ดูเพิ่ม: ขา, ขำ, และ ข้า

ภาษาไทย แก้ไข

 
วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์ข่า
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงkàa
ราชบัณฑิตยสภาkha
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kʰaː˨˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1 แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *xaːᴮ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຂ່າ (ข่า), ภาษาไทดำ ꪄ꪿ꪱ (ฃ่า), ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง kah (ข่า) (ใน king kah (ขิงข่า))

คำนาม แก้ไข

ข่า (คำลักษณนาม ต้น)

  1. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Alpinia galanga (L.) Willd. ในวงศ์ Zingiberaceae มีเหง้า ลำต้นเป็นกอ สูง 1-3 เมตร ดอกสีขาว ออกเป็นช่อที่ยอด เหง้ามีกลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหารและทำยาได้

รากศัพท์ 2 แก้ไข

คำนาม แก้ไข

ข่า

  1. คนชาวเขาจำพวกหนึ่ง แบ่งออกเป็น 2 พวก พวกหนึ่งพูดภาษาในตระกูลมอญ−เขมร เช่น ข่าอัตตะปือ ข่าตองเหลือง และอีกพวกหนึ่งพูดภาษาในตระกูลอินโดนีเซียน ได้แก่ ข่าระแด และ ข่าจะราย

รากศัพท์ 3 แก้ไข

คำนาม แก้ไข

ข่า

  1. ชื่อสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ในมหาชาติคำหลวงแปลจากศัพท์ว่า สุสู, คือ จระเข้
    มงงกรฉลองเข้ข่าก็มี
    (ม. คำหลวง มหาพน)

รากศัพท์ 4 แก้ไข

คำนาม แก้ไข

ข่า

  1. ไม้ที่ทำเป็นร้านขึ้นคร่อมกองไฟสำหรับปิ้งปลา, ไม้ไผ่ขัดเป็นตารางเล็ก ๆ สำหรับวางหรือห้อยอาหารแห้งให้อยู่เหนือเตาไฟในครัว