ภาคผนวก:รายการคำราชาศัพท์

เพื่อให้เข้าใจลำดับคำราชาศัพท์ ควรเข้าใจลำดับพระราชวงศ์ (และเทียบเท่า) ดังนี้

ลำดับ ๑)
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
ลำดับ ๒)
  • สมเด็จพระราชินี
  • สมเด็จพระราชชนก, สมเด็จพระราชชนนี
  • สมเด็จพระบรมราชกุมาร, สมเด็จพระบรมราชกุมารี
  • สมเด็จพระยุพราช
ลำดับ ๓)
  • สมเด็จเจ้าฟ้า
ลำดับ ๔)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ, พระองค์เจ้า(ชั้นเอก) ซึ่งเป็นพระราชโอรส พระราชธิดา ในพระเจ้าอยู่หัวทุกรัชกาล และ สมเด็จพระสังฆราช
ลำดับ ๕)
  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ, พระองค์เจ้า(ชั้นโท) ทั้งที่ทรงกรมและไม่ทรงกรม และพระวรวงศ์เธอ, พระองค์เจ้า(ชั้นตรี) ที่ทรงกรม
ลำดับ ๖)
  • พระวรวงศ์เธอ, พระองค์เจ้า(ชั้นตรี) ที่ไม่ทรงกรม
ลำดับ ๗)
  • หม่อมเจ้า
หมายเหตุ)
  • พระภรรยาเจ้าในรัชกาลที่ ๖ ทุกพระองค์ ยกเว้น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีใช้คำราชาศัพท์เทียบเท่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า แต่พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ที่จะทรงใช้ราชาศัพท์เทียบเท่า สมเด็จเจ้าฟ้า


เกิด
  • ทรงพระราชสมภพ (พระราชา, พระราชินี, พระบรมราชชนนี, พระยุพราช, พระบรมราชกุมาร, พระบรมราชกุมารี)
  • ประสูติ, สมภพ (พระราชวงศ์ )

( ข้อยกเว้น วันเกิด เฉพาะสำหรับ พระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระราชินี ใช้ วันพระบรมราชสมภพ )

เกิด[1]
  • ทรงพระราชสมภพ, มีพระบรมราชสมภพ, เสด็จพระราชสมภพ (พระมหากษัตริย์)
  • ทรงพระราชสมภพ, มีพระราชสมภพ, เสด็จพระราชสมภพ (สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมุฏราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
  • ประสูติ (พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)
อายุ
  • พระชนมายุ (พระมหากษัตริย์, พระราชินี, พระบรมราชชนนี, พระยุพราช, พระบรมราชกุมาร, พระบรมราชกุมารี, สมเด็จเจ้าฟ้า) เช่น
    • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2554
    • สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในปี 2555
    • สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระชนมายุครบ 6 รอบ 60 พรรษา
    • สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สวรรคตขณะมีพระชนมายุ 94 พรรษา 240 วัน
    • สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา
    • พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี สิ้นพระชนม์ ขณะพระชนมายุ 80 พรรษา เศษ
  • พระชันษา (พระองค์เจ้า, พระสังฆราช)
    • สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษาได้ 73 ชันษา
    • สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เจริญพระชันษา 100 ปี ในวันที่ 3 ตุลาคม 2556
    • พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ มีพระชันษา 26 ปี
  • ชันษา (พระอนุวงศ์)
    • หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล สิ้นชีพตักษัย สิริชันษาได้ 95 ปี
ลงชื่อ
  • ลงพระปรมาภิไธย (พระมหากษัตริย์)เช่น
    • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
  • ลงพระนามาภิไธย (พระราชินี, พระบรมราชชนนี, พระยุพราช, พระบรมราชกุมาร, พระบรมราชกุมารี, สมเด็จเจ้าฟ้า)
    • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงลงพระนามาภิไธยในสมุดเยี่ยม
    • สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงลงพระนามาภิไธยที่ระลึก ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
    • พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ทรงลงพระนามาภิไธยเป็นที่ระลึก ที่หน้าถ้ำพระพุทธฉาย
  • ลงพระนาม (พระองค์เจ้า, พระสังฆราช)
  • ลงนาม (พระอนุวงศ์)
ป่วย
  • ทรงพระประชวร (พระราชา)
  • ประชวร (เจ้านาย พระราชวงศ์ , พระสังฆราช)
  • อาพาธ (พระ, เณร)
ป่วย[2]
  • ทรงพระประชวร (พระมหากษัตริย์, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
  • ประชวร (พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)
ตาย
  • สวรรคต (พระเจ้าอยู่หัว, พระราชินี, พระบรมราชชนนี, พระยุพราช, พระบรมราชกุมาร, พระบรมราชกุมารี, พระบรมราชวงศ์ที่ได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น)
  • ทิวงคต (พระยุพราช, เจ้าฟ้าที่ได้รับเฉลิมพระยศพิเศษ, พระราชาต่างประเทศ)
  • สิ้นพระชนม์ (สมเด็จเจ้าฟ้า, พระองค์เจ้า, สมเด็จพระสังฆราช)
  • สิ้นชีพตักษัย, ถึงชีพิตักษัย (หม่อมเจ้า)
  • ถึงแก่พิราลัย, ถึงพิราลัย (เจ้าประเทศราช, สมเด็จเจ้าพระยา)
  • ถึงแก่มรณภาพ, มรณภาพ (พระ, เณร)
  • ถึงแก่อสัญกรรม (องคมนตรี, ประธานองคมนตรี, รัฐมนตรี, นายกรัฐมนตรี, ประธานสภา, เจ้าพระยา, ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า, ประธานาธิบดีต่างประเทศ)
  • ถึงแก่อนิจกรรม (พระยา, ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นปถมาภรณ์มงกุฎไทย/ทุติยจุลจอมเกล้า, ผู้ได้รับเป็นกรณีพิเศษ)
  • ถึงแก่กรรม, สิ้นชีวิต, เสียชีวิต, มรณะ (สุภาพ)
ตาย[3]
  • สวรรคต, เสด็จสวรรคต (พระมหากษัตริย์, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, พระบรมราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าที่ทรงพระเศวตฉัตร ๗ ชั้น)
  • ทิวงคต (พระบรมราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าที่ได้รับการเฉลิมพระยศพิเศษ)
  • สิ้นพระชนม์ (พระบรมราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า)
  • ถึงชีพิตักษัย, สิ้นชีพตักษัย (พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)
คำพูด
  • พระราชดำรัส, พระราชกระแส (พระราชา)
  • รับสั่ง (พระราชวงศ์, พระอนุวงศ์)
พูด
  • มีพระราชดำรัส, มีกระแสพระราชดำรัส (พระราชา, พระราชินี, พระยุพราช, พระบรมราชกุมาร, พระบรมราชกุมารี)
  • รับสั่ง, มีพระดำรัส (พระราชวงศ์)
  • ดำรัส, ตรัส (พระองค์เจ้า, หม่อมเจ้า)

( ข้อยกเว้น ตรัส, รับสั่ง สำหรับ พระราชา, พระราชินี, พระบรมราชกุมาร, พระบรมราชกุมารี ใช้ในกรณีเรื่องธรรมดา )

พูด[4]
  • มีพระราชดำรัส, มีพระราชกระแส, มีกระแสพระราชดำรัส (พระมหากษัตริย์, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมุฏราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
  • มีพระดำรัส, ดำรัส, มีรับสั่ง (พระบรมราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า)
  • รับสั่ง, มีรับสั่ง (พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)
ให้[5]
  • พระราชทาน (พระมหากษัตริย์, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมุฏราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
  • พระราชทาน, ประทาน (โบราณ) (พระบรมราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า)
  • ประทาน (พระบรมราชวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)
คำสอน
  • พระบรมราโชวาท (พระราชา)
  • พระโอวาท (เจ้านาย พระราชวงศ์)
สอน
  • มีพระบรมราโชวาท (พระราชา)
  • มีพระโอวาท (เจ้านาย พระราชวงศ์)
ให้โอวาท[6]
  • มีพระบรมราโชวาท, พระราชทานพระบรมราโชวาท (พระมหากษัตริย์)
  • มีพระราโชวาท, พระราชทานพระราโชวาท (สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมุฏราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
  • มีพระโอวาท, พระราชทานพระโอวาท, ประทานพระโอวาท (โบราณ) (พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า)
  • มีพระโอวาท, ประทานพระโอวาท (พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า)
  • มีโอวาท, ประทานโอวาท (พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)
โอวาท[7]
  • พระบรมราโชวาท (พระมหากษัตริย์)
  • พระราโชวาท (สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมุฏราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
  • พระโอวาท (พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)
สั่ง[8]
  • มีพระราชกระแส, มีพระราชกระแสรับสั่ง, มีพระราชดำรัสสั่ง (พระมหากษัตริย์) (มีพระบรมราชโองการ หมายถึง สั่ง เรื่องสำคัญเป็นทางการ ซึ่งต้องมีผู้สนองพระบรมราชโองการ)
  • มีพระราชเสาวนีย์, มีพระราชดำรัสสั่ง (สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี)
  • มีพระราชบัณฑูร, มีพระราชดำรัสสั่ง (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร)
  • มีพระราชบัญชา, มีพระราชดำรัสสั่ง (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
  • มีพระดำรัสสั่ง, มีรับสั่ง (พระบรมราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า)
  • มีรับสั่ง (พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)
คำสั่ง
  • พระบรมราชโองการ (พระราชา)
  • พระราชเสาวนีย์, พระเสาวนีย์ (พระราชินี, พระราชชนนี)
  • พระราชโองการ (พระราชาต่างประเทศ)
  • พระราชดำรัสสั่ง (พระยุพราช, พระบรมราชกุมาร, พระบรมราชกุมารี, พระราชวงศ์)
  • พระราชบัณฑูร (พระบรมราชกุมาร)
  • พระราชบัญชา (พระบรมราชกุมารี)
  • พระบัญชา (สมเด็จเจ้าฟ้า, พระองค์เจ้า, พระอนุวงศ์, พระสังฆราช)
  • พระประศาสน์ (สมเด็จเจ้าพระยา)
  • บัญชา (นายกรัฐมนตรี)
คำอธิบาย
  • พระบรมราชาธิบาย (พระราชา)
  • พระราชาธิบาย (พระราชินี, พระราชชนนี)
คำถาม
  • พระราชปุจฉา
คำถาม[9]
  • มีพระราชกระแสรับสั่งถาม, มีพระราชดำรัสถาม (พระมหากษัตริย์, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) (มีพระราชปุจฉา หมายถึง ถามข้อปัญหาธรรมอย่างเป็นทางการ ใช้แก่ พะมหากษัตริย์ และกรมพระราชวังบวร)
  • มีรับสั่งถาม (พระบรมราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า)
  • ทรงถาม (พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)
คำตัดสิน
  • พระบรมราชวินิจฉัย (พระราชา)
ตัดสินใจ[10]
  • ตัดสินพระราชหฤทัย (พระมหากษัตริย์, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
  • ตัดสินพระหฤทัย (พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)
วินิจฉัย[11]
  • มีพระบรมราชวินิจฉัย (พระมหากษัตริย์)
  • มีพระราชวินิจฉัย (สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
  • มีพระวินิจฉัย (พระบรมราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า)
  • ทรงวินิจฉัย (พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)
คำทักทาย
  • พระราชปฏิสันถาร (พระราชา, พระราชินี)
  • พระปฏิสันถาร (พระราชวงศ์ชั้นสูง)
  • พระดำรัสทักทาย (พระราชวงศ์)
คำพูดทักทาย[12]
  • พระราชดำรัสปฏิสันถาร (พระมหากษัตริย์, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมุฏราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
  • พระดำรัสปฏิสันถาร (พระบรมราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า)
ผลงานประพันธ์ [13]
  • พระราชนิพนธ์ (พระมหากษัตริย์, พระราชินี, พระยุพราช, พระบรมราชกุมาร, พระบรมราชกุมารี, พระราชชนก, พระราชชนนี) เช่น
    • พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์ "ไชยเชษฐ์" "สังข์ทอง" "ไกรทอง" "มณีพิชัย" "คาวี"
    • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ "ไกลบ้าน"
    • พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ "เวณิสวานิช"
  • พระนิพนธ์ (พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า - พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า) เช่น
    • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ "ความทรงจำ"
    • สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ทรงพระนิพนธ์ "จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์" "พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕" "เจ้านายเล็กๆ-ยุวกษัตริย์" "ไปรษณียบัตรเจ้าฟ้า"
  • นิพนธ์ (หม่อมเจ้า) เช่น
    • หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ทรงนิพนธ์ "ละครแห่งชีวิต" "วิมานทลาย"

อ้างอิง

แก้ไข
  1. ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). ราชาศัพท์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. หน้า ๑๐๘
  2. ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). เล่มเดิม. หน้า ๑๒๙
  3. ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). เล่มเดิม. หน้า ๑๒๐
  4. ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). เล่มเดิม. หน้า ๑๓๒
  5. ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). เล่มเดิม. หน้า ๑๔๔
  6. ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). เล่มเดิม. หน้า ๑๔๕
  7. ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). เล่มเดิม. หน้า ๘๕
  8. ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). เล่มเดิม. หน้า ๑๔๑-๑๔๒
  9. ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). เล่มเดิม. หน้า ๑๒๒
  10. ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). เล่มเดิม. หน้า ๑๑๙
  11. ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). เล่มเดิม. หน้า ๑๓๙
  12. ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). เล่มเดิม. หน้า ๗๗
  13. เดลินิวส์

ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๐). ราชาศัพท์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ดูเพิ่ม

แก้ไข
 
วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia