ภาษาไทย แก้ไข

รากศัพท์ แก้ไข

ยืมมาจากภาษาบาลี สปฺปาย; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ສະບາຍ (สะบาย), ภาษาเขมร សប្បាយ (สบฺบาย)

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์สะ-บายส̄ะ-บาย
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsà-baaisa-baai
ราชบัณฑิตยสภาsa-baisa-bai
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/sa˨˩.baːj˧/(สัมผัส)/sa˧.baːj˧/(สัมผัส)

คำกริยาวิเศษณ์ แก้ไข

สบาย (คำอาการนาม ความสบาย)

  1. อยู่ดีกินดี
    เดี๋ยวนี้เขาสบายขึ้น ลูก ๆ ทำงานหมดแล้ว
  2. เป็นสุขกายสุขใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ สุข เป็น สุขสบาย
    เวลานี้เขาสบายแล้ว เพราะมีฐานะดีขึ้น ไม่มีวิตกกังวลใด ๆ
  3. สะดวก, มักใช้เข้าคู่กับคำ สะดวก เป็น สะดวกสบาย
    ทำตามสบายไม่ต้องเกรงใจ
    มีรถส่วนตัวสบายกว่าไปรถประจำทาง
  4. พอเหมาะพอดี
    เก้าอี้ตัวนี้นั่งสบาย
  5. ไม่ลำบากกาย
    เขาทำงานสบายขึ้น ไม่ต้องแบกหามเหมือนเมื่อก่อน
  6. ไม่เจ็บไม่ไข้
    เวลานี้เขาสบายดี ไม่ป่วยไข้
  7. มีความพอใจเมื่อได้สัมผัส
    สบายหู
    สบายตา
    สบายกาย