คำนาม: คำนามในภาษาอัสสัมไม่ชี้เฉพาะ สามารถเป็นได้ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ขึ้นอยู่กับบริบท การทำให้เป็นคำนามชี้เฉพาะจะเติมคำลักษณนามและปัจจัยแสดงความเป็นพหูพจน์ซึ่งยังทำให้คำนามเหล่านั้นเป็นได้ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์
พหูพจน์: คำปัจจัยแสดงความเป็นพหูพจน์โดยทั่วไปคือ: -বোৰ (-โพร) และ -বিলাক (-พิลาก) (โดยทั่วไปพบน้อยกว่า) ส่วนคำอื่น ๆ ที่มีหน้าที่เฉพาะได้แก่ -সমূহ (-สมูห), -সকল (-สกล), -হঁত (-หํ์ต) เป็นต้น
กรรตุการก: คำปัจจัย -এ (-เอ) ถูกใช้เมื่อคำนามใช้แทนผู้กระทำและกริยาเป็นสกรรมกริยา
กรรมการก: ปัจจัย -অক (-อก) ใช้สำหรับนัยการเคลื่อนไหวและเน้นย้ำ ไม่มีการเติมคำแสดงการกในกรณีอื่น
สัมปทานการก 1: สำหรับกรรมตรงใช้ปัจจัย -অক (-อก) บ่งชี้การกนี้แทนที่ -অলৈ (-อไล)
สัมปทานการก 2: ในภาษาถิ่นบางภาษาใช้ปัจจัย -অক (-อก) หรือ -অত (-อต) บ่งชี้การกนี้แทนที่ -অলৈ (-อไล)
Terminative: การใช้ภาษาที่คลุมเครือ ปัจจัย -অলৈ (-อไล) สามารถบ่งชี้การกนี้ด้วย
กรณการก 1: ปัจจัย -এ (-เอ) ใช้เมื่อไม่เน้นหนัก และปัจจัย -এৰে (-เอเร) ใช้เมื่อเน้นหนักและพบโดยทั่วไปมากกว่า
กรณการก 2: สามารถใช้ปัจจัย -এদি (-เอทิ) เป็นทางเลือกแทนปัจจัย -এৰে (-เอเร) ซึ่งใช้เป็นปกติในภาษาอัสสัมมาตรฐาน
อธิกรณการก: ปัจจัยเกี่ยวกับสถานที่ -এ (-เอ) ใช้ในการกล่าวคำซ้ำ, คำกริยาวิเศษณ์ และคำระบุวันในสัปดาห์