วิธีใช้:คู่มือในการเขียน

รูปแบบมาตรฐาน แก้ไข

นี่เป็นรูปแบบมาตรฐานสำหรับใช้จำกัดความหมายของทุกคำทุกภาษา

  • ภาษา...
    • ชื่อภาษาใช้ตามที่ปรากฏใน รายชื่อภาษา (ข้อมูลจากมอดูล) ยกเว้น "ข้ามภาษา" จะใช้ตามนี้
    • ชื่อภาษาใดที่ยังไม่ได้แปล ให้แจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อพิจารณาชื่อที่เหมาะสม
    • ให้ "ข้ามภาษา" ขึ้นอันดับแรกเสมอ
    • ให้ "ภาษาไทย" ขึ้นก่อน (โดยหลังจากข้ามภาษาถ้ามี) เนื่องจากที่นี่เป็นวิกิพจนานุกรมภาษาไทย
    • ให้ "ภาษาอื่น ๆ" ตามหลังภาษาไทย โดยเรียงตามชื่อเรียกในภาษาไทย ก-ฮ ที่ได้ตั้งไว้ในระบบ
    • อาจใส่แม่แบบ {{wp}} ถ้ามีบทความวิกิพีเดียชื่อเดียวกันในภาษานั้น
    • อาจใส่รูปภาพประกอบเพิ่มได้

  • รูปแบบอื่น (ถ้ามี)
    • ถ้าคำหนึ่งสามารถสะกดได้หลายแบบ และปรากฏในหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร (เช่นพจนานุกรม เอกสารทางการ หนังสือโบราณ) ใส่รายการคำไว้ในรูปแบบอื่น (แต่ละคำสามารถมีหน้าของตัวเอง)
    • คำที่อยู่ในรายการนี้จะต้องมีรากศัพท์และความหมายเดียวกัน

  • รากศัพท์ (ถ้ามี)
    • ใช้แม่แบบ {{der}}/{{bor}}/{{inh}}/{{calque}} กรณีที่มาจากภาษาอื่น (สำหรับ bor ใช้เฉพาะตัวแรกเท่านั้น ตัวต่อไปใช้ der/inh)
    • หากเป็นคำประสม ใช้แม่แบบ {{com}}
    • ถ้ายืมคำเป็นทอด ๆ ใช้ , คั่นแต่ละราก
    • ถ้ามีหลายรากศัพท์ให้ขึ้นต้นหัวข้อว่า รากศัพท์ 1, รากศัพท์ 2 ฯลฯ

  • การออกเสียง (ถ้ามี)
    • ใช้แม่แบบ {{IPA}} หรือแม่แบบการออกเสียงเฉพาะภาษานั้น (เช่น th-pron)
    • กรณีคำนั้นมีรากศัพท์หลายรากแต่ออกเสียงเหมือนกันทั้งหมด ให้เขียนหัวข้อการออกเสียงก่อนแจกแจงแต่ละราก

  • ชนิดของคำ (ขึ้นหัวข้อว่า คำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ ฯลฯ)
    • ใช้แม่แบบ {{head}} หรือแม่แบบชนิดของคำเฉพาะภาษานั้น (เช่น th-noun)
    • ระบุความหมายให้ตรงชนิดของคำ ความหมายต่างกันให้แยกข้อ
    • ใช้แม่แบบ {{lb}} เพื่อระบุบริบทของการใช้งาน โดยขึ้นต้นก่อนความหมายนั้น ๆ
    • ใช้แม่แบบ {{ux}} แสดงตัวอย่างการใช้คำ เน้นคำหลักภายในด้วยตัวหนา (แม่แบบ ตย กำลังจะเก็บกวาดให้ไปใช้ ux ทั้งหมด)

  • คำแปลภาษาอื่น (สำหรับคำในภาษาไทยเท่านั้น)
    • ใส่คำแปลแบ่งตามความหมายและชนิดของคำ ใช้ {{trans-top|(คำอธิบาย)}}, {{trans-mid}}, {{trans-bottom}} เพื่อสร้างตารางคำแปลภาษาอื่น

  • ดูเพิ่ม (ถ้ามี)
    • คำอื่น ๆ เช่น คำที่สะกดใกล้เคียง มีความหมายใกล้เคียง หรือมีรากศัพท์เดียวกัน

  • อ้างอิง (ถ้ามี)
    • เขียนด้วย {{รายการอ้างอิง}} เพื่อรวมจุดอ้างอิงในข้อความ
    • หรือระบุแหล่งอ้างอิงเป็นข้อ ๆ กรณีไม่ได้เจาะจงจุดอ้างอิง

  • หมวดหมู่
    • ไม่ต้องใส่หมวดหมู่ชนิดของคำ หรือหมวดหมู่ของรากศัพท์ เพราะได้ใส่อัตโนมัติโดยแม่แบบข้างบนแล้ว
    • หมวดหมู่ของภาษาที่เกี่ยวข้อง ใส่ไว้ที่ท้ายสุดของภาษานั้น เพื่อให้สะดวกในการแก้ไข
    • หมวดหมู่อื่น ๆ ที่ไม่เจาะจงภาษา ใส่ไว้ท้ายสุดของหน้า

นโยบายอื่น แก้ไข

  • หน้าเปลี่ยนทาง ใช้สำหรับโยงไปยังคำหลัก เช่น นกขุนทอง→ขุนทอง ปลาดุก→ดุก
    • บางกรณีใช้สำหรับโยงจากลำดับอักขระที่ผิดไปยังถูก (หรือที่เป็นมาตรฐาน)
  • ระวังการขึ้นต้นอักษรตัวใหญ่หรือตัวเล็ก ซึงอาจมีความหมายต่างกันระหว่างภาษา ให้แต่ละคำมีหน้าของตัวเอง อาทิ tag (ป้าย) ในภาษาอังกฤษ กับ Tag (วัน) ในภาษาเยอรมัน
  • ไม่มีการแก้ความกำกวมเหมือนวิกิพีเดีย ศัพท์คำหนึ่งซึ่งอาจมีหลายชนิดหรือหลายภาษา ให้เขียนรวมกันหมดในหน้าเดียวแล้วแยกเป็นหัวข้อไป เช่น
    • ฉัน ไม่ต้องแยกเป็นหน้า ฉัน (คำสรรพนาม) กับ ฉัน (คำกริยา) ให้แบ่งหัวข้อตามชนิด
    • café ไม่ต้องแยกเป็นหน้า café (ภาษาอังกฤษ) กับ café (ภาษาฝรั่งเศส) ให้แบ่งหัวข้อตามภาษา
  • ภาษาถิ่นต่าง ๆ ให้แยกออกจากกัน เช่น ภาษาคำเมือง (nod) ภาษาอีสาน (tts) ภาษาปักษ์ใต้ (sou) เท่าที่มีในรหัสภาษาของตัวเอง
    • ยกเว้น ภาษาจีน (zh) ซึ่งภายในเนื้อหาจะมีภาษาถิ่นอีกมากมาย ซึ่งแม่แบบต่าง ๆ ของภาษาจีนได้จัดหมวดหมู่ของภาษาถิ่นไว้ด้วยแล้ว
  • ห้ามตั้งชื่อหน้าที่มีตัวอักษรจาก Private Use Areas (PUA) ทุกช่วง เนื่องจาก PUA เป็นพื้นที่อิสระที่ผู้พัฒนาฟอนต์จะใส่รูปร่างอย่างใดก็ได้ ซึ่งแต่ละฟอนต์จะแสดงผลไม่เหมือนกัน
  • ฐ/ญ ไม่มีเชิง มีให้ใช้บน PUA คือ (U+F700) และ (U+F70F) สำหรับแสดงผลเท่านั้น ห้ามใช้ตั้งชื่อหน้า เพราะจะเชื่อมโยงไม่ถึงกัน (การตั้งชื่อหน้าให้ใช้ ฐ/ญ ปกติตามกฎเดิม)
    • สามารถทำลิงก์จาก ฐ/ญ ไม่มีเชิงได้ โดยใช้แม่แบบระบุภาษา (เช่น {{l}}) สำหรับภาษาบาลี (pi) ภาษาสันสกฤต (sa) ภาษามลายูแบบปัตตานี (mfa) ซึ่งจะเชื่อมโยงไปยัง ฐ/ญ ปกติ โดยอัตโนมัติ
    • าน, ปฺา (ภาษาบาลี) จะเชื่อมโยงไปที่ ฐาน, ปญฺญา