ดูเพิ่ม: หมี, หมู่, หิม, หุม, หุ้ม, และ ห่ม

ภาษาไทย แก้ไข

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์หฺมู
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงmǔu
ราชบัณฑิตยสภาmu
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/muː˩˩˦/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1 แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *ʰmuːᴬ¹, จากภาษาไทดั้งเดิม *ʰmuːᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩉ᩠ᨾᩪ (หมู), ภาษาลาว ໝູ (หมู), ภาษาไทลื้อ ᦖᦴ (หฺมู), ภาษาไทดำ ꪢꪴ (หฺมุ), ภาษาไทใต้คง ᥛᥧᥴ (มู๋), ภาษาไทใหญ่ မူ (มู), ภาษาอาหม 𑜉𑜥 (มู), ภาษาปู้อี mul, ภาษาจ้วง mou, ภาษาจ้วงแบบหนง mu, ภาษาแสก หมู่; เทียบภาษาสุ่ย hmus, ภาษาเบดั้งเดิม *muːᴬ¹, ภาษาไหลดั้งเดิม *hməw

คำนาม แก้ไข

หมู

  1. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ในวงศ์ Suidae เป็นสัตว์กีบคู่ ตัวอ้วน จมูกและปากยื่นยาว ปลายจมูกบานใช้สำหรับดุนดินหาอาหาร อาการเช่นนี้เรียกว่า ดุด ขนลำตัวแข็งอาจยาวหรือสั้น มีเขี้ยว 2 คู่ กินทั้งพืชและสัตว์ มีทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยงและที่เป็นสัตว์ป่า หาอาหารโดยใช้จมูกดุด (คำลักษณนาม ตัว)
  2. (ภาษาปาก) บุคคลที่อาจหลอกหรือเอาชนะได้ง่าย
    นักมวยต่างประเทศคนนี้อย่าไปคิดว่าหมูนะ
  3. (ภาษาปาก, สแลง, ล้าสมัย) ฝิ่นที่คลุกยาฉุน ยาเส้น ใบพลู ใบจาก หรือกัญชาใช้ม้วนสูบด้วยกล้อง
คำพ้องความ แก้ไข
ดูที่ อรรถาภิธาน:หมู

คำแปลภาษาอื่น แก้ไข

รากศัพท์ 2 แก้ไข

คำคุณศัพท์ แก้ไข

หมู (คำอาการนาม ความหมู)

  1. (ภาษาปาก) ง่าย, สะดวก
    เขาเลือกทำแต่งานหมู

คำกริยาวิเศษณ์ แก้ไข

หมู (คำอาการนาม ความหมู)

  1. (ภาษาปาก) ง่าย, สะดวก
    วิชาคำนวณสำหรับเขาแล้วหมูมาก
คำพ้องความ แก้ไข

ภาษาคำเมือง แก้ไข

คำนาม แก้ไข

หมู (คำลักษณนาม ตั๋ว)

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᩉ᩠ᨾᩪ (หมู)