ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โลก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Teetaweepo (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่: == {{หน้าที่-th|นาม}} == '''โลก, โลก- ๑''' ''(ราก)'' [โลก, โลกะ-, โลกกะ-] ''น.'' แผ่...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:08, 24 ตุลาคม 2550

แม่แบบ:หน้าที่-th

โลก, โลก- ๑ (ราก) [โลก, โลกะ-, โลกกะ-] น. แผ่นดิน (ป., ส.);

  • โลก ๒ (ภูมิ) (ธรณี) น. ดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ในระบบสุริยะ เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ลักษณะอย่างรูปทรงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางแนวเส้นศูนย์สูตรประมาณ 12,755 กิโลเมตร และแนวขั้วโลกประมาณ 12,711 กิโลเมตร มีเนื้อที่พื้นผิวประมาณ 510,903,400 กิโลเมตร;
  • โลก, โลก- ๓ น. โดยปริยายหมายถึง หมู่มนุษย์ เช่น ให้โลกนิยม ทั้งทางโลกและทางธรรม, ประชาคม เช่น โลกของเวทมนตร์;
  • โลก, โลก- ๔ น. ส่วนหนึ่งแห่งสกลจักรวาล เช่น มนุษยโลก [มะนุดสะยะ-] เทวโลก พรหมโลก [พรมมะ-] โลกพระอังคาร;
  • โลก, โลก- ๕ (ชีว) น. อาณาบริเวณ, ชีวบริเวณ เช่น โลกของสิ่งมีชีวิต โลกของมหาสมุทร. (อ. sphere).

คำพ้องความหมาย

คำแปล

ดาวเคราะห์โลก

แม่แบบ:บน

แม่แบบ:กลาง

แม่แบบ:ล่าง

ส่วนหนึ่งแห่งสกลจักรวาล, หมู่มนุษย์

แผ่นดิน

ชีวบริเวณ

คำประสม และคำใกล้เคียง

  • โลกเชษฐ์ [โลกกะ-] น. "ผู้เป็นใหญ่ในโลก" ทางพุทธศาสนาหมายถึง พระพุทธเจ้า. (ส. โลกเชฺยษฺฐ; ป. โลกเชฏฺฐ).
  • โลกธรรม [โลกกะ-] น. เรื่องของโลก, ธรรมดาของโลก ทางพุทธศาสนามี 8 ประการ คือ 1. มีลาภ 2. เสื่อมลาภ 3. มียศ 4. เสื่อมยศ 5. สรรเสริญ 6. นินทา 7. สุข 8. ทุกข์. (ส. โลกธรฺม; ป. โลกธมฺม).
  • โลกธาดา [โลกกะ-] น. พระผู้สร้างโลก. (ส. โลกธาตฺฤ).
  • โลกธาตุ [โลกกะ-] น. แผ่นดิน. (ป., ส.).
  • โลกนาถ [โลกกะ-] น. ผู้เป็นที่พึ่งของโลก, ทางพุทธศาสนาหมายถึง พระพุทธเจ้า. (ป., ส.).
  • โลกบาล [โลกกะ-] น. หัวหน้าเทวดาในสวรรคชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้งสี่ เรียกเต็มว่า ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวจัตุโลกบาล ได้แก่ 1. ท้าวธตรฐ จอมภูติ รักษาโลกทิศบูรพา 2. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดา รักษาโลกทิศทักษิณ 3. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกทิศประจิม 4. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกทิศอุดร. (ป., ส. โลกปาล).
  • โลกย์, โลกยะ, โลกัย ว. ของโลก.
  • โลกวัชชะ [โลกะ-] น. โทษทางโลก, อาบัติที่เป็นโทษทางโลก, ข้อเสียหายที่ชาวโลกติเตียน สิ่งที่ภิกษุหรือคนทั่วไปที่ไม่ใช่ภิกษุทำก็เป็นความผิดความเสียหายเหมือนกัน เช่น ทำโจรกรรม ฆ่ามนุษย์ ทะเลาะวิวาท. (ป.).
  • โลกวิทู [โลกะ-] น. "ผู้รู้แจ้งแห่งโลก" ทางพุทธศาสนาหมายถึง พระพุทธเจ้า. (ป., ส. โลก + วิทุ).
  • โลกสถิติ [โลกะ-] น. ความเป็นอยู่ของโลก. (ส.).
  • โลกอุดร, โลกุตระ [โลกอุดอน, โลกุตตะระ] ว. เหนือโลก, พ้นวิสัยของโลก, โลกุตร-, โลกุตระ ก็เรียก. (ป., ส. โลก + อุตฺตร).
  • โลกัตถจริยา [โลกัดถะจะ-] น. ความประพฤติเป็นประโยชน์แห่งโลก. (ป. โลก + อตฺถ + จริย).
  • โลกันตร์ น. นรกขุมหนึ่ง เป็นที่ลงโทษหนักที่สุดไม่ผุดไม่เกิด. (ป. โลกนฺตร ว่า ระหว่างโลก; ส. ว่า โลกอื่น).
  • โลกา (กลอน) น. โลก
  • โลกาธิบดี [-ทิบอดี, -ทิบบอดี] น. ผู้เป็นใหญ่ในโลก. (ป. โลกาธิปติ).
  • โลกาธิปไตย [-ทิปะไต, -ทิบปะไต] น. การถือโลกเป็นใหญ่. (ป. โลกาธิปเตยฺย).
  • โลกานุวัตร น. ความประพฤติตามโลก. (ป. โลกานุวตฺต; ส.โลกานุวฺฤตฺต).
  • โลกาภิวัตน์ น. การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลกไม่ว่าแห่งใดสามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง เนื่องจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นต้น. (ป. โลก + อภิวตฺตน; อ. globalization).
  • โลกามิส น. เครื่องล่อใจให้ติดอยู่ในโลก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส. (ป. โลก + อามิส).
  • โลกยัต น. ลัทธิปรัชญาหนึ่งทางฝ่ายวัตถุนิยมของอินเดีย ที่เชื่อว่าโลกนี้เกิดจากการรวมตัวกันเองของวัตถุธาตุทั้งสี่ ชีวิตเป็นเพียงผลิตผลการวมกันของวัตถุธาตุ เกิดครั้งเดียวตายแล้วสูญ ควรแสวงกามสุขเสียแต่วันนี้, ลัทธินี้ทางพุทธศาสนาจัดเป็นอุจเฉททิฐิ, จารวาก ก็เรียก. (ป., ส.)
  • โลกาวินาศ (โหร) ว. สูญสิ้นความเจริญสวัสดิมงคล ทางโหราศาสตร์ห้ามประกอบการมงคลต่าง ๆ ในวัน ยาม ฤกษ์ ราศี และดิถี ที่เป็นโลกาวินาศ ทั้งนี้ตลอดปีนั้น, ตรงข้ามกับ อธิบดี.
  • โลกิย-, โลกิยะ, โลกีย์