ภาษาไทย แก้ไข

รากศัพท์ แก้ไข

ยืมมาจากภาษาเขมร ទ្រង់ (ทฺรง̍)

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์ซง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsong
ราชบัณฑิตยสภาsong
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/soŋ˧/(สัมผัส)

คำนาม แก้ไข

ทรง

  1. รูปร่าง
  2. แบบ

คำกริยา แก้ไข

ทรง (คำอาการนาม การทรง)

  1. ตั้งอยู่ได้
  2. จำ
  3. รองรับ
  4. มี
  5. คงอยู่
  6. (ราชาศัพท์) มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง
  7. (ราชาศัพท์) ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม หมายถึง กษัตริย์
  8. (ราชาศัพท์) ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ
  9. (ราชาศัพท์) ใช้นำหน้าคำกริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์
  10. (ราชาศัพท์) ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คำว่า ทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก

คำคุณศัพท์ แก้ไข

ทรง (คำอาการนาม ความทรง)

  1. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวางแล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง