ภาษาไทย แก้ไข

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์โอ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงoo
ราชบัณฑิตยสภาo
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/ʔoː˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1 แก้ไข

คำนาม แก้ไข

โอ

  1. ส้มโอ
  2. ชื่อลูกจันชนิดหนึ่ง

รากศัพท์ 2 แก้ไข

คำนาม แก้ไข

โอ

  1. ชื่อปลาทะเลขนาดใหญ่หลายชนิดในวงศ์ Thunnidae อยู่เป็นฝูง ห่างฝั่ง รูปร่างเพรียวคล้ายกระสวย บริเวณฐานครีบหูมีกลุ่มเกล็ดเล็ก ๆ ครีบหางเว้าลึก เช่น โอหม้อ หรือ โอดำ (Thunnus tonggol) โอลาย (Euthynnus affinis)

รากศัพท์ 3 แก้ไข

ยืมมาจากภาษาจีนยุคกลาง (MC 'uw); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩋᩰ (โอ) หรือ (โอ), ภาษาลาว ໂອ (โอ); เทียบภาษามอญ အော (โอ)

คำนาม แก้ไข

โอ

  1. ภาชนะเครื่องเขินอย่างหนึ่งสำหรับใส่ของ รูปคล้ายขัน มีขนาดต่าง ๆ, ต่อมาได้อนุโลมเรียกขันเคลือบทรงสูงว่า ขันโอ
    ถ้วยโถโอชาม

รากศัพท์ 4 แก้ไข

เลียนเสียงธรรมชาติ

คำอุทาน แก้ไข

โอ

  1. คำที่เปล่งออกมาแสดงอาการว่านึกอะไรขึ้นมาได้ หรือแสดงว่าสลดใจเป็นต้น

รากศัพท์ 5 แก้ไข

ยืมมาจากภาษาอังกฤษ o (ชื่อเรียกอักษร O)

คำนาม แก้ไข

โอ

  1. อักษรละติน O/o

ดูเพิ่ม แก้ไข

รากศัพท์ 6 แก้ไข

ตัดทอนจาก โอเค, จากภาษาอังกฤษ OK (ตกลง) ย่อมาจาก all correct (ครบถ้วนถูกต้อง)

คำกริยา แก้ไข

โอ

  1. อยู่ในเกณฑ์ดี
  2. เห็นด้วย, ตกลง

คำอุทาน แก้ไข

โอ

  1. เห็นด้วย, ตกลง

ภาษากฺ๋อง แก้ไข

การออกเสียง แก้ไข

คำนาม แก้ไข

โอ

  1. คน