ำจืดหมักกับเกลือ.
  • น้ำผิวดิน น. แหล่งน้ำธรรมชาติที่อยู่ผิวโลก เช่น แม่น้ำลำธาร บึง ทะเลสาบ.
  • น้ำผลึก น. โมเลกุลของนํ้าที่ประกอบอยู่กับโมเลกุลของสารประกอบบางชนิด เมื่ออยู่ในภาวะเป็นรูปผลึก.
  • น้ำผึ้ง ๑ น. นํ้าหวานมีลักษณะข้นที่แมลงผึ้งเก็บสะสมเอามาจากดอกไม้ต่าง ๆ.
  • น้ำผึ้ง ๒ น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Schoutenia glomerata King subsp. paregrina (Craib) Roekm. et Martono ในวงศ์ Tiliaceae ใบออกเรียงสลับกัน ด้าน ล่างสีขาว ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบ ปลูกเป็นไม้ประดับ, รวงผึ้ง หรือ ดอกนํ้าผึ้ง ก็เรียก.
  • น้ำผึ้ง ๓ น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Gyrinocheilus aymoneri และชนิด G. pennocki ในวงศ์ Gyrinocheilidae มีหัวยาว ลำตัวยาวเพรียว ที่สำคัญคือมีปากซึ่ง ใช้ดูดเกาะติดกับวัตถุใต้น้ำได้ดีไม่มีหนวด พื้นลำตัวสีน้ำตาลคล้ำ ข้างตัว มีจุดดำเรียงสลับกันตามยาวอยู่ ๒ แถว พบทั่วไปตามลำธารบนภูเขา และที่ลุ่ม กินสาหร่ายและพืชน้ำอื่น ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๒๘ เซนติเมตร, รากกล้วย ผึ้ง ลูกผึ้ง หรือ สร้อยน้ำผึ้ง ก็เรียก.
  • น้ำฝาด น. น้ำที่มีรสฝาด เกิดจากการเอาเปลือกไม้แก่นไม้เป็นต้นของไม้บางชนิด เช่นขนุนมาต้ม ใช้ย้อมสบงจีวร, ฝาด ก็ว่า เช่น ผ้าย้อมฝาด.
  • น้ำพระพิพัฒน์สัตยา น. นํ้าที่ดื่มในเวลาถวายสัตย์ต่อพระเจ้าแผ่นดิน.
  • น้ำพริก ๑ น. อาหารชนิดหนึ่ง ปรุงด้วย กะปิ กระเทียม พริกขี้หนู มะนาว เป็นต้น ใช้เป็นเครื่องจิ้มหรือคลุกข้าวกิน ใช้นํ้าปลาหรือนํ้าปลาร้าแทนกะปิก็มี ใช้ของเปรี้ยวอื่น ๆ เช่น มะขาม มะดัน มะม่วง แทนมะนาวก็มี เรียกต่างกันไปตามเครื่องปรุง เช่น นํ้าพริกปลาร้า นํ้าพริกปลาย่าง นํ้าพริก มะขาม นํ้าพริกมะดัน นํ้าพริกมะม่วง.
  • น้ำพริก ๒ น. เครื่องปรุงกึ่งสำเร็จสำหรับทำแกงเผ็ด แกงคั่ว หรือแกงส้ม.
  • น้ำพริก ๓ น. อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง มี ๓ รส แต่ค่อนข้าง หวานทําด้วยถั่วเขียวโขลกกับเครื่องปรุง กินกับผักบางอย่างเป็นเหมือด ใช้คลุกกินกับขนมจีน, คู่กับ นํ้ายา.
  • น้ำพริกเผา น. นํ้าพริกชนิดหนึ่ง ใช้พริกแห้ง หอม กระเทียม กุ้งแห้ง เป็นต้น เผา หรือทอด แล้วตําให้ละเอียด ปรุงด้วยนํ้าปลา นํ้าตาล ส้มมะขาม ใช้ คลุกข้าวหรือทาขนมปัง.
  • น้ำพักน้ำแรง น. แรงที่เกิดจากความมานะพยายามของตนเอง.
  • น้ำพี้ น. แร่เหล็กที่ได้จากตำบลน้ำพี้ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ถือกันว่าเป็นเหล็ก ที่มีคุณภาพดี มักใช้ทำอาวุธเป็นต้น.
  • น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า (สำ) น. การพึ่งพาอาศัยกัน.
  • น้ำพุ (ธรณี) น. นํ้าใต้ดินที่ผุดพุ่งขึ้นมาเหนือพื้น มีอุณหภูมิตํ่ากว่าอุณหภูมิของร่างกาย มนุษย์, ถ้ามีอุณหภูมิสูงกว่า ซึ่งมีตั้งแต่อุ่น ๆ จนถึงเดือดพล่าน เรียกว่า นํ้าพุร้อน. (เทียบ อ. spring); โดยปริยายเรียก นํ้าที่ผุดขึ้นมาในลักษณะที่คล้ายกับน้ำพุ เช่น น้ำพุจำลอง.
  • น้ำฟ้าน้ำฝน (ปาก, ซ้อน) น. ฝน, ฝนฟ้า ก็เรียก.
  • น้ำมนต์, น้ำมนตร์ น. นํ้าที่เสกเพื่ออาบ กิน หรือประพรมเป็นต้น ถือกันว่าเป็นมงคล.
  • น้ำมัน น. ของเหลวที่มีลักษณะเป็นมันลื่น ไม่ละลายน้ำ, สกัดจากพืช เรียกว่า น้ำมันพืช, จากสัตว์ เรียกว่า น้ำมันสัตว์ หรือ ไขมันสัตว์, จากแร่บางชนิด เช่น ถ่านหิน, หรือที่สูบขึ้นมาจากแหล่งกำเนิด คือ ปิโตรเลียม. (เทียบ อ. oil, ole(o)-, oleum); โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายน้ำมัน เช่น น้ำมันใส่ผม.
    • (คำศัพท์เกี่ยวกับ น้ำมัน ดู น้ำมัน)
  • น้ำมาน (แพทย์) น. ของเหลวในช่องท้องเพอริโทเนียม. (เทียบ อ. ascitic fluid).
  • น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา (สำ) ทีใครทีมัน.
  • น้ำมือ ๑ น. มือของตัวแท้ ๆ, การกระทำของตัวแท้ ๆ.
  • น้ำมือ ๒ น. รสมือ, ฝีมือการทำอาหาร.
  • น้ำมือ ๓ น. ความสามารถในการทํา เช่น บํารุงสินค้า ให้เกิดมีขึ้นในประเทศโดยนํ้ามือของคนไทยเรา.
  • น้ำมูก น. นํ้าเมือกที่ออกจากจมูก.
  • น้ำมูกไหล (แพทย์) ก. อาการแพ้อย่างหนึ่ง เช่น แพ้อากาศหรือละออง โดยต่อมน้ำมูกหลั่งน้ำมูกไหลปริมาณมาก. (เทียบ อ. rhinorrhoea).
  • น้ำเมา น. นํ้าที่ดื่มแล้วทําให้มึนเมา มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ (อ. alcohol) ได้แก่สุราและเมรัยเป็นต้น.
  • น้ำย่อย น. ของเหลวที่มีสารอินทรีย์บางชนิดสําหรับย่อยอาหาร เกิดในปาก กระเพาะ ลําไส้ ตับ และตับอ่อน.
  • น้ำยา ๑ น. อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง ทําด้วยปลาโขลกกับ เครื่องปรุง กินกับผักบางอย่าง เช่น ถั่วงอก ใบแมงลัก ใช้คลุกกิน กับขนมจีน, คู่กับ นํ้าพริก.
  • น้ำยา ๒ (ดู น้ำยาเคมี).
  • น้ำยา ๓ น. สารเคมีที่ประสมเป็นของเหลวอย่างนํ้า หรือสารเคมีผสมน้ำเพื่อใช้ในกิจการบางอย่าง เช่น นํ้ายา ล้างรูป น้ำยาสําหรับจิตรกรรมหรือระบายภาพ.
  • น้ำยา ๔ (ปาก) น. ความสามารถในทางใดทางหนึ่ง, มักใช้ในทางตําหนิ เช่น ไม่มีนํ้ายา หรือหมดนํ้ายา หมายถึง ไม่มีสติปัญญาความสามารถ หรือหมดความสามารถ.
    • (คำศัพท์เกี่ยวกับ น้ำยา ดู น้ำยา)
  • น้ำยาง (พฤกษ) น. ของเหลวใต้เปลือกไม้ซึ่งพืชหลั่งออกมาเพื่อรักษาบาดแผล เมื่อแห้งและผ่านกรรมวิธีใช้ประโยชน์ได้, มักหมายถึง น้ำยางที่ได้จากการกรีดต้นยางพารา. (เทียบ อ. latex).
  • น้ำเย็นปลาตาย (สำ) น. คําพูดที่ไพเราะอ่อนหวานทำให้ตายใจ อาจเป็นโทษเป็น ภัยได้, มักพูดเข้าคู่กับ นํ้าร้อนปลาเป็น.
  • น้ำร้อนปลาเป็น (สำ) น. คําพูดที่ตรงไปตรงมาฟังไม่ไพเราะ เป็นการเตือนให้ ระวังตัวแต่ไม่เป็นพิษเป็นภัย, มักพูดเข้าคู่กับ นํ้าเย็นปลาตาย.
  • น้ำรัก น. ยางที่ได้จากไม้ต้นในสกุล Melanorrhoea และไม้พุ่มในสกุล Rhus วงศ์ Anacardiaceae ทําให้มีสีดําแล้วใช้ทาลงพื้นให้เหนียวเพื่อ ปิดทอง.
    • (คำศัพท์เก่ยวกับ น้ำรัก ดู รัก)
  • น้ำแร่ น. นํ้าที่มีสารบางอย่างละลายอยู่เป็นพิเศษ บางอย่างมีสมบัติทาง ยารักษาโรค.
  • น้ำแรกเกิด (ธรณี) น. น้ำและก๊าซจากหินหนืดที่ขึ้นสู่ผิวโลกครั้งแรก ๆ. (อ. juvenile water). [3]
  • น้ำลง (ธรณี) น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลําคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับทะเลหรือได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้นที่มีระดับนํ้าตํ่าลง ในวันหนึ่ง ๆ ตาม ปรกตินํ้าจะลง ๒ ครั้ง และนํ้าลงครั้งแรกจะมีระดับตํ่ากว่าลงครั้งที่ ๒, ตรงข้ามกับ น้ำขึ้น และมักเรียกคู่กันว่า น้ำขึ้นน้ำลง. (เทียบ อ. tidal water; tide-water).
  • น้ำลดตอผุด (สำ) เมื่อหมดอํานาจ ความชั่วที่ทําไว้ก็ปรากฏ.
  • น้ำละว้า (ดู นํ้าว้า).
  • น้ำลาย น. นํ้าที่หลั่งออกมาจากต่อมนํ้าลายและต่อมเมือกในปากช่วยย่อย อาหารจําพวกแป้ง. (เทียบ อ. saliva).
  • น้ำลายสอ (ปาก) ว. อาการที่อยากมาก ในความเช่น อยากกินจนนํ้าลายสอ.
  • น้ำลายหก, น้ำลายไหล (ปาก) ว. อาการที่อยากมาก ในความเช่น อยากได้จนนํ้าลายหก.
  • น้ำเลี้ยง (พฤกษ) น. ของเหลวที่หล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น นํ้าเลี้ยงลูกตา นํ้าเลี้ยงลําต้น. (เทียบ อ. sap).
  • น้ำเลี้ยงนิวเคลียส (ชีว) น. . (เทียบ อ. karyolymph).
  • น้ำเลือด ๑ (แพทย์) (ดู เลือด). (เทียบ อ. blood).
  • น้ำเลือด ๒ (แพทย์) น. ส่วนที่เป็นของเหลวของเลือด, พลาสมา ก็เรียก. (อ. plasma).
  • น้ำเลือดซึมซ่าน (แพทย์) น. ภาวะมีคั่งในช่องปอด. (อ. effusion, haemorrhagic; effusion, hemorrhagic).
  • น้ำวน (ภูมิ) น. กระแสนํ้าไหลวนเป็นวงในทะเลหรือแม่นํ้า เกิดจากรูปร่าง ลักษณะของร่องนํ้าหรือเนื่องจากกระแสนํ้า ๒ สายไหลมาปะทะกัน.
  • น้ำว้า น. กล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งพัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับ กล้วยตานี, นํ้าละว้า ก็เรียก, พายัพเรียก กะลิอ่อง หรือมะลิอ่อง, เชียงใหม่เรียก กล้วยใต้.
  • น้ำไว น. แสงของเพชรหรือพลอยที่พุ่งออกมาเร็วเมื่อเวลาถูกแสงไฟหรือแสงอาทิตย์.
  • น้ำสต๊อก น. น้ำต้มกระดูกไก่ กระดูกหมู หรือเนื้อสัตว์ เป็นต้น ใส่เกลือเล็กน้อย เคี่ยวไฟอ่อน ๆ จนได้ที่ เคี่ยวครั้งหนึ่งเก็บไว้ได้หลายวัน ใช้ผสมในการปรุงอาหาร เช่น แกงจืด ซุป สตู หรืออาหารประเภทผัดผักต่าง ๆ เพื่อ เพิ่มรสชาติให้ดียิ่งขึ้น, น้ำซุป ก็เรียก.
  • น้ำส้ม ๑ น. นํ้าคั้นจากผลส้ม ใช้เป็นเครื่องดื่ม.
  • น้ำส้ม ๒ (ดู นํ้าส้มสายชู).
  • น้ำส้มสายชู น. ของเหลวซึ่งมีกรดแอซีติกละลายอยู่ไม่เกินร้อยละ ๖ มีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหาร, นํ้าส้ม ก็เรียก.
  • น้ำสังข์ น. นํ้าพระพุทธมนต์ที่หลั่งจากสังข์ในงานพิธีมงคล เช่น งานแต่งงาน.
  • น้ำสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน (สำ) สั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย, ทําการอันใดที่เป็นสิ่งสําคัญเพื่อ ไว้อาลัยก่อนจากไป, ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง ก็ว่า.
  • น้ำสาบาน น. น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น น้ำพระพุทธมนต์ น้ำเทพมนตร์ หรือสุราผสม เลือดที่ผู้ร่วมสาบานกรีดให้หยดลงแล้วดื่มประกอบกับคำปฏิญาณ เช่น พี่น้องร่วมน้ำสาบาน เพื่อนร่วมน้ำสาบาน.
  • น้ำสุก น. นํ้าที่ต้มแล้ว.
  • น้ำเสีย (วิทยา) น. น้ำที่มีปริมาณออกซิเจนสูง สะอาด ใช้อุปโภคบริโภคได้, ตรงข้ามกับ น้ำดี.
  • น้ำเสียง น. กระแสเสียง, คําพูด; (วรรณ) โดยปริยายหมายถึงคําพูดที่ส่อให้รู้อารมณ์ ที่มีอยู่ในใจ. (เทียบ อ. tone, tone colour).
  • น้ำใสใจคอ น. น้ำใจที่แท้จริง, มักใช้ในทางดี เช่น เขาเป็นคนมีน้ำใสใจคอ โอบอ้อมอารี, น้ำใสใจจริง ก็เรียก.
  • น้ำหนวก น. นํ้าที่อยู่ในช่องหูซึ่งมีอาการอักเสบ มีกลิ่นเหม็น อาจมีลักษณะใส เป็นมูกข้นหรือเป็นหนอง.
  • น้ำหนอง น. น้ำเลือดเสียกลายเป็นสีขาวข้นที่กลัดอยู่ตามแผลและฝี, หนอง ก็ว่า.
  • น้ำหนัก ๑ น. ความหนักของสิ่งต่าง ๆ.
  • น้ำหนัก ๒ น. ความสําคัญ เหตุผล หรือพยานหลักฐาน เป็นต้น ที่ควรแก่การเชื่อถือ หรือที่จูงใจให้เชื่อถือ.
    • น้ำหนักเกิน (แพทย์) น. . (อ. overweight).
    • น้ำหนักของข้อพิสูจน์ (กฎ) น. . (เทียบ อ. degree of proof).
    • น้ำหนักบรรทุก (ยานยนต์) น. . (เทียบ อ. pay load).
    • น้ำหนักพยานหลักฐาน (กฎ) น. . (อ. weight of evidence).
  • น้ำหน้า ๑ น. หน้า, ใช้ในความแดกดัน รังเกียจ หรือดูหมิ่น เป็นต้น เช่น นํ้าหน้า อย่างนี้ทําไม่สําเร็จดอก เกลียดนํ้าหน้า ชังนํ้าหน้า.
  • น้ำหน้า ๒ (โบ, กลอน) น. นํ้าตา เช่น นํ้าหน้าไล้กําลูน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  • น้ำหนึ่ง ว. มีคุณสมบัติสูงสุดและมีแสงแวววาวบริสุทธิ์, ใช้แก่เพชร เรียกว่า เพชรนํ้าหนึ่ง.
  • น้ำหนึ่งใจเดียว (สำ) ว. มีความคิดเห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
  • น้ำหมาก น. นํ้าลายของผู้ที่กําลังเคี้ยวหมาก มีสีแดง.
  • น้ำหมึก น. น้ำที่ใช้ในการขีดเขียน ตามปรกติมีสีดำจัด จึงใช้เปรียบกับของดำ ว่า ดำเป็นน้ำหมึก, หมึก ก็ว่า.
  • น้ำหยดลงหิน (สำ) การพยายามโน้มน้าวสม่ำเสมอ ย่อมทำให้จิตใจผู้ถูกโน้มน้าวหวั่นไหวและคล้อยตามได้ในที่สุด เปรียบกับหินที่ถูกน้ำหยดสม่ำเสมอ นานเข้าย่อมค่อย ๆ สึกกร่อนทีละน้อย.
  • น้ำหลั่ง, สารน้ำคัดหลั่ง (แพทย์) น. . (อ. succus).
  • น้ำหลาก น. น้ำท่วม, เรียกฤดูฝนที่มีน้ำไหลท่วมว่า ฤดูน้ำหลาก.
  • น้ำหลากแผ่ซ่าน (ธรณี) น. . (อ. sheet flood).
  • น้ำหอม น. นํ้าที่กลั่นจากเครื่องหอม, นํ้าอบฝรั่ง ก็เรียก.
  • น้ำเหลือง ๑ (แพทย์) น. ของเหลวที่ไหลมาจากเนื้อเยื่อของร่างกาย เข้าสู่หลอดนํ้าเหลือง, ของเหลวสีเหลืองใสที่ไหลออกมาทางแผล. (เทียบ อ. lymph).
  • น้ำเหลือง ๒ (แพทย์) น. ของเหลวสีเหลืองใสที่สกัดจากเลือด, ซีรัม หรือ เซรุ่ม ก็เรียก. (อ. serum).
  • น้ำเหลืองน้ำตาล น. กากนํ้าตาล.
  • น้ำไหลไฟดับ (ปาก) ว. เร็วและคล่อง, ใช้แก่กริยาพูด.
  • น้ำอดน้ำทน น. ความอดทน.
  • น้ำอบ น. นํ้าที่อบด้วยควันกํายานหรือเทียนอบ และปรุงด้วยเครื่องหอม.
  • น้ำอบฝรั่ง น. นํ้าหอม.
  • น้ำอสุจิ (ดู น้ำกาม).
  • น้ำอ่อน น. นํ้าที่ละลายสบู่ได้ดี ให้ฟองได้ง่าย และไม่มีไคลสบู่เกิดขึ้น, ตรงข้าม น้ำกระด้าง.
  • น้ำอ้อย น. นํ้าหวานที่ได้จากต้นอ้อย, ถ้าทําเป็นแผ่นกลม ๆ เรียกว่า นํ้าอ้อยงบ, ถ้าทําเป็นผงละเอียดหรือจับกันเป็นก้อน ๆ สีนํ้าตาล เรียกว่า นํ้าตาล ทรายแดง, หางนํ้าอ้อยที่ใช้เป็นเครื่องผสมสําหรับต้มกลั่นสุราหรือใช้ ผสมปูนสอสําหรับการก่อสร้าง.
  • น้ำอัดลม น. นํ้าที่มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่โดยใช้ความดัน และผสมนํ้าตาลหรือนํ้าผลไม้ ใช้เป็นเครื่องดื่ม.
  • น้ำอาบงัว น. นํ้าฝนที่ตกชะดินไหลลงมา มีสีเหลืองเข้ม.


คำว่า น้ำ ในตำแหน่งอื่น

  • กดน้ำ ๑ (ปาก) ก. ใช้กําลังกดสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้มิดลงไปในน้ำ ในความว่า จับกดน้ำ จับหัวกดน้ำ.
  • กดน้ำ ๒ (ปาก) ก. รินน้ำผ่านตู้น้ำหรือถังบรรจุน้ำ.
  • กรวดน้ำ ก. แผ่ส่วนบุญด้วยวิธีหลั่งน้ำ.
    • กรวดน้ำคว่ำขัน (ปาก) ก. โดยปริยายหมายถึง ตัดขาด ไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย, กรวดน้ำ หรือ กรวดน้ำคว่ำกะลา ก็เรียก.
  • กระดี่ได้น้ำ (สำ) น. ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการดีอกดีใจตื่นเต้นจนตัวสั่น เช่น เขาดีใจเหมือนกระดี่ได้น้ำ.
  • กระแสน้ำ น. สายน้ำ.
  • กรีดน้ำตา ว. เช็ดน้ำตาด้วยนิ้วอย่างละครรำ; โดยปริยายเป็นคำแสดงความหมั่นไส้ ว่าแสร้งร้องไห้ทำให้ดูน่าสงสาร เช่น เรื่องแค่นี้มานั่งกรีดน้ำตาอยู่ได้.
  • กลัวน้ำ น. โรคพิษสุนัขบ้า เรียกว่า โรคกลัวน้ำ.
  • กวนน้ำให้ขุ่น (สํา) ก. ทําเรื่องราวที่สงบอยู่แล้วให้เกิดวุ่นวายขึ้นมา.
  • กษัยน้ำ น. กษัยเนื่องจากเลือด น้ำเหลือง หรือเสมหะเป็นพิษ ถ้ารวมทั้ง ๓ ประการ เรียกว่า กษัยเลือด.
  • กาลักน้ำ (วิทยา) น. ปรากฏการณ์หรือเครื่องมืออย่างง่าย ที่อาศัยความดันของอากาศเพื่อใช้ถ่ายเทของเหลวออกจากภาชนะ โดยใช้หลอดหรือท่อ ถ่ายเทของเหลวจากระดับหนึ่งไปสู่ระดับที่ต่ากว่า โดยไหลผ่านระดับที่สูงกว่าระดับทั้ง ๒ นั้น. (เทียบ อ. siphon).
  • ก๊าซน้ำตา, แก๊สน้ำตา น. สารที่อยู่ในสภาพที่แพร่กระจายเป็นไอหรือควันทําให้ระคาย เคืองนัยน์ตาอย่างรุนแรง น้ำตาไหล และมองไม่เห็นชั่วขณะหนึ่ง. (อ. tear gas).
  • กาน้ำ ๑ น. ภาชนะใส่น้ำสำหรับต้มหรืออุ่น, กาต้มน้ำ ก็เรียก.
  • กาน้ำ ๒ น. นกในวงศ์ Phalacrocoracidae ตัวสีดํา คอยาว ว่ายน้ำ เหมือนเป็ด ดําน้ำจับปลากินเป็นอาหาร อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ในประเทศไทยมี ๓ ชนิดคือ กาน้ำใหญ่ Phalacrocorax carbo กาน้ำปากยาว P. fuscicollis และกาน้ำเล็ก P. niger, นกกาน้ำ ก็เรียก.
  • กาน้ำ ๓ น. ไม้ต้นชนิด Canarium album (Lour.) Raeusch. ในวงศ์ Burseraceae ผลคล้ายสมอบางชนิด กินได้ มีถิ่นกําเนิด ในประเทศจีน, สมอจีน ก็เรียก.
  • กินตามน้ำ (สำ) ก. รับของสมนาคุณที่เขาเอามาให้โดยไม่ได้เรียกร้อง มักใช้แก่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ.
  • กินน้ำ (ประมง) ก. มีท้องเรือจมลึกลงไปในน้า เช่น เรือกินน้ำตื้น เรือกินน้ำลึก.
    • กินน้ำกินท่า (ปาก, ซ้อน) ก. ดื่มน้ำ, ดื่มน้ำดื่มท่า ก็เรียก.
    • กินน้ำตา (สํา) ก. ร้องไห้, เศร้าโศก.
    • กินน้ำตาต่างข้าว (สำ) ก. ร้องไห้เศร้าโศกจนไม่เป็นอันกิน.
    • กินน้ำใต้ศอก (สํา) ก. จําต้องยอมเป็นรองเขา, ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า, มักหมายถึงเมียน้อยที่ต้องยอมลงให้แก่เมียหลวง.
    • กินน้ำพริกถ้วยเก่า (สำ) ก. อยู่กับเมียคนเดิม.
    • กินน้ำพริกถ้วยเดียว (สํา) ก. อยู่กับเมียคนเดียว.
    • กินน้ำไม่เผื่อแล้ง (สํา) ก. มีอะไรใช้หมดทันทีไม่คิดถึงวันข้างหน้า.
    • กินน้ำเห็นปลิง (สํา) ก. รู้สึกตะขิดตะขวงใจเหมือนจะกินน้ำเห็นปลิงอยู่ในน้ำ ก็กินไม่ลง.
    • เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง (สํา) ก. เกลียดตัวเขา แต่อยากได้ผลประโยชน์จากเขา, มักใช้เข้าคู่กับ เกลียดตัวกินไข่ ว่า เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง.
  • โกฐน้ำเต้า น. เรียกเหง้าและรากแห้งของพืช ๖ ชนิด ในสกุล Rheum วงศ์ Polygonaceae เช่น ชนิด R. officinale Baillon., R. palmatum L., น้ำเต้า ก็เรียก.
  • ขนมผสมน้ำยา (สํา) ว. พอดีกัน จะว่าข้างไหนดีกว่ากันก็ไม่ได้.
  • ขนานน้ำ น. ท่าที่เอาเรือ ๒ ลํามาจอดเทียบเคียงกันแล้วปูกระดานเพื่อให้ ขึ้นลงสะดวก.
  • ข่อยน้ำ น. ไม้ต้นขนาดย่อมชนิด Streblus taxoides (Heyne) Kurz ในวงศ์ Moraceae ขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ลําต้นและกิ่งก้านมักงอหัก ไปมา ใบเกลี้ยง ไม่สากคาย, ข่อยหยอง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ขี้แรด.
  • ขันน้ำพานรอง น. ขันนํ้าที่มีพานรองรับ.
  • ขาดน้ำใจ ก. ไม่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่.
  • ข้ามน้ำข้ามทะเล, ข้ามน้ำข้ามท่า (สํา) ก. ต้องฟันฝ่าอุปสรรคและความลําบากต่าง ๆ กว่าจะได้ ผลสําเร็จ.
  • ข้าวต้มน้ำวุ้น น. ของหวานชนิดหนึ่ง ทําด้วยข้าวเหนียวห่อใบตองเป็นรูป สามเหลี่ยม ต้มสุก กินกับนํ้าเชื่อม.
  • ข้าวผอกกระบอกน้ำ น. ของกินเล็ก ๆ น้อย ๆ และมีกระบอกนํ้าเล็ก ๆ กรอกนํ้า แขวนกิ่งไม้ผูกไว้กับบันไดเรือน ใช้เซ่นผีในเทศกาลตรุษ.
  • ขุนน้ำ น. สายนํ้าที่ไหลจากยอดเขา.
  • ขุนน้ำขุนนาง (ปาก, ซ้อน) น. ขุนนาง.
  • เขตอิ่มน้ำ (ธรณี) น. เขตหรือส่วนชั้นใต้ดินที่มีน้ำบรรจุอยู่เต็มช่องว่างระหว่างเม็ดดิน. (อ. phreatic zone; saturated zone; zone of saturation). [1]
  • ไขน้ำ ก. ปล่อยนํ้าที่ขังอยู่ให้ไหล เช่น ไขนํ้าเข้านา.
  • ไข่น้ำค้าง น. ไข่ขาวส่วนที่เป็นนํ้าใส ๆ ที่ติดอยู่กับเปลือกด้านป้าน.
  • ไข่น้ำ น. ไม้น้ำชนิด Wolffia globosa (Roxb.) Hartog et Plas ในวงศ์ Lemnaceae เกาะกันเป็นกลุ่ม ลอยเหนือน้ำ เป็นเม็ดเขียว ๆ กลม ๆ เล็ก ๆ ขนาดเม็ดทราย ไม่มีราก เป็นพืชขนาดเล็กที่สุดในจำพวกพืชมีดอก กินได้, ไข่แหน หรือ ผำ ก็เรียก.
  • คลองส่งน้ำ น. ลํานํ้าที่ขุดขึ้นเพื่อใช้ในการชลประทาน.
  • คลื่นใต้น้ำ ๑ น. คลื่นในมหาสมุทรที่มีช่วงคลื่นยาวสมํ่าเสมอและยอดเรียบ เคลื่อนตัวมาจากแหล่งกําเนิดที่อยู่ไกลมาก ชาวเรือถือเป็น สัญญาณบอกเหตุว่าจะเกิดพายุ.
  • คลื่นใต้น้ำ ๒ (สํา) น. โดยปริยายใช้เปรียบกับ เหตุการณ์ที่กรุ่นอยู่ภายในพร้อมที่จะเกิดเหตุการณ์รุนแรง แต่ภายนอกดูเสมือนสงบเรียบร้อย.
  • คว้าน้ำเหลว (สํา) ก. ไม่ได้ผลตามต้องการ.
  • ค่าน้ำ (โบ) น. อากรจับสัตว์นํ้า, เงินที่ต้องเสียภาษีในการที่มีเครื่องมือจับสัตว์นํ้า.
  • ค่าน้ำเงิน (ดู น้ำเงิน ๑).
  • ค่าน้ำนม ๑ น. พระคุณของพ่อแม่ที่ได้เลี้ยงดูมา เช่น บวชตอบแทนค่าน้ำนม, มีเพลงชื่อและความหมายเดียวกันนี้.
  • ค่าน้ำนม ๒ น. เงินที่ฝ่ายชายต้องจ่ายให้แก่บิดามารดาฝ่ายหญิงในการสู่ขอเพื่อ ตอบแทนเป็นค่าที่ได้เลี้ยงดูมา.
  • ค่าน้ำนม ๓ (โบ) นิยมใช้เข้าคู่กับคำ ข้าวป้อน เป็น ค่าน้ำนมข้าวป้อน เช่น ให้คิดเอาค่าน้ำนมเข้าป้อนค่าเลี้ยงรักษาแก่ มันแลชายซึ่งภาเอาหญิงไปเลี้ยงนั้นให้มันช่วยหญิงเสียกึ่งหนึ่ง. (สามดวง).
  • เครือเขาน้ำ น. ไม้เถาชนิด Tetrastigma lanceolarium Planch. ในวงศ์ Vitaceae ขึ้นในป่าดิบ ลําต้นตอนบนแบนเป็นร่อง ตอนล่างค่อนข้างกลม อุ้มนํ้า นํ้าในลําต้นกินได้.
  • เครื่องอังน้ำ (วิทยา) น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยหม้อต้มนํ้าทําด้วยโลหะ มีฝาเป็นแผ่นวงแหวนขนาดต่างกันหลาย ๆ วงวางซ้อนเหลื่อมกัน ใช้สําหรับส่งถ่ายความร้อนให้แก่สิ่งใดสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยวิธีตั้งสิ่งนั้น บนช่องว่างของแผ่นฝา แล้วต้มนํ้าให้ร้อนเพื่อให้ไอนํ้าร้อนส่งถ่ายความร้อนให้สิ่งนั้น. (อ. water bath).
  • เงินน้ำห้าน้ำหก (โบ) น. เงินเนื้อไม่บริสุทธิ์ เพราะมีทองแดงปนติดอยู่บ้าง.
  • จิงโจ้น้ำ น. ชื่อแมลงพวกมวนในวงศ์ Gerridae หรือ Gerrididae ลําตัวลีบและยาว โดยทั่วไปยาว ๑-๒ เซนติเมตร มีทั้งพวกที่มีปีกซึ่งอาจสั้นหรือยาวหรือ ไม่มีปีก ขาคู่หน้าสั้นใช้จับสัตว์เล็ก ๆ กิน ขาคู่กลางและคู่หลังยาวกว่า ลําตัวมาก ที่ปลายขามีขนละเอียดปกคลุมแน่น สามารถวิ่งไปตามผิวนํ้าได้ อาศัยตามแหล่งนํ้าต่าง ๆ มีหลายชนิด ที่พบบ่อย ๆ ตามสระมักเป็นพวก ที่อยู่ในสกุล Limnogonus, จิงโจ้ ก็เรียก.
  • จุดน้ำค้าง (วิทยา) น. อุณหภูมิที่ไอนํ้าในอากาศเกิดการอิ่มตัวและเริ่มควบแน่นเป็น หยดนํ้า. (อ. dew point).
  • จุดลูกน้ำ น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้, สำหรับคั่นวรรคตอนของข้อความ, จุลภาค ก็เรียก.
  • เจ็บช้ำน้ำใจ ก. เจ็บใจ, สะเทือนใจ.
  • ชอบน้ำ, ดูดน้ำ (เคมี) ว. . (อ. hydrophilic).
  • ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน (สํา) ก. นําศัตรูเข้าบ้าน.
  • ชักแม่น้ำทั้งห้า (สํา) ก. พูดจาหว่านล้อมยกยอบุญคุณเพื่อขอสิ่งที่ประสงค์ เช่น เถ้าก็พูดจาหว่านล้อมด้วยคํายอ ชักเอาแม่นํ้าทั้งห้าเข้ามาล่อ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  • ช้างน้ำ ๑ น. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hippopotamidae ใช้ชีวิต ส่วนใหญ่อยู่ในนํ้ามากกว่าบนบก หนังหนาสีนํ้าตาล ริมฝีปากหนา ฟันหน้าและเขี้ยวยาวมาก ถิ่นกําเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา มี ๒ ชนิดคือชนิด Hippopotamus amphibius หนักประมาณ ๒,๐๐๐ กิโลกรัม จมูก หู และตาอยู่ตอนบนของหัว เหงื่อสีแดงเรื่อ ๆ และชนิด ฮิปโปโปเตมัสแคระ Choeropsis liberiensis ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าชนิดแรกมาก คือ หนักประมาณ ๒๐๐ กิโลกรัม ตาอยู่ด้านข้าง เหงื่อใส, ฮิปโปโปเตมัส ก็เรียก. (อ. hippopotamus).
  • ช้างน้ำ ๒ น. สัตว์ในนิยาย มีรูปร่างเหมือนช้าง มีงวงและงาคล้ายช้าง หางเป็นปลา, กุญชรวารี ก็เรียก.
  • ชาวน้ำ น. ชนชาติเดิมพวกหนึ่ง อยู่ทางทะเลด้านตะวันตกของแหลม มลายู, ฉลาง หรือชาวเล ก็เรียก.
  • เช็ดน้ำ น. เรียกวิธีหุงข้าวด้วยการรินนํ้าข้าวออกจากหม้อเพื่อให้แห้งว่า การหุงเช็ดนํ้า.
  • แช่งน้ำ น. พิธีทํานํ้าให้ศักดิ์สิทธิ์ในการถือนํ้า.
  • ซัดน้ำ (โบ) ก. สาดนํ้าในพิธีแต่งงานบ่าวสาว.
  • ซาวน้ำ น. เครื่องกินกับขนมจีนปนกันหลายสิ่ง มีกุ้งแห้งป่น กระเทียมซอย สับปะรด หรือส้มต่าง ๆ เป็นต้น มักกินกับแจงลอน เรียกว่า ขนมจีน ซาวนํ้า.
  • ดอกไม้น้ำ น. ดอกไม้ไฟที่จุดให้วิ่งไปบนผิวนํ้า.
  • ดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ ท่องเที่ยวเป็นคู่เฉพาะคู่สมรสที่ฉลองแต่งงานหรือครบรอบแต่งงาน. (อ. honey-moon).
  • ได้แกงเทน้ำพริก (สํา) ก. ได้ใหม่ลืมเก่า.
  • ตกน้ำตกท่า (ปาก, ซ้อน) ก. ตกน้ำ.
  • ตกน้ำมัน ว. เรียกเสาหรือประตูเรือนที่มีนํ้ามันซึมออกมาว่า เสาตกนํ้ามัน หรือประตูตกนํ้ามัน.
  • ตกน้ำไม่ว่าย (สํา) ก. ไม่ช่วยตัวเอง.
  • ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ (สํา) ก. ตกอยู่ในที่คับขันอย่างไรก็ไม่เป็นอันตราย, เป็นคําเปรียบเทียบ หมายถึง ตกอยู่ที่ใดก็ไม่สูญหาย เช่น ของหลวงตกนํ้าไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้.
  • ต้นน้ำ น. แหล่งที่เกิดของลํานํ้า, ยอดนํ้า หรือ ต้นน้ำลำธาร ก็เรียก.
  • ตลาดท้องน้ำ น. ตลาดนํ้า.
  • ตลาดน้ำ น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ ทางนํ้า มีเรือเป็นพาหนะบรรทุกสิ่งของ, ตลาดท้องนํ้า ก็ว่า.
  • ต่อมน้ำ ๑ น. ฟองอากาศที่ผุดขึ้นปุด ๆ เหนือนํ้า.
  • ต่อมน้ำ ๒ น. เม็ดตุ่มที่ขึ้นตามตัว ภายในมีน้ำเหลือง.
  • ต่อมน้ำ ๓ น. ดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวตาจระเข้ ดาวไต้ไฟ หรือดาวเสือ ก็เรียก.
  • ตะกอนปากน้ำ, แผ่นดินโก่งตัว (ธรณี) น. . (เทียบ อ. warp).
  • ตะไคร้น้ำ น. ไม้พุ่มชนิด Homonoia riparia Lour. ในวงศ์ Euphorbiaceae ใบเรียว เล็ก มักขึ้นตามซอกหินในลําธารและริมนํ้า.
  • ตะบันน้ำกิน (สำ) ว. แก่มากจนเคี้ยวของกินไม่ไหว.
  • ตะพาบน้ำ น. เต่านํ้าจืดกระดองอ่อนหลายสกุลในวงศ์ Trionychidae กระดอง อ่อนนิ่มมีเชิงแผ่กว้าง ตีนเป็นแผ่นแบนคล้ายพาย หลายชนิดมีจมูกยื่นยาว ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ตะพาบชนิด Amyda cartilageneus ตะพาบม่านลาย Chitra chitra, ตะพาบ กริว กราว จราว จมูกหลอด หรือปลาฝา ก็เรียก.
  • ตักน้ำรดหัวตอ (สํา) ก. แนะนําพรํ่าสอนเท่าไรก็ไม่ได้ผล, ตักนํ้ารดหัวสาก ก็ว่า.
  • ตักน้ำรดหัวสาก (สํา) ก. แนะนําพรํ่าสอนเท่าไรก็ไม่ได้ผล เช่น นํ้ารดหัวสาก สอนเด็กปากมาก เลี้ยงลูกใจแข็ง. (สุบิน กลอนสวด), ตักนํ้ารดหัวตอ ก็ว่า.
  • ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา (สํา) ก. ให้รู้จักฐานะของตนและเจียมตัว.
  • ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย.
  • ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ (สํา) ลงทุนไปโดยได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มทุน, ใช้จ่าย ทรัพย์ในทางที่ไม่เกิดประโยชน์, เสียทรัพย์ไปโดย ไม่ได้ประโยชน์อะไร.ตำหนักน้ำ น. ตําหนักที่ปลูกในนํ้า.
  • ตีท้ายน้ำ (สํา) ก. เข้าทําในตอนหลังหรือในระยะหลัง.
  • ตุ๊กต่ำน้ำทอง น. เครื่องยาไทยชนิดหนึ่ง
  • ถ่มน้ำลายรดฟ้า (สํา) ก. ประทุษร้ายต่อสิ่งที่สูงกว่าตน ตัวเองย่อมได้รับผลร้าย.
  • ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ก. ดื่มนํ้าสาบานถวายพระเจ้าแผ่นดิน, ถือนํ้า ก็เรียก.
  • ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ (สํา) น. สิ่งที่มีอยู่หรือเกิดตามธรรมชาติอันอาจนํามาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้.
  • ทองนพคุณเก้าน้ำ น. ทองนพคุณ.
  • ทอดน้ำ ก. วางนํ้าให้สัตว์เช่นช้างม้าเป็นต้นกิน.
  • ทันน้ำ ว. ให้ทันคราวนํ้าขึ้น.
  • ทันน้ำทันฝน ว. ให้ทันหน้านํ้าหน้าฝน, ให้ทันฤดูกาล.
  • ท้ายน้ำ น. บริเวณที่ระบายนํ้าออกทางด้านล่างของตัวเขื่อน, ท้ายเขื่อน ก็เรียก.
  • ทาสน้ำเงิน (ดู น้ำเงิน ๑).
  • เทน้ำเทท่า (ปาก) ว. คล่อง, รวดเร็ว, มักใช้ประกอบคํา ขาย เป็นขายดีอย่าง เทนํ้าเทท่า.
  • แท็งก์น้ำ น. ถังนํ้าขนาดใหญ่ มักทําด้วยเหล็กชุบสังกะสี.
  • นาคเล่นน้ำ (ดู พวยนํ้า).
  • น่านน้ำ น. พื้นที่ทางนํ้า, เขตทางนํ้า.
  • น่านน้ำอาณาเขต (การเมือง, กฎ) น. น่านนํ้าต่าง ๆ รวมทั้งทะเลอาณาเขตและน่านนํ้าที่อยู่ภายใน แผ่นดิน ซึ่งอยู่ภายใต้อธิปไตยของรัฐใดรัฐหนึ่ง. (เทียบ อ. territorial waters).
  • นาฬิกาน้ำ น. อุปกรณ์ที่ใช้สําหรับวัดเวลาโดยอาศัยการหยดหรือการไหลของนํ้า ที่มีปริมาณตามที่กําหนดไว้.
  • บวมน้ำ น. ภาวะที่มีนํ้าระหว่างเซลล์หรือภายในเซลล์มากเกินปรกติอย่างใด อย่างหนึ่ง หรือทั้ง ๒ อย่าง, โดยทั่วไปหมายถึงภาวะที่มีนํ้าอยู่ใต้ ผิวหนังมากเกินปรกติ และอาจพบได้ในอวัยวะอื่น เช่น สมอง ปอด. (เทียบ อ. edema, oedema).
  • บ่อน้ำร้อน น. บ่อที่มีนํ้าผุดขึ้นมาจากใต้ดิน และมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิ ของร่างกายมนุษย์ เกิดจากนํ้าไหลซึมซาบลงไปใต้ดินลึกมาก เมื่อไปกระทบอุณหภูมิสูงทําให้นํ้าร้อนจัดขึ้นและขยายตัวหรือกลายเป็นไอเกิดแรงดันตัวเองขึ้นมาตามรอยแยกของชั้นหินและดินขึ้นมาสู่ผิวดิน ทั้งละลายเอาแก๊ส แร่ธาตุ และสารเคมีที่มีอยู่ตามชั้นดินต่าง ๆ ติดมาด้วย ที่พบเสมอมักจะเป็นธาตุกํามะถันและแก๊สไข่เน่า นํ้าในบ่อนํ้าร้อนบางแห่งอาจมีสมบัติทางยาได้.
  • บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น (สํา) ก. รู้จักผ่อนปรนเข้าหากัน มิให้กระทบกระเทือนใจกัน, รู้จักถนอมนํ้าใจไม่ให้ขุ่นเคืองกัน, บัวไม่ให้ชํ้า นํ้าไม่ให้ขุ่น ก็ว่า.
  • บ้าน้ำลาย ว. ชอบพูดพล่าม, ชอบพูดเพ้อเจ้อ.
  • บีบน้ำตา ก. แกล้งร้องไห้, ร้องไห้.
  • ใบอวบน้ำ (พฤกษ) น. . (เทียบ อ. chylophyllous).
  • ประดาน้ำ น. ผู้ชํานาญดํานํ้า.
  • ประตูน้ำ น. ประตูสําหรับควบคุมระดับนํ้าที่ไหลเข้าออก; (กฎ) สิ่งที่สร้างขึ้นในทางนํ้าเพื่อให้เรือแพผ่านทางนํ้าที่มีระดับนํ้าต่างกันได้.
  • ประตูรับน้ำ น. อาคารที่สร้างขึ้นตรงบริเวณคันคลองส่งนํ้า เพื่อรับนํ้าจาก ทางนํ้าอื่นที่อยู่ตามระยะทางของคลองส่งนํ้า.
  • ปล่อยปลาลงน้ำ (สํา) ก. ปล่อยศัตรูไปแล้วเขาจะไม่นึกถึงบุญคุณ, มักใช้เข้าคู่กับ ปล่อยเสือเข้าป่า เป็น ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงนํ้า.
  • ปลาตกน้ำตัวโต (สํา) น. สิ่งที่เสียหรือสูญหายไปมักดูมีค่ามากเกินความเป็นจริง.
  • ปลายน้ำ น. สุดลํานํ้า.
  • ปลูกด้วยน้ำ (พฤกษ) ว. . (อ. hydroponic).
  • ปั้นน้ำเป็นตัว ก. สร้างเรื่องเท็จให้เห็นเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา.
  • ปั๊มน้ำมัน (ปาก) น. สถานีบริการนํ้ามันเชื้อเพลิง, เรียกสั้น ๆ ว่า ปั๊ม.
  • ปากน้ำ น. บริเวณที่แควไหลลงมาบรรจบลำน้ำใหญ่ เช่น ปากน้ำโพ หรือบริเวณที่ลำน้ำใหญ่ไหลลงสู่ทะเลหรือทะเลสาบ เช่น ปากน้ำเจ้า พระยา ปากน้ำบางปะกง, บางทีก็ใช้เรียกทางเข้าอ่าวจากมหาสมุทร หรือทะเลสู่ฝั่งด้วย.

ปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม (สํา) ว. ยังเป็นเด็ก.

  • เป็ดน้ำ น. นกในวงศ์ Anatidae ซึ่งมีปากแบน ปลายมน ตีนเป็นพังผืด ว่ายนํ้าเก่ง กินพืชและสัตว์นํ้า บินได้เร็วมาก ตัวผู้มักจะมีขนสี สวยกว่าตัวเมีย มักอยู่เป็นฝูง มีหลายชนิด เช่น เป็ดหอม หรือเป็ดหางแหลม Anas acuta เป็ดลาย A. querquedula เป็ดแดง Dendrocygna javanica.
  • เป็นน้ำ ว. คล่อง เช่น พูดเป็นนํ้า.
  • เป็นน้ำเป็นนวล (ซ้อน) ว. มีผิวพรรณผุดผ่องสวยงาม, มีน้ำมีนวล ก็เรียก.
  • เป็นน้ำยาเย็น ว. จืดชืด.
  • เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ว. พร้อมเพรียงกัน, พร้อมใจกัน.
  • แปล้น้ำ ก. ปริ่มน้ำ เช่น เรือแปล้น้ำ.
  • โป่งน้ำ น. ช่องดินที่มีนํ้าพุขึ้นมา.
  • โปโลน้ำ น. กีฬาชนิดหนึ่งที่เล่นในน้ำ โดยมีผู้เล่นซึ่งเป็นนักว่ายน้ำ ฝ่ายละ ๗ คน พาลูกบอลด้วยการโยนหรือขว้างลูกบอลให้ เข้าประตูของฝ่ายตรงข้าม. (อ. water polo).
  • ไปอย่างน้ำขุ่น ๆ (สํา) ก. พูดแก้ตัวหลบเลี่ยงไปอย่างข้าง ๆ คู ๆ.
  • ผิดน้ำ ๑ ก. ดื่มนํ้าจากแหล่งที่ไม่เคยกินจนทำให้ไม่สบาย; อาการที่ปลาหายใจไม่สะดวกเมื่อปล่อยลงไปในแหล่งน้ำที่แปลกไป เรียกว่า ปลาผิดน้ำ.
  • ผิดน้ำ ๒ ก. ทำผิดจากคำปฏิญาณเมื่อดื่มน้ำสาบาน ทำให้ได้รับผลร้าย.
  • ผิวน้ำ น. ส่วนบนสุดของนํ้า.
  • ผีเสื้อน้ำ น. เทวดาที่รักษาน่านนํ้า, เสื้อนํ้า ก็เรียก.
  • แฝดน้ำ น. ภาวะการตั้งครรภ์ที่มีปริมาณนํ้าครํ่ามากกว่าปรกติ.
  • พรมน้ำมัน น. เครื่องลาดชนิดหนึ่ง ทําด้วยผงไม้ก๊อกผสมนํ้ามันลินสีด สีและสารเคมีที่ทําให้นํ้ามันลินสีดแห้งแข็งตัวเร็ว แล้วอัดให้เป็นแผ่น ใช้แผ่นสักหลาดเนื้อหยาบชุบแอสฟัลต์อัดทับด้านหนึ่งแล้วอบให้ร้อนจนแข็งตัวแห้งสนิททั้งแผ่น จึงนํามาตกแต่งอีกด้านหนึ่งให้มีผิวเรียบเป็นมัน, เสื่อนํ้ามัน ก็เรียก.
  • พรายน้ำ น. แสงเรืองในที่มืด ปรากฏที่ตัวเลขหน้าปัดนาฬิกาหรือที่สวิตช์ไฟฟ้าบางชนิด เกิดขึ้นได้เพราะสิ่งเหล่านั้นฉาบหรือผสมด้วยสารเคมีที่มีสมบัติเปล่งแสงเรืองออกมาได้หลังจากที่ถูกแสงสว่างอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง สารเคมีประเภทนี้ เช่น แคลเซียมซัลไฟด์ (CaS) แบเรียมซัลไฟด์ (BaS) ที่มีโลหะบางชนิดเจือปน.
  • พริกน้ำส้ม น. พริกดอง.
  • พวยน้ำ น. นํ้าที่พุ่งเป็นลําขึ้นไปในอากาศเนื่องจากลมงวง, นาคเล่นนํ้า ก็ว่า.
  • พายเรือทวนน้ำ (สํา) ก. ทําด้วยความยากลําบาก.
  • พูดคล่องเหมือนล่องน้ำ (สํา) ก. พูดไม่ติดขัด เช่น สารพัดพูดคล่องเหมือนล่องนํ้า. พูดคล่องเป็นล่องนํ้า ก็ว่า. (ไกรทอง).
  • พูดเป็นน้ำไหลไฟดับ, พูดเป็นไฟ ก. พูดคล่องเหลือเกิน.
  • พูดอย่างมะนาวไม่มีน้ำ (สํา) ก. พูดห้วน ๆ.
  • เพชรน้ำค้าง น. แก้วสีขาว.
  • เพชรน้ำหนึ่ง, เพชรน้ำเอก (สำ) ว. ดีเป็นพิเศษยอดเยี่ยม.
  • ฟอกน้ำตาล ก. เอาเปลือกไข่ใส่ลงไปในขณะเชื่อมน้ำตาล เพื่อให้น้ำเชื่อม ใสสะอาด.
  • ฟองน้ำ ๑ น. ต่อมนํ้าที่ผุดหรือปุดขึ้นเป็นรูปโป่ง ๆ อาจเป็นต่อมเดียว หรือรวมกันเป็นแพก็ได้.
  • ฟองน้ำ ๒ น. สัตว์นํ้าไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัม Porifera มีเนื้อเยื่อ ๒ ชั้นลักษณะเป็นรูพรุน พบทั้งในทะเลและนํ้าจืด, ที่พบในนํ้าจืดเรียก ฟองนํ้านํ้าจืด, จําพวกที่มีโครงสร้างอ่อนนุ่มซึ่งพบในทะเล นํามาใช้ถูตัวได้.
  • ฟองน้ำ ๓ น. โดยปริยายเรียก สิ่งที่มีลักษณะเป็นรูพรุนอ่อนนุ่ม และซับนํ้าได้ดี คล้ายฟองน้ำที่มีโครงสร้างอ่อนนุ่ม แต่ทำจากวัสดุสังเคราะห์.
  • ฟันน้ำนม น. ฟันชุดแรก.
  • ฟายน้ำตา ก. เอามือเช็ดน้ำตาที่อาบหน้าอยู่.
  • ฟูมน้ำ ก. ลุยนํ้า.
  • ฟูมฟายน้ำตา ก. เอามือทั้ง ๒ ข้างเช็ดน้ำตาที่ไหลอาบหน้าเพราะความเศร้าโศก เสียใจอย่างหนัก.
  • ภาวะขาดน้ำ (แพทย์) น. . (อ. hydropenia; hypohydration).
  • มะกอกน้ำ น. ไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Elaeocarpus hygrophilus Kurz ในวงศ์ Elaeocarpaceae มักขึ้นริมนํ้า ผลเล็กรี รสเปรี้ยวฝาด ใช้ดองเป็นอาหาร.
  • มะนาวไม่มีน้ำ (ดู พูดอย่างมะนาวไม่มีน้ำ).
  • ม้าน้ำ ๑ น. ปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Hippocampus วงศ์ Syngnathidae ลําตัวอ้วน หัวพับเข้าหาลําตัว ปากเป็นท่อยาวรวมกัน ทําให้ส่วนหัว ดูคล้ายม้า ส่วนท้ายของลําตัวเรียวยาว มีครีบหลังขนาดใหญ่ที่ โคนหาง ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกันเป็นเหลี่ยมเป็นปล้อง ตลอดทั้งตัวสีนํ้าตาล บางชนิดคาดด้วยแถบสีเข้มกว่าหรือมีจุดสีดํา บางส่วนของลําตัว พบอาศัยตามแนวหินปะการัง ลําตัวตั้ง ใช้ส่วน หางพันเกาะวัตถุใต้นํ้า ตัวผู้ทําหน้าที่ฟักไข่ซึ่งเก็บไว้ในถุงหน้าท้อง ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร.
  • ม้าน้ำ ๒ น. สัตว์ในวรรณคดี ท่อนบนเป็นม้า ท่อนล่างเป็นปลา, สินธพนัทธี ก็เรียก.
  • มิดน้ำ ว. อาการที่น้ำท่วมหัวเรือจนมิด เช่น หัวเรือมิดน้ำ.
  • มีแต่น้ำ (ปาก) (ดู น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง).
  • มีน้ำมีนวล (ปาก, ซ้อน) ว. มีสง่าราศี, มีผิวพรรณผ่องใส, เป็นน้ำเป็นนวล ก็เรียก.
  • มือไม่พาย เอาตีนราน้ำ, มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ คนที่ลงมือทำเป็นคนที่ ๒ รองจากมือต้น.
  • เม็ดน้ำค้าง น. ส่วนที่มีลักษณะกลม ๆ คล้ายเม็ดน้ำค้างอยู่ตรงปลายยอดเจดีย์ ยอดปราสาท เป็นต้น, หยาดน้ำค้าง ก็เรียก.
  • แม่น้ำ น. ลํานํ้าใหญ่ซึ่งเป็นที่รวมของลําธารทั้งปวง.
  • แมวน้ำ น. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในวงศ์ Phocidae ซึ่งไม่มีใบหู และวงศ์ Otaliidae ซึ่งมีใบหู รูปร่างอ้วนใหญ่ มีหนวดคล้ายแมว ขาคล้ายพาย คู่หน้าสั้น คู่หลังลู่ไปตามลําตัว อาศัยอยู่ตามชายฝั่ง หากินในนํ้าเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว ที่พบทั่วไปคือชนิด Phoca vitulina.
  • ไม่กี่น้ำ (ปาก) ว. ไม่ช้า, ไม่นาน, ไม่เท่าไร, เช่น เก่งไปได้ไม่กี่น้ำหรอก.
  • ไม่เห็นน้ำตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอกก่งหน้าไม้ (สำ) ว. ด่วนทําไปทั้ง ๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาอันสมควร.
  • ไม้ผัดน้ำตาล น. ไม้ที่ใช้หมุนผัดน้ำตาลโตนดให้ขาว.
  • ยอดน้ำ (ภูมิ) (ดู ต้นนํ้า).
  • ยาประสะน้ำนม น. ยาบำรุงแม่ลูกอ่อนให้มีน้ำนมมาก.
  • รดน้ำ ๑ น. วิธีการเขียนจิตรกรรมเป็นลวดลายสีทองบนพื้นลงรักหรือทาชาด เรียกว่า ลายปิดทองรดนํ้า, ต่อมาเรียกสั้นลงเป็น ลายรดนํ้า.
  • รดน้ำ ๒ ก. หลั่งนํ้าในพิธีต่าง ๆ เช่น รดน้ำบ่าวสาวในพิธีแต่งงาน รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์.
  • รถสะเทินน้ำสะเทินบก น. รถที่ใช้งานได้ทั้งในน้ำและบนบก.
  • ร่องน้ำ (ธรณี, กฎ) น. ทางนํ้าลึกที่เรือเดินได้, ลำน้ำ ช่อง ร่อง หรือ ช่อง ก็เรียก. (เทียบ อ. channel).
  • ร้อยเอ็ดเจ็ดพระนคร, ร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ, ร้อยเอ็ดเจ็ดหัวเมือง (ปาก) ว. ทั่วทุกแห่งหน.
  • ระเบิดน้ำตา น. ลูกระเบิดซึ่งบรรจุสารเคมีที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง แก่เยื่อตา ทําให้นํ้าตาไหล ลืมตาไม่ขึ้นอยู่ชั่วขณะ.
  • ระดับน้ำใต้ดิน (ธรณี) น. . (เทียบ อ. water table).
  • ระบบการระบายน้ำ (ธรณี) น. . (อ. drainage system).
  • ราน้ำ ก. ต้านน้ำ เช่น เอาเท้าราน้ำ เอาไม้ราน้ำ.
  • รูหยาดน้ำ (พฤกษ) น. . (อ. hydathode; water pore).
  • เรือดำน้ำ น. เรือรบที่สามารถปฏิบัติการในขณะที่อยู่ใต้ผิวน้ำได้.
  • โรคกลัวน้ำ (แพทย์) น. โรคติดต่อร้ายแรงในระบบประสาท โดยเฉพาะระบบประสาทส่วนกลาง ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เกิดจากเชื้อเรบีส์ไวรัส, โรคพิษสุนัขบ้า หรือ (ถิ่น-อีสาน) โรคหมาว้อ ก็เรียก. (เทียบ อ. rabid).
  • ลอยน้ำ ๑ ก. หล่อน้ำ, เอาภาชนะใส่ของไปตั้งไว้ในน้ำไม่ให้มดขึ้น เช่น เอาขนมใส่ถ้วยไปลอยน้ำไว้
  • ลอยน้ำ ๒ ก. เอาดอกไม้หอมลอยลงในน้ำ เพื่ออบน้ำให้หอม เช่น เอาดอกมะลิลอยน้ำ.
  • ลายน้ำ น. ลวดลายหรือภาพในเนื้อกระดาษที่ทําขึ้นพร้อม ๆ กับ กระดาษจะมองเห็นได้ชัดเมื่อยกกระดาษนั้นขึ้นส่องกับ แสงสว่าง.
  • ลายน้ำทอง น. ลายหรือรูปภาพซึ่งเขียนเส้นทองบนพื้นสีหรือเขียนสี บนพื้นทองบนเครื่องกระเบื้อง เช่นจาน ชาม กระโถน.
  • ลิ้นกระดาษทราย น้ำลายเชลแล็ก (สำ) ว. ประจบประแจง, สอพลอ.
  • ลุ่มน้ำ น. บริเวณที่ลุ่มซึ่งมีแม่น้ำสำคัญและสาขาไหลผ่าน เช่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา.
  • ลูกน้ำ ๑ น. ลูกอ่อนของยุงที่ยังอาศัยอยู่ในนํ้า เมื่อแก่เข้าหลุดจาก ปลอกเป็นยุง
  • ลูกน้ำ ๒ น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้, สำหรับคั่น วรรคตอนของข้อความ เรียกว่า จุดลูกนํ้า หรือจุลภาค.
  • ลูกน้ำเค็ม (ปาก) น. คนที่เกิดหรือโตอยู่ในแถบชายทะเล; ทหารเรือ.
  • ลูกน้ำหนัก น. ลูกกลมทำด้วยเหล็ก ใช้ในการเล่นกรีฑาทุ่มน้ำหนัก.
  • เลี้ยงน้ำใจ ก. ถนอมน้ำใจ, ประคับประคองไว้ไม่ให้เสียน้ำใจ.
  • เลือดข้นกว่าน้ำ (สำ) น. ญาติพี่น้องย่อมดีกว่าคนอื่น.
  • ไล่น้ำ น. ส่วนหนึ่งของพิธีพราหมณ์ทําในเดือน ๑๑ โดยมุ่งหมาย ให้นํ้าลด.
  • ว่านน้ำ น. ไม้ล้มลุกชนิด Acorus calamus L. ในวงศ์ Araceae ชอบขึ้นอยู่ในที่ชื้นแฉะ เหง้ามีกลิ่นฉุนแรง, พายัพเรียก กะส้มชื่น.
  • ว่ายน้ำหาจระเข้ (สํา) ก. เสี่ยงเข้าพบทั้ง ๆ ที่รู้ว่าจะเป็นอันตราย.
  • สกีน้ำ น. กีฬาอย่างหนึ่งคล้ายสกี แต่เล่นในนํ้า ใช้เรือยนต์ลาก. (อ. water ski).
  • ส่งข้าวส่งน้ำ, ส่งปิ่นโต ก. เอาข้าวปลาอาหารเป็นต้นไปให้แก่ผู้ต้องหาหรือนักโทษ เช่น ถ้าติดตะรางใครจะส่งข้าวส่งน้ำให้ ญาติติดคุกจึงต้องส่งปิ่นโตให้เป็นประจำ.
  • สมน้ำสมเนื้อ ว. พอเหมาะพอดีกัน เช่น ขิงก็ราข่าก็แรง สมน้ำสมเนื้อ กันดีแล้ว.
  • สมน้ำหน้า ว. คําแดกดันหรือซํ้าเติมว่าควรได้รับผลร้ายเช่นนั้น เช่น ขี้เกียจท่องหนังสือ สอบตกก็สมน้ำหน้า, (ปาก) สม ก็ว่า เช่น สมแล้วที่สอบตกเพราะขี้เกียจนัก.
  • สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ (สํา) ก. สอนสิ่งที่เขารู้ดีหรือที่เขาถนัดอยู่แล้ว.
  • สะเด็ดน้ำ ก. ทำให้น้ำหยุดหยดหรือหยุดไหลโดยวิธีรินหรือสงเป็นต้น เช่น เช็ดน้ำข้าวให้สะเด็ดน้ำ สงถั่วงอกให้สะเด็ดน้ำ.
  • สะเทินน้ำสะเทินบก ๑ ว. ที่อยู่ได้หรือปฏิบัติการได้ทั้งในนํ้าและบนบกเช่น การรบสะเทินนํ้าสะเทินบก รถสะเทินน้ำสะเทินบก เรือสะเทินนํ้าสะเทินบก เครื่องบินสะเทินนํ้าสะเทินบก.
  • สะเทินน้ำสะเทินบก ๒ ว. เรียกสัตว์จําพวกที่อยู่ได้ทั้งในนํ้าและบนบก เช่น กบ คางคก อึ่งอ่าง ว่า สัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบก.
  • สันดอนปากน้ำ (ธรณี) น. . (เทียบ อ. channel-mouth bar).
  • สันปันน้ำ น. แนวสันเขาหรือสันเนินซึ่งเป็นแนวเขตแบ่งระหว่างลุ่มน้ำ, สันเขา หรือบริเวณที่สูงซึ่งแบ่งนํ้าให้ไหลไปลงแม่นํ้าลําธารที่อยู่แต่ละด้าน ของสันเขาหรือบริเวณที่สูงนั้น มักปรากฏเป็นแนวตอนบนสุดของ ทิวเขาซึ่งแบ่งเขตระหว่างลุ่มนํ้าที่มีทิศทางการไหลตรงข้ามกัน.
  • สาดน้ำรดกัน (สํา) ก. กล่าวให้ร้ายซึ่งกันและกัน, ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่กันและกัน.
  • สายน้ำ น. กระแสนํ้าที่ไหลเห็นเป็นสายยาวไป เช่น เรือล่องลอยไป ตามสายน้ำ.
  • สายน้ำผึ้ง น. ไม้เถาชนิด Lonicera japonica Thunb. ในวงศ์ Caprifoliaceae ดอกสีนวลแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม ใช้ทํายาได้.
  • สาวน้อยเล่นน้ำ น. เพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  • สาวน้อยตกน้ำ น. การละเล่นเสียเงินอย่างหนึ่งในงานวัดที่รับมาจากตะวันตก โดยให้คน (มักเป็นหญิงสาว) นั่งบนคานเหนืออ่างน้ำ เมื่อปาลูกบอลได้ตรงเป้าจะดันให้คานบิดและคนตกลงมาเปียกน้ำ.
  • สินน้ำใจ น. เงินหรือทรัพย์ที่ให้เป็นรางวัล.
  • สีน้ำ น. สีสำหรับระบายชนิดหนึ่ง ใช้น้ำเจือให้ละลายก่อนจะใช้ระบาย.
  • สีน้ำมัน น. สีสำหรับระบายรูปหรือใช้ทาผนังชนิดหนึ่ง ทำขึ้นมาจากผงสีผสมกับน้ำมันลินสีดเป็นต้น มีลักษณะข้นและเหนียวไม่ละลายน้ำ.
  • เสียน้ำใจ ก. รู้สึกน้อยใจเนื่องจากอีกฝ่ายหนึ่งไม่เห็นคุณค่าหรือความตั้งใจดีของตนเป็นต้น เช่น เขาอุตส่าห์เอาของมาให้แต่ไม่รับทำให้เขาเสียน้ำใจ.
  • เสียน้ำตา ก. ร้องไห้ เช่น ละครเรื่องนี้เศร้าจริง ๆ ทำให้ฉันต้องเสียน้ำตา คนเลว ๆ อย่างนี้ตายไปก็ไม่น่าจะเสียน้ำตาให้.
  • เสื่อน้ำมัน (ดู พรมนํ้ามัน).
  • เสื้อน้ำ (ดู ผีเสื้อน้ำ).
  • ใส่ตะกร้าล้างน้ำ (สํา) ก. ทําให้หมดราคีหมดมลทิน, ใช้แก่หญิงที่มีราคี ผ่านการร่วมประเวณี เช่น หญิงที่มีราคีแล้ว ถึงจะใส่ตะกร้าล้างน้ำก็ไม่หมดราคีคาว.
  • ใส่หม้อถ่วงน้ำ ก. ใช้เวทมนตร์คาถาเรียกวิญญาณผีใส่หม้อดิน แล้วเอาผ้าขาวปิดปากหม้อ เอาเชือกผูกคอหม้อ เสกคาถาขังวิญญาณไว้ในนั้น แล้วเอาไปถ่วงน้ำเพื่อไม่ให้วิญญาณออกมาอาละวาดอีก.
  • ใส่หม้อลอยน้ำ ก. ขนันศพเด็กทารกแรกเกิดใส่หม้อดิน เอาผ้าขาวปิดปากหม้อพร้อมกับร่ายคาถากำกับ แล้วเอาไปลอยน้ำ.
  • ไส้เป็นน้ำเหลือง (สํา) ว. อดอยากยากแค้น, ไม่มีอะไรกิน.
  • หญ้าน้ำดับไฟ น. ไม้ล้มลุกชนิด Lindenbergia philippensis (Cham.) Benth. ในวงศ์ Scrophulariaceae ต้นและใบมีขน ใบออกตรงข้ามกัน ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อยาว ชอบขึ้นในที่ที่เป็นหินปูน.
  • หน่อไม้น้ำ น. หญ้าชนิด Zizania latifolia (Griseb.) Turcz. ในวงศ์ Gramineae ใบแบนยาว หน่ออ่อนที่เชื้อราลงจะพองออก กินได้.
  • หมอน้ำมัน น. ผู้ชํานาญในการขี่ช้างตกมัน.
  • หม้อน้ำ น. หม้อโลหะขนาดใหญ่ ใช้ต้มนํ้าทําให้เกิดไอนํ้าเดือดที่มีแรงดัน สูงเพื่อหมุนเครื่องจักรเป็นต้น; อุปกรณ์ของเครื่องยนต์บางชนิด สําหรับ บรรจุนํ้าเพื่อระบายความร้อนของเครื่องยนต์.
  • หมาถูกน้ำร้อน, หมาโดนน้ำร้อน (สำ) น. คนที่มีความเดือดร้อน กระวนกระวาย วิ่งพล่าน ไปหาที่พึ่งต่าง ๆ เปรียบเสมือนหมาที่ถูกน้ำร้อนลวก ร้องเสียงดังวิ่งพล่าน ไปด้วยความเจ็บปวดทุรนทุราย.
  • หมายน้ำบ่อหน้า (สํา) ก. มุ่งหวังจะได้สิ่งที่ยังมาไม่ถึง.
  • หมูน้ำ น. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Dugong dugon ในวงศ์ Dugongidae ลําตัวอ้วนกลม เรียวยาวไปทางหาง มีขนเฉพาะที่บริเวณใกล้ปาก รยางค์คู่หน้าเป็นแผ่นคล้ายใบพายไม่เห็นเป็นนิ้ว รยางค์คู่หลังไม่มี หางแผ่เป็นแฉกกว้างแบนลง ตัวอาจยาวได้ถึง ๓ เมตร สีเทาดํา แกมฟ้า อาศัยอยู่ในทะเลชายฝั่ง กินพืชนํ้าพวกหญ้าทะเล เป็น สัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง, พะยูน เงือก หรือ วัวทะเล ก็เรียก.
  • หยาดน้ำค้าง ๑ น. หยดของน้ำค้าง.
  • หยาดน้ำค้าง ๒ น. เครื่องหมายรูปดังนี้ ?, นิคหิต หรือ นฤคหิต ก็เรียก.
  • หยาดน้ำค้าง ๓ (ดู เม็ดน้ำค้าง).
  • หยาดน้ำฟ้า น. นํ้าที่ตกจากบรรยากาศ (ฟ้า) ลงสู่พื้นดินในภาวะที่เป็นนํ้า หรือนํ้าแข็ง เช่น ฝน หิมะ ลูกเห็บ.
  • หยามน้ำหน้า ก. ดูหมิ่นเกียรติ, ดูหมิ่นศักดิ์ศรี.
  • หล่อน้ำ ก. เอาน้ำใส่ภาชนะเพื่อรองรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งกันไม่ให้มดขึ้น เช่น หล่อน้ำขาตู้กับข้าว, เอาสิ่งของบางอย่างใส่ไว้ในภาชนะหนึ่งแล้ววางไว้บนอีกภาชนะหนึ่งซึ่งขังน้ำไว้เพื่อกันไม่ให้มดขึ้น เช่น เอาจานขนมวางบนแก้วที่หล่อน้ำไว้; (โบ) เอาน้ำไปขังไว้ในภาชนะเพื่อใช้ในพระราชพิธีมูรธาภิเษกเป็นต้น.
  • หล่อน้ำมัน ก. เอาไส้ตะเกียงแช่ในตะเกียงหรือภาชนะที่ขังน้ำมันก๊าดหรือน้ำมันมะพร้าวไว้เพื่อจุดให้ไส้ติดไฟอยู่ตลอดเวลาเป็นต้น.
  • ห้วงน้ำ น. ทะเลหรือแม่นํ้าตอนที่กว้างใหญ่.
  • ห้องน้ำ น. ห้องอาบนํ้า, ส้วม.
  • หัวน้ำ น. นํ้าหวานที่อยู่ในตอนบนของรวงผึ้ง.
  • หัวน้ำขึ้น น. นํ้าที่เริ่มไหลขึ้น.
  • หัวน้ำลง น. นํ้าที่เริ่มไหลลง.
  • หัวราน้ำ ว. มากเกินปรกติจนขาดสติ ในความว่า เมาหัวราน้ำ เที่ยวหัวราน้ำ.
  • หินน้ำมัน น. หินดินดานชนิดหนึ่ง สีนํ้าตาลอ่อน มีสารอินทรีย์ที่เรียกว่า เคโรเจน (อ. kerogen) ซึ่งเป็นสารนํ้ามันอุ้มอยู่ในเนื้อหิน นํามากลั่นเอานํ้ามัน เชื้อเพลิงออกได้, หินติดไฟ ก็เรียก.
  • เห็บน้ำ น. สัตว์ประเภทไรนํ้าซึ่งเกาะเบียนตามตัวปลา มีหลายชนิดในหลายวงศ์ ลําตัวยาวได้ถึง ๗ มิลลิเมตร ตัวแบน เมื่อมองทางด้านหลังจะเห็นหัวกับอก ติดกัน ท้องเล็กมากมองคล้ายหางที่โผล่ออกมา มีขา ๔ คู่ ใช้สําหรับว่ายนํ้า ปากมีอวัยวะคล้ายขาใช้เกาะยึดซึ่งต้องหงายท้องดูจึงจะเห็น ที่พบบ่อยเป็น ชนิด Argulus indicus ในวงศ์ Argulidae.
  • เหราเล่นน้ำ น. เพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  • เหาน้ำ น. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในอันดับ Isopoda เป็นปรสิต ที่พบในนํ้าจืด เช่น สกุล Alitropus ในวงศ์ Aegidae, ในนํ้าเค็ม เช่น สกุล Livoneca ในวงศ์ Cymothoidae.
  • ให้น้ำ ก. ให้นักมวยหรือคู่ต่อสู้เป็นต้นหยุดพักเหนื่อยชั่วระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อให้ดื่มน้ำเช็ดหน้าหรือเช็ดตัวเป็นต้น ก่อนจะลงมือสู้ในยกต่อไป.
  • อวบน้ำ ว. มีเนื้อชุ่มนํ้า, ใช้แก่พืช เช่น ต้นกระบองเพชรเป็นพืชที่มี ลําต้นอวบนํ้า.
  • อ่างเก็บน้ำ น. แอ่งขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นสำหรับเก็บนํ้าเพื่อบริโภคและใช้ใน การเกษตรเป็นต้น.
    • อาบน้ำร้อนมาก่อน (สํา) ก. เกิดก่อนจึงมีประสบการณ์มากกว่า.
    • อาบน้ำอาบท่า (ปาก, ซ้อน) ก. อาบน้ำ.
    • อาบเหงื่อต่างน้ำ ก. ตรากตรําทํางานด้วยความเหนื่อยยาก.
  • อินทนิลน้ำ [-ทะนิน-] น. ไม้ต้นชนิด Lagerstroemia speciosa Pers. ในวงศ์ Lythraceae ดอกสีม่วงแดงหรือชมพู ออกเป็นช่อตั้งตรง เมล็ดและใบใช้ทํายาได้.
  • อีแก่, อีแก่กินน้ำ น. การเล่นไพ่อย่างหนึ่ง.
  • อุ้มน้ำ ก. มีนํ้าซึมซาบชุ่มอยู่ภายใน.
  • อู่น้ำ น. อู่ซ่อมเรือชนิดหนึ่ง เมื่อนําเรือเข้าในอู่แล้วปรับระดับนํ้าภายในอู่ให้เรือลอยอยู่ในระดับที่ต้องการเพื่อให้ซ่อมได้โดยสะดวก.
  • เอาน้ำเย็นเข้าลูบ (สํา) ก. ใช้คําพูดอ่อนหวานหว่านล้อม.
  • เอาน้ำลูบท้อง (สํา) ก. อดทนในยามยากโดยกินน้ำแทนข้าว.
  • ไอน้ำ น. นํ้าที่ถูกความร้อนจัดจนกลายเป็นไอ, (วิทยา) น้ำในสถานะแก๊ส.
    • เครื่องจักรไอน้ำ (วิทยา) น. เครื่องจักรที่ทำงานด้วยแรงขับดันจากพลังงานไอน้ำ. (เทียบ อ. steam engine).

