ดูเพิ่ม: เอิก และ เอิ๋ก

ภาษาไทย แก้ไข

รากศัพท์ แก้ไข

ยืมมาจากภาษาสันสกฤต एक (เอก) หรือภาษาบาลี เอก

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์เอก[เสียงสมาส]
เอ-กะ-
[เสียงสมาส]
เอก-กะ-
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงèekee-gà-èek-gà-
ราชบัณฑิตยสภาeke-ka-ek-ka-
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/ʔeːk̚˨˩/(สัมผัส)/ʔeː˧.ka˨˩.//ʔeːk̚˨˩.ka˨˩./

เลข แก้ไข

เอก

  1. (ภาษาหนังสือ) หนึ่ง
  2. ชั้นที่ 1 (ใช้เกี่ยวกับลำดับชั้นหรือขั้นของยศ ตำแหน่ง คุณภาพ หรือวิทยฐานะ สูงกว่า โท)
    ข้าราชการชั้นเอก
    ปริญญาเอก

คำคุณศัพท์ แก้ไข

เอก

  1. เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ ◌่ ว่า ไม้เอก
  2. ดีเลิศ
    กวีเอก
  3. สำคัญ
    ตัวเอก
  4. เรียกระนาดที่มีเสียงแกร่งกร้าวกว่าระนาดทุ้ม มีไม้แข็ง 2 อันสำหรับตี ว่า ระนาดเอก

คำนาม แก้ไข

เอก

  1. (โบราณ) เรียกลูกหญิงคนที่ 7 ว่า ลูกเอก, คู่กับ ลูกชายคนที่ 7 ว่า ลูกเจ็ด

ภาษาบาลี แก้ไข

รูปแบบอื่น แก้ไข

รากศัพท์ แก้ไข

อิ +‎ ณฺวุ หรือ อิ +‎ อก

เลข แก้ไข

เอก

  1. หนึ่ง

การผันรูป แก้ไข

แจกตามแบบ คุณนาม