ดูเพิ่ม: ส.ก., สก, สกี, สัก, สึก, และ สุกี้

ภาษาไทย แก้ไข

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์สุก
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsùk
ราชบัณฑิตยสภาsuk
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/suk̚˨˩/(สัมผัส)
คำพ้องเสียง

รากศัพท์ 1 แก้ไข

ยืมมาจากภาษาจีนยุคกลาง (MC dzyuwk); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ສຸກ (สุก), ภาษาไทใหญ่ သုၵ်း (สุ๊ก), ภาษาอาหม 𑜏𑜤𑜀𑜫 (สุก์), ภาษาจ้วง sug; เทียบภาษาสุ่ย sog, ภาษาไหลดั้งเดิม *sʰɯːk

คำกริยา แก้ไข

สุก (คำอาการนาม การสุก หรือ ความสุก)

  1. พ้นจากห่าม
    ผลไม้สุก
  2. เปลี่ยนสภาพจากดิบด้วยกรรมวิธีต่างอย่างต้ม ผัด ย่าง เป็นต้น
    ต้มไก่สุกแล้ว
    ย่างเนื้อให้สุก
  3. ถึงระยะที่ได้ที่หรือแก่จัดแล้ว
    ข้าวในนาสุกเกี่ยวได้แล้ว
    ฝีสุกจนแตก
    ต้อสุกผ่าได้แล้ว
  4. โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น
    ร้อนจนเนื้อตัวจะสุกแล้ว
    ถูกเขาต้มจนสุก
  5. เรียกชายที่บวชเป็นพระภิกษุและสึกแล้วว่า คนสุก
  6. ปลั่งเป็นมันแวววาว
    ทองเนื้อสุกดี

รากศัพท์ 2 แก้ไข

ยืมมาจากภาษาบาลี สุก (นกแก้ว); เทียบภาษาสันสกฤต शुक (ศุก, นกแก้ว)

คำนาม แก้ไข

สุก

  1. นกแก้ว, นกแขกเต้า

รากศัพท์ 3 แก้ไข

คำกริยา แก้ไข

สุก (คำอาการนาม การสุก)

  1. เดินจบพ้นกระดานไปแล้ว (ใช้แก่การเล่นดวด)

รากศัพท์ 4 แก้ไข

ยืมมาจากภาษาบาลี สุกฺก (ขาว, สว่าง); เทียบภาษาสันสกฤต शुक्र (ศุกฺร, ขาว, สว่าง)

รูปแบบอื่น แก้ไข

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์[เสียงสมาส]
สุก-กะ-
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsùk-gà-
ราชบัณฑิตยสภาsuk-ka-
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/suk̚˨˩.ka˨˩./

คำคุณศัพท์ แก้ไข

สุก

  1. ขาว, สว่าง, สะอาด, ดี
    สุกธรรม