ภาษาไทย แก้ไข

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์
{ไม่ตามอักขรวิธี; เสียงสระสั้น}
ซ็่อย
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsɔ̂i
ราชบัณฑิตยสภาsoi
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/sɔj˥˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1 แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ສ້ອຍ (ส้อย), ภาษาอาหม 𑜏𑜨𑜐𑜫 (สอ̂ญ์, ขนคอสัตว์), ภาษาจ้วง soij (ส้อย-สายสร้อย); เทียบภาษาไทใหญ่ သွႆႉ (ส๎อ̂ย, มาลัย, สายลูกปัด) และ သွႆႈ (ส้อ̂ย, พู่)

คำนาม แก้ไข

สร้อย

  1. ขนคอสัตว์
    สร้อยคอไก่
    สร้อยคอสิงโต
  2. เครื่องประดับที่ทำเป็นเส้น (คำลักษณนาม สาย หรือ เส้น)
    สร้อยคอ
    สร้อยข้อมือ

รากศัพท์ 2 แก้ไข

คำนาม แก้ไข

สร้อย (คำลักษณนาม ตัว)

  1. ชื่อปลาน้ำจืดหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Cyprinidae มีพฤติกรรมรวมกันเป็นฝูงในลำน้ำใหญ่ในฤดูน้ำ และว่ายทวนน้ำขึ้นไปหากินหรือสืบพันธุ์ในแหล่งน้ำที่ไหลเอ่อนองหรือท่วมขังในตอนกลางและปลายฤดูน้ำหลาก ส่วนใหญ่ลำตัวสีขาวเงินและมีจุดคล้ำหรือจุดดำบนเกล็ดจนเห็นเป็นเส้นสายหลายแถบพาดตามยาวอยู่ข้างตัว
คำพ้องความ แก้ไข

รากศัพท์ 3 แก้ไข

คำนาม แก้ไข

สร้อย

  1. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อให้ครบตามจำนวน เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมายหรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นา เฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ
  2. คำที่เติมหรือประกอบคำอื่นเพื่อให้ไพเราะหรือเต็มความ เช่น เสื้อแสง หนังสือหนังหา
  3. คำต่อท้ายราชทินนาม
  4. บทลูกคู่ บทซ้ำ หรือบทรับ ในเพลงหรือบทกวี

รากศัพท์ 4 แก้ไข

คำนาม แก้ไข

สร้อย

  1. (ร้อยกรอง) ผู้หญิง, นาง
    จำใจจำจากสร้อย
    (ตะเลงพ่าย)

รากศัพท์ 5 แก้ไข

คำนาม แก้ไข

สร้อย

  1. (ร้อยกรอง) ดอกไม้
    สร้อยสลา
    ดอกหมาก

รากศัพท์ 6 แก้ไข

คำกริยา แก้ไข

สร้อย

  1. (ร้อยกรอง) โศก
    เศร้าสร้อย
    สร้อยเศร้า