ดูเพิ่ม: ก̂า, กา, ก่า, ก่ำ, ก้า, ก้ำ, ก๋า, และ ก๋ำ

ภาษาไทย แก้ไข

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์กำ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงgam
ราชบัณฑิตยสภาkam
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kam˧/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงกรรม

รากศัพท์ 1 แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *kamᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨠᩣᩴ (กาํ), ภาษาเขิน ᨠᩣᩴ (กาํ), ภาษาลาว ກຳ (กำ), ภาษาไทลื้อ ᦂᧄ (กัม), ภาษาไทใหญ่ ၵမ် (กัม), ภาษาพ่าเก ကံ (กํ), ภาษาอาหม 𑜀𑜪 (กํ), ภาษาจ้วง gaem, ภาษาแสก กั๋ม

คำกริยา แก้ไข

กำ (คำอาการนาม การกำ)

  1. งอนิ้วมือทั้ง 4 ให้จดอุ้งมือ
  2. เอานิ้วมือทั้ง 5 โอบรอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, อาการที่งอนิ้วมือทั้ง 5 รวบสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้

คำนาม แก้ไข

กำ

  1. มือที่กำเข้า
  2. ปริมาณของเต็มมือที่กำเข้า, กำมือ ก็ว่า
  3. มาตราวัดรอบของกลม เมื่อวัดได้เท่าไร แล้วทบกึ่งได้ยาวราว 10 เซนติเมตร เช่น ของกลมวัดรอบได้ยาว 20 เซนติเมตร ของกลมนั้นเรียกว่ามีขนาด 1 กำ, มี 3 ชนิด คือ 1. กำสลึง (ยาว 4 นิ้ว 1 กระเบียด หรือ 10.75 เซนติเมตร) 2. กำเฟื้อง (ยาว 4 นิ้วครึ่งกระเบียด หรือ 10.5 เซนติเมตร) 3. กำสองไพ (ยาว 4 นิ้ว 2 หุน หรือ 10.25 เซนติเมตร)

คำลักษณนาม แก้ไข

กำ

  1. เรียกผักหรือหญ้าที่มัดไว้
    ผักกำหนึ่ง
    หญ้า 2 กำ

รากศัพท์ 2 แก้ไข

คำนาม แก้ไข

กำ

  1. ซี่ล้อรถหรือเกวียน

รากศัพท์ 3 แก้ไข

คำนาม แก้ไข

กำ

  1. (โบราณ, ปัจจุบันเป็นภาษาปาก) กรรม
    ไข้เจ็บหมอตั้งกำไว้

ภาษาคำเมือง แก้ไข

การออกเสียง แก้ไข

คำนาม แก้ไข

กำ

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨣᩤᩴ (คาํ)