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 http://www.tumcivil.com/dic/ อธิพัชร์ ศรเกตุ (วิศวกรโยธา) และคณะ
  2. http://ecurriculum.mv.ac.th/mixed/mix1/503lesson03.htm โรงเรียนมงคลวิทยา
  3. http://www.rmutphysics.com/charud/naturemystery/sci3/earthquake/thai1.html มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

แม่แบบ:โครง



  • ชอบน้ำ, ดูดน้ำ (เคมี) ว. . (อ. hydrophilic).
  • ตะกอนปากน้ำ, แผ่นดินโก่งตัว (ธรณี) น. . (เทียบ อ. warp).
    • น้ำยาเคลือบฟัน (แพทย์) น. . (เทียบ อ. cavity liner; cavity varnish; varnish).
    • น้ำยาเคลือบภาพ (ศิลปะ) น. . (เทียบ อ. fixative).
    • น้ำยาทาปะเก็น (ยานยนต์) น. . (อ. gasket cement; gasket liquid sealer).
    • น้ำยาปะยางใน (ยานยนต์) น. . (เทียบ อ. rubber solution).
    • น้ำยาปิดทอง (ศิลปะ) น. . (เทียบ อ. gold size).
    • น้ำยาย้อมคราบฟัน (แพทย์) น. . (เทียบ อ. disclosing solution).
    • น้ำยาลอกสี (ยานยนต์) น. . (อ. paint remover).
    • น้ำยาแห้งเร็วเซอร์โคเนียม (ศิลปะ) น. . (อ. zirconium drier).
  • น้ำเลี้ยงนิวเคลียส (ชีว) น. . (เทียบ อ. karyolymph).
    • น้ำหนักเกิน (แพทย์) น. . (อ. overweight).
    • น้ำหนักของข้อพิสูจน์ (กฎ) น. . (เทียบ อ. degree of proof).
    • น้ำหนักบรรทุก (ยานยนต์) น. . (เทียบ อ. pay load).
    • น้ำหนักพยานหลักฐาน (กฎ) น. . (อ. weight of evidence).
  • น้ำหลั่ง, สารน้ำคัดหลั่ง (แพทย์) น. . (อ. succus).
  • น้ำหลาก น. น้ำท่วม, เรียกฤดูฝนที่มีน้ำไหลท่วมว่า ฤดูน้ำหลาก.
  • น้ำหลากแผ่ซ่าน (ธรณี) น. . (อ. sheet flood).
  • ใบอวบน้ำ (พฤกษ) น. . (เทียบ อ. chylophyllous).
  • ปลูกด้วยน้ำ (พฤกษ) ว. . (อ. hydroponic).
  • ระดับน้ำใต้ดิน (ธรณี) น. . (เทียบ อ. water table).
  • ระบบการระบายน้ำ (ธรณี) น. . (อ. drainage system).
  • รูหยาดน้ำ (พฤกษ) น. . (อ. hydathode; water pore).
  • ภาวะขาดน้ำ (แพทย์) น. . (อ. hydropenia; hypohydration).
  • สันดอนปากน้ำ (ธรณี) น. . (เทียบ อ. channel-mouth bar).

[1]






น้ำแข็ง

 
วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

แม่แบบ:หน้าที่-th

  • น้ำแข็ง น. นํ้าที่ถูกความเย็นจัดจนแข็งตัวเป็นก้อน, (วิทยา) น้ำในสถานะของแข็ง.

คำพ้องความหมาย

-

คำแปล

ข้อผิดพลาด Lua ใน มอดูล:utilities/templates บรรทัดที่ 15: Language code has not been specified. Please pass parameter 1 to the template.

แม่แบบ:mid


คำประสม คำใกล้เคียง และศัพท์บัญญัติ

  • น้ำแข็งกด น. น้ำแข็งไสที่ใส่กระบอกหรือแก้วอย่างหนา กดให้เป็นแท่ง.
  • น้ำแข็งเปล่า น. น้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ ใส่แก้วเป็นต้น ใส่น้ำหรือน้ำชา.
  • น้ำแข็งไส น. น้ำแข็งที่ได้จากการไสก้อนน้ำแข็งไปบนเครื่องไส ลักษณะเป็นเกล็ดฝอย.
  • น้ำแข็งแห้ง ๑ น. คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งอยู่ในสภาพเป็นของแข็ง เย็นจัด ลักษณะคล้ายนํ้าแข็ง ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําความเย็น. (อ. dried ice).
  • น้ำแข็งแห้ง ๒ (ปาก) น. น้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ ใส่แก้วเป็นต้น ไม่ใส่น้ำ.
  • ธารน้ำแข็ง (ธรณี) น. แม่น้ำที่ประกอบด้วย มวลของน้ำแข็งที่เกิดจากหิมะสะสมตัว อัดกันแน่นและตกผลึกใหม่ โดยน้ำแข็งละลายและแข็งตัวสลับกัน ทำให้สามารถไหลได้อย่างช้า ๆ โดยอาศัยอิทธิพลแรงโน้มถ่วงของโลก จากยอดเขาผ่านหุบเหว โดยนำมวลน้ำแข็งสู่พื้นที่ต่ำกว่า. (เทียบ อ. glacier).
  • พืดน้ำแข็ง (ธรณี) น. . (อ. ice sheet; ice cap).
  • ภูเขาน้ำแข็ง (ธรณี) น. ก้อนนํ้าแข็งขนาดใหญ่ที่แตกจากธารนํ้าแข็งแถบขั้วโลกล่องลอย ไปในทะเล. (เทียบ อ. iceberg).
  • หลุมธารน้ำแข็ง (ธรณี) น. กุมภลักษณ์ที่เกิดจากก้อนน้ำแข็ง ใต้ธารน้ำแข็ง, กุมภลักษณ์ธารน้ำแข็ง ก็เรียก. (เทียบ อ. kettle)
  • เหวน้ำแข็ง (ธรณี) น. . (เทียบ อ. crevasse).
  • สเกตน้ำแข็ง น. รองเท้าหุ้มข้อซึ่งมีพื้นติดแผ่นโลหะคล้ายสันมีดสําหรับแล่นลื่น ไปบนลานนํ้าแข็ง; การเล่นอย่างหนึ่งที่ผู้เล่นต้องสวมรองเท้า สเกตเช่นนั้นแล้วแล่นลื่นไปบนลานน้ำแข็ง. (อ. ice skate).
  • สมัยน้ำแข็ง (ธรณี) น. ช่วงเวลาทางบรรพธรณีวิทยาที่พื้นผิวโลกในเขตหนาวและเขตอบอุ่นปกคลุมด้วยน้ำแข็งตลอดปี อันเกิดจากการเอียงของแกนโลกในช่วงเวลานั้น, ช่วงอายุน้ำแข็ง หรือ ยุคน้ำแข็ง ก็เรียก. (อ. ice age).
  • ไสน้ำแข็ง ก. ดันก้อนน้ำแข็งไปบนเครื่องไสที่เป็นม้าไม้ ๒ ขาเตี้ย ๆ ตรงกลางมีใบกบฝังจากข้างล่าง ให้คมอยู่ข้างบน เพื่อย่อยน้ำแข็งให้เป็นฝอย, เรียกน้ำแข็งที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า น้ำแข็งไส.

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ tumcivil

แม่แบบ:โครง