ภาษาไทย แก้ไข

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์สับ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsàp
ราชบัณฑิตยสภาsap
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/sap̚˨˩/(สัมผัส)
คำพ้องเสียง

รากศัพท์ 1 แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩈᩢ᩠ᨷ (สับ), ภาษาลาว ສັບ (สับ), ภาษาไทใหญ่ သပ်း (สั๊ป), ภาษาจ้วง saep (สับ, หั่นเป็นท่อนๆ)

คำกริยา แก้ไข

สับ (คำอาการนาม การสับ)

  1. เอาของมีคมเช่นมีดหรือขวานฟันลงไปโดยแรงหรือซอยถี่
    สับกระดูกหมู
    สับมะละกอ
  2. กิริยาที่เอาสิ่งมีปลายงอนหรือปลายแหลมเจาะลงไป
    เอาขอสับช้าง
  3. เอาสิ่งที่เป็นขอเกี่ยวเข้าไว้
    สับขอหน้าต่าง
  4. (ในเชิงเปรียบเทียบ) อาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น
    สับด้วยสันมือ
    ถูกโขกถูกสับ
  5. ทำเชือกให้เข้าเกลียวตั้งแต่ 3 เกลียวขึ้นไปให้เขม็งแน่น เรียกว่า สับเชือก
  6. เปลี่ยนแทนที่กัน
    วางของสับที่
    ใส่รองเท้าสับข้าง
    เต้นรำสับคู่
    สับตัวจำเลย
  7. (ภาษาปาก, สแลง) ตำหนิ, ด่า

คำสืบทอด แก้ไข

  • ญัฮกุร: ซับ
คำพ้องความ แก้ไข

รากศัพท์ 2 แก้ไข

คำคุณศัพท์ แก้ไข

สับ

  1. (โบราณ) สรรพ
  2. (โบราณ) ถ้วน, พอดี
    ห้าสองหนเป็นสิบสับ
    (มูลบทบรรพกิจ)

คำกริยาวิเศษณ์ แก้ไข

สับ

  1. (โบราณ) สรรพ