ดูเพิ่ม: แคนู และ แค้น

ภาษาไทย แก้ไข

 
วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia
 
แคน

รากศัพท์ แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน แคน, ภาษาลาว ແຄນ (แคน), ภาษาเขิน ᨣᩯ᩠ᨶ (แคน), ภาษาไทลื้อ ᦶᦅᧃ (แคน), ภาษาไทดำ ꪵꪁꪙ (แก̱น), ภาษาไทใหญ่ ၵႅၼ်း (แก๊น)

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์แคน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงkɛɛn
ราชบัณฑิตยสภาkhaen
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kʰɛːn˧/(สัมผัส)

คำนาม แก้ไข

แคน

  1. เครื่องเป่าชนิดหนึ่ง เสียงคล้ายออร์แกน เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ นิยมเล่นในทุกจังหวัดของภาคอีสานตอนเหนือ ทำด้วยไม้ซาง เรียกว่า ไม้กู่แคนหรือไม้เฮี้ย มีขนาดยาวลดหลั่นกัน เรียงติดเป็นตับในเต้าแคนที่ทำด้วยไม้ ลิ้นแคนทำด้วยโลหะเงินหรือทองเหลือง ทำเสียงสูง-ต่ำ ด้วยการเปิดปิดนิ้วที่รูเล็กซึ่งเจาะไว้ข้างกู่แคน กู่แคนติดแน่นกับเต้าแคนด้วยขี้สูดหรือชันโรง มีหลายขนาด ตั้งแต่ 3 คู่ จนถึง 9 คู่ ที่นิยมที่สุดคือคู่ 8 ใช้บรรเลงเพื่อความบันเทิงทั่วไปและประกอบหมอลำหรือวงพิณ วงโปงลาง ในงานมงคล เป็นมหรสพประจำของชาวอีสาน

ภาษาญัฮกุร แก้ไข

รากศัพท์ แก้ไข

ยืมมาจากภาษาไทย แขน

การออกเสียง แก้ไข

คำนาม แก้ไข

แคน

  1. แขน

ภาษาอีสาน แก้ไข

รากศัพท์ แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาไทย แคน, ภาษาเขิน ᨣᩯ᩠ᨶ (แคน), ภาษาลาว ແຄນ (แคน), ภาษาไทลื้อ ᦶᦅᧃ (แคน), ภาษาไทใหญ่ ၵႅၼ်း (แก๊น)

การออกเสียง แก้ไข

คำนาม แก้ไข

แคน

  1. แคน
  2. ตะเคียน

อ้างอิง แก้ไข