ภาษาไทย แก้ไข

 
วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

รากศัพท์ แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ɲuŋᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨿᩩᨦ (ยุง), ภาษาลาว ຍຸງ (ยุง), ภาษาไทลื้อ ᦍᦳᧂ (ยุง), ภาษาไทใหญ่ ယုင်း (ยุ๊ง), ภาษาไทดำ ꪑꪴꪉ (ญุง), ภาษาไทใต้คง ᥕᥧᥒᥰ (ยู๊ง), ภาษาอ่ายตน ယုင် (ยุง์), ภาษาอาหม 𑜐𑜤𑜂𑜫 (ญุง์), ภาษาจ้วง nyungz, ภาษาจ้วงแบบหนง nyongz, ภาษาแสก ญุ๊ง; เทียบภาษาไหลดั้งเดิม *C-ɲuːŋ

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์ยุง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงyung
ราชบัณฑิตยสภาyung
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/juŋ˧/(สัมผัส)

คำนาม แก้ไข

ยุง (คำลักษณนาม ตัว)

  1. วงศ์ Culicidae โดยทั่วไปลำตัวยาว 3-6 มิลลิเมตร มีปีก 1 คู่ ปีกมีส่วนคล้ายเกล็ดปกคลุมอยู่ตามเส้นปีกและอาจคลุมไปถึงหัวและลำตัวด้วย หนวดยาวลักษณะเป็นพู่ พู่ขนของเพศเมียสั้น ของเพศผู้ยาว ปากเป็นชนิดเจาะดูด เฉพาะตัวเมียดูดกินเลือดและเป็นพาหะนำโรคสู่คนและสัตว์ เพศผู้ดูดกินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ เช่น ยุงรำคาญ ในสกุล Culex ยุงลาย ในสกุล Aedes ยุงก้นปล่อง ในสกุล Anopheles.

ภาษาคำเมือง แก้ไข

คำนาม แก้ไข

ยุง

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨿᩩᨦ (ยุง)