ภาษาไทย แก้ไข

รูปแบบอื่น แก้ไข

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์วัน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงwan
ราชบัณฑิตยสภาwan
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/wan˧/(สัมผัส)
คำพ้องเสียง

รากศัพท์ 1 แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *ŋwanᴬ², จากภาษาไทดั้งเดิม *ŋwanᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩅᩢ᩠ᨶ (วัน), ภาษาลาว ວັນ (วัน), ภาษาไทลื้อ ᦞᧃ (วัน), ภาษาไทใหญ่ ဝၼ်း (วั๊น), ภาษาคำตี้ ဝꩫ်း, ภาษาไทใต้คง ᥝᥢᥰ (วั๊น), ภาษาไทดำ ꪫꪽ (วัน), ภาษาอาหม 𑜈𑜃𑜫 (บน์), ภาษาจ้วง ngoenz, ภาษาปู้อี nguanz, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง vaenz; เทียบภาษาสุ่ย vanl, ภาษาเบดั้งเดิม *vɨnᴬ², ภาษาไหลดั้งเดิม *hŋwən (วัน; กลางวัน; เที่ยงวัน; ดวงอาทิตย์)

คำนาม แก้ไข

วัน

  1. ระยะเวลา 24 ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำรุ่ง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงคืน
    วันเฉลิมพระชนมพรรษาหยุดราชการ 1 วัน
  2. ระยะเวลา 12 ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ เรียกว่า กลางวัน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า วัน, ตรงข้ามกับ คืน
    เขาไปสัมมนาที่พัทยา 2 วัน 1 คืน
  3. ช่วงเวลากลางวัน
    เช้าขึ้นมาก็รีบไปทำงานทุกวัน
  4. (กฎหมาย) เวลาทำการตามที่ได้กำหนดขึ้นโดยกฎหมาย คำสั่งศาล หรือระเบียบข้อบังคับ หรือเวลาทำการตามปรกติของกิจการนั้นแล้วแต่กรณี (ใช้ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้า และการอุตสาหกรรม)
คำพ้องความ แก้ไข
คำแปลภาษาอื่น แก้ไข
ดูเพิ่ม แก้ไข

รากศัพท์ 2 แก้ไข

คำนาม แก้ไข

วัน

  1. ชื่อแมลงหลายชนิด หลายสกุล หลายวงศ์ ในอันดับ Diptera มีปีก 1 คู่ ลักษณะบางใส มีอวัยวะเป็นติ่งแทนปีกคู่ที่ 2 ช่วยในการทรงตัว ปากเป็นชนิดซับดูด หนวดมี 3 ปล้อง ปล้องปลายใหญ่สุดและมีขน 1 เส้น ที่พบทั่วไป เช่น แมลงวันบ้าน (Musca domestica Linn.) ในวงศ์ Muscidae ลำตัวยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร สีน้ำตาลดำ กินอาหารหลากหลาย

รากศัพท์ 3 แก้ไข

ยืมมาจากภาษาบาลี วน (ป่าไม้)

คำนาม แก้ไข

วัน

  1. ป่าไม้, ดง
    อัมพวัน
    ป่ามะม่วง