งานประเภทการ์ตูนที่มีทั้งภาษาภาพและภาษาประดิษฐ์
  • ภาษาแบ่งตามที่มา หรือที่เกิด (origin – ออริจิน) เป็น 2 กลุ่ม คือ
    • ภาษาธรรมชาติ คือ ภาษาที่เข้าใจความหมายได้เองตามธรรมชาติ ได้แก่ ภาษาภาพ, ภาษาเสียง, ภาษากลิ่น, ภาษารส, ภาษาสัมผัส, และภาษาจิต ในกลุ่มนี้ ภาษาภาพสำคัญที่สุด คือมีสัดส่วนมากที่สุด ถึง 75% ของการรับรู้ตามธรรมชาติทั้งหมด
    • ภาษาประดิษฐ์ คือ ภาษาที่เข้าใจความหมายจากการประดิษฐ์รูปแบบการรับรู้ขึ้นและกำหนดความหมายให้กับมัน ได้แก่ ภาษาควัน ภาษาธง ภาษาถ้อยคำ ภาษามือ ภาษาคณิตศาสตร์ ภาษาเคมี ภาษาเหล่านี้ต้องเรียน จึงจะรู้ความหมาย ในกลุ่มนี้ ภาษาถ้อยคำ สำคัญที่สุด เพราะเป็นภาษาที่ใช้งานตามปกติเป็นลำดับแรก และเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารอย่างเป็นทางการ



  • ภาษาถ้อยคำ (verbal language – เวอร์บัล แล็งเกว็จ) คือ ภาษาที่ส่งหรือสื่อความหมายโดยการกำหนดคำ (word) และความหมายของคำขึ้น จากนั้นก็เอาคำมาร้อยเรียงกันเพื่อให้ได้ความหมายรวมที่ต้องการ



  • วิธีการร้อยเรียงถ้อยคำของแต่ละภาษา มีหลักเกณฑ์ ที่ต้องเรียนรู้ เรียกว่า ไวยากรณ์ (Grammar – แกร็มม่าร์ - กฎเกณฑ์ที่แน่นอน) ภาษาไทยมีหลักเกณฑ์ที่ยืดหยุ่นมาก จนไม่อาจเรียกว่า ไวยากรณ์ เรียกได้แค่ หลักภาษา (rule - รูล /(หรือ) principle - พรินซิเพิล)



  • ภาษาอะไรสำคัญที่สุด? มีบทบาทต่อการสื่อสารของเรามากที่สุด? คำถามนี้สำคัญมาก มีคำตอบ 2 คำตอบ
    • โดยการรับรู้ของภาษาธรรมชาติ ภาษาภาพสำคัญที่สุด (การสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการ)
    • โดยการสื่อสารตามปกติ ภาษาถ้อยคำสำคัญที่สุด (การสื่อสารอย่างเป็นทางการ)



จากความจริงในข้อนี้ ภาษาภาพกับภาษาถ้อยคำจึงแย่งชิงบทบาทในการสื่อสารกันอยู่เสมอ แล้วกลายเป็นว่า มีการผสมผสาน หรือแลกเปลี่ยนกันระหว่างสองภาษานี้อย่างมาก ตัวอย่างได้แก่ สำนวนในภาษาถ้อยคำ และการ์ตูน