ดูเพิ่ม: บ่าง และ บ้าง

ภาษาไทย แก้ไข

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์บาง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงbaang
ราชบัณฑิตยสภาbang
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/baːŋ˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1 แก้ไข

เทียบภาษาเขมร បាង (บาง, อ่าว), ภาษามอญ ပါၚ် (ปาง์, ปาก)

คำนาม แก้ไข

บาง

  1. ทางน้ำเล็ก ๆ, ทางน้ำเล็กที่ไหลขึ้นลงตามระดับน้ำในแม่น้ำลำคลอง หรือทะเล
  2. ตำบลบ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ริมบางหรือในบริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน
  3. โดยปริยายหมายถึงทั้งหมู่
    ฆ่าล้างบาง
    ย้ายล้างบาง

รากศัพท์ 2 แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *C̥.baːŋᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ບາງ (บาง), ภาษาไทใหญ่ မၢင် (มาง) หรือ ဝၢင် (วาง), ภาษาไทใต้คง ᥛᥣᥒ (มาง), ภาษาอาหม 𑜈𑜂𑜫 (บง์), ภาษาจ้วง mbang; เทียบภาษาสุ่ย qbaangl, ภาษาต้งใต้ mangl, ภาษาเบดั้งเดิม *viaŋᴬ¹

คำคุณศัพท์ แก้ไข

บาง (คำอาการนาม ความบาง)

  1. มีส่วนสูงน้อยจากผิวพื้น, ไม่หนา, มีความหนาน้อย
    มีดบาง
    ผ้าบาง
  2. โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น
    ผสมสุราแต่บาง ๆ
    (ผสมสุราแต่น้อย ๆ ไม่เข้มข้น)
  3. แทงลูกบิลเลียดไปถูกอีกลูกหนึ่งเพียงผิว ๆ เรียกว่า แทงบางไป
  4. เรียกผู้ที่มีผมน้อยกว่าปรกติว่า ผมบาง
  5. เรียกผู้ที่อายง่ายกว่าปรกติ คือไม่ควรละอาย กลับอายว่า หน้าบาง, ตรงข้ามกับ หน้าหนา
  6. เรียกผู้ที่มีรูปร่างอ้อนแอ้นสะโอดสะองว่า เอวเล็กเอวบาง หรือเอวบางร่างน้อย
  7. เรียกคนอ่อนแอทนความลำบากไม่ได้เพราะไม่เคยชินว่า คนผิวบาง

รากศัพท์ 3 แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ບາງ (บาง), ภาษาไทใหญ่ မၢင် (มาง), ภาษาไทใต้คง ᥛᥣᥒ (มาง), ภาษาอาหม 𑜈𑜂𑜫 (บง์)

คำคุณศัพท์ แก้ไข

บาง (คำอาการนาม ความบาง)

  1. ใช้ประกอบหน้านามหมายความว่า ไม่ใช่ทั้งหมด คือ เป็นส่วนย่อยหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของส่วนรวม, ลาง ก็ใช้
    บางคน
    บางพวก
    บางถิ่น
    บางสิ่ง