ดูเพิ่ม: ชัง, ชั่ง, ชิง, ชิ้ง, ชีง, และ ช๋ง

ภาษาไทย แก้ไข

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์ชง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงchong
ราชบัณฑิตยสภาchong
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/t͡ɕʰoŋ˧/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงชงฆ์

รากศัพท์ 1 แก้ไข

จากภาษาฮกเกี้ยน (chhiong, เทน้ำ, ผสมน้ำ)[1]

คำกริยา แก้ไข

ชง (คำอาการนาม การชง)

  1. เทน้ำร้อนลงบนใบชาหรือสมุนไพรบางชนิดเป็นต้นเพื่อสกัดสาร กลิ่น หรือรสที่ต้องการ
    ชงชาจีน
    ชงชาดอกคำฝอย
  2. ใช้น้ำร้อนทำให้ละลาย, ผสมเครื่องดื่มประเภทผงด้วยน้ำร้อนและปรุงรสให้พร้อมที่จะรับประทาน
    ชงนม
    ชงกาแฟ
  3. เทน้ำร้อนจากกาลงในภาชนะอื่น ในคำว่า ชงน้ำร้อน
    ชงน้ำร้อนใส่กระติก
  4. (ภาษาปาก) เตรียมการให้, ดำเนินการให้
    เขาชงเรื่องให้รัฐมนตรีลงนาม
  5. (ภาษาปาก) เตะลูกบอลให้ผู้อื่นทำประตู
    เขาทำแฮ้ตถริกได้แต่กลับถล่มตัวว่าเพื่อนร่วมทีมชงลูกได้ดี

รากศัพท์ 2 แก้ไข

ยืมมาจากภาษาแต้จิ๋ว (chhiong, ชน, ปะทะ)[1]; เป็นศัพท์โหราศาสตร์

คำกริยา แก้ไข

ชง (คำอาการนาม การชง)

  1. ขัดกัน, เป็นอริกัน, เป็นศัตรูกัน
    ดวงรัฐมนตรีกับปลัดคงชงกัน จึงมีเรื่องขัดแย้งกันอยู่เรื่อย

คำคุณศัพท์ แก้ไข

ชง

  1. อัปมงคล, โชคร้าย
    ปีชง

อ้างอิง แก้ไข

ภาษาปักษ์ใต้ แก้ไข

คำกริยา แก้ไข

ชง (คำอาการนาม ก่านชง)

  1. งง, ชะงัก, ประหม่า