ภาษาไทย แก้ไข

รากศัพท์ แก้ไข

จากภาษาจีนยุคกลาง (MC mjaengH, “ชีวิต, ชะตา”); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ມິ່ງ (มิ่ง), ภาษาไทใหญ่ မိင်ႈ (มิ้ง, โชค, ชะตา), ภาษาอาหม 𑜉𑜢𑜂𑜫 (มิง์, โชค, ชะตา), ภาษาสุ่ย mingh (โชค, ชะตา)

พบการใช้งานอย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ. 1943–1962 ในจารึกวัดหินตั้ง[1] เสฐียรโกเศศ คาดว่า เดิมที “มิ่ง” หมายถึง “ชีวิต” แต่ถูกแทนที่ด้วยคำว่า ชีวิต และต่อมาด้วยคำว่า สิริ[2]

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์มิ่ง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงmîng
ราชบัณฑิตยสภาming
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/miŋ˥˩/(สัมผัส)

คำนาม แก้ไข

มิ่ง

  1. สิ่งเป็นสิริมงคล
    มิ่งเมือง
    เมียมิ่ง

อ้างอิง แก้ไข

  1. นววรรณ พันธุเมธา (2556), "คำว่า มิ่งและขวัญ", ใน วารสารราชบัณฑิตยสถาน, ปีที่ 38, ฉบับที่ 1, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 43–59
  2. เสฐียรโกเศศ. (2506). ขวัญและประเพณีการทำขวัญ. พระนคร: ก้าวหน้า, 31-32. สืบค้นจาก [1]