วิกิพจนานุกรม:มารยาทในวิกิพจนานุกรม

นโยบายในวิกิพจนานุกรม
นโยบายหลัก
อะไรที่ไม่ใช่วิกิพจนานุกรม
มุมมองที่เป็นกลาง
ลิขสิทธิ์วิกิพจนานุกรม
กล้าเขียน
มารยาท
คู่มือในการเขียน

เนื่องจากชาววิกิพจนานุกรมมาจากหลายๆ ที่ หลายสังคม ความเห็นและมุมมองย่อมแตกต่างกัน การเคารพและมีมารยาทต่อกัน เป็นหัวใจสำคัญในการร่วมมือสร้างวิกิพจนานุกรมขึ้นมาให้ประสบความสำเร็จ บทความในหน้านี้ มารยาทในวิกิพจนานุกรม เพื่อเป็นแนวทาง และพึงนึกเสมอว่า พื้นฐานของคนส่วนใหญ่จะเกิดความรู้สึกภูมิใจ เมื่อได้ทำงานหรือเขียนบทความอะไรลงไป การไปแก้ไขงานคนนั้นๆ อาจทำให้เกิดความรู้สึก หงุดหงิดขึ้นมาได้ง่าย พึงควรระวัง

พื้นฐานของมารยาทในวิกิพจนานุกรม

แก้ไข
  • เชื่อมั่นว่าบุคคลอื่นมีความคิดที่ดี ทุกคนที่ร่วมเข้ามาเขียนในวิกิพจนานุกรม มีใจที่ต้องการสร้างบทความที่ดี
  • สุภาพ
  • พูดกับคนอื่น เหมือนกับที่อยากให้คนอื่นพูดกับเรา
  • ในหน้าพูดคุย ควรจะลงชื่อเพื่อแสดงให้เห็นถึงผู้พูด โดยการใส่เครื่องหมาย ~~~~ (ทิลดา สี่ตัว)
  • เวลาโต้เถียง เถียงกันเรื่องความจริงของเนื้อหา อย่าเถียงกันเรื่องความเห็นส่วนตัวในเนื้อหา
  • อย่าเฉยเมย กับคำถามผู้อื่น ถ้ามีผู้ที่สงสัยและต้องการแก้ไขงานของเรา ควรระบุเหตุผลที่เหมาะสมในการเขียนหรือแก้ไข
  • อย่าลืมขอโทษถ้าทำผิด
  • อย่าปลุกกระแสให้คนอื่นทะเลาะกัน
  • ลองดู วิกิพจนานุกรม:ข้อผิดพลาดที่พบบ่อย
  • ถ้ามีปัญหา ลองพักปัญหาไปซักพัก และทำอย่างอื่น หรือลองดูบทความอื่นดู ในวิกิพจนานุกรมมีบทความ 930,022 บทความ
  • ท้ายสุด อย่าลืมดูว่าอะไรที่ไม่ใช่วิกิพจนานุกรม และ วิกิพจนานุกรม:นโยบาย

ข้อพึงระวัง

แก้ไข
  • พยายามอธิบายให้ชัดเจน ว่าต้องการทำอะไร เฉพาะอย่างยิ่งในหน้าพูดคุย
  • ผู้มาใช้ใหม่ อาจผิดพลาดได้ง่าย พูดคุยด้วยคำพูดที่ดี และอธิบายข้อผิดพลาด และที่สำคัญ ต้องไม่ลืม แนะนำวิธีแก้ไขหรือหาทางออกให้
  • อย่าสรุปว่า สิ่งที่เราไม่เห็นด้วย คือสิ่งที่ผิด หลายๆเรื่อง สามารถหาคำตอบได้มากกว่ากำหนดว่า ถูก หรือ ผิด
  • อย่าว่าร้ายผู้อื่น ไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม
  • ถึงแม้ว่ามารยาท จะมีเรื่องให้คิดมากมาย แต่อย่าลืมว่า วิกิพจนานุกรมแนะนำให้กล้าแก้ไขบทความ