ดูเพิ่ม: แกลง

ภาษาไทย

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ແກ້ງ (แก้ง), ภาษาเขิน ᨠᩯ᩠᩶ᨦ (แก้ง, ทำให้เสียชื่อเสียงลับหลัง), ภาษาไทใหญ่ ၵႅင်ႈ (แก้ง, แสร้ง) หรือ ၵဵင်ႈ (เก้ง), ภาษาไทใต้คง ᥐᥦᥒᥴ (แก๋ง, เยาะเย้ย), ภาษาอาหม 𑜀𑜢𑜂𑜫 (กิง์, แสร้ง)

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์แกฺล้ง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงglɛ̂ɛng
ราชบัณฑิตยสภาklaeng
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/klɛːŋ˥˩/(สัมผัส)

คำกริยา

แก้ไข

แกล้ง (คำอาการนาม การแกล้ง)

  1. (สกรรม) ทำให้เดือดร้อนรำคาญ
    เขามักแกล้งฉันในเวลาเรียน
  2. (อกรรม) แสร้ง
    เขาแกล้งทำเป็นปวดฟัน
  3. (อกรรม) จงใจทำ พูด หรือแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาเสียหาย อาย เดือดร้อน ขัดข้อง เข้าใจผิด เป็นต้น
    ข้าพเจ้าไม่ได้ทำผิดเลยแต่เขาแกล้งใส่ร้าย
  4. (โบราณ, อกรรม) ตั้งใจ, จงใจ
    แกล้งประกาศแก่สงฆ์.
    มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ วนปเวสน์กัณฑ์

คำเกี่ยวข้อง

แก้ไข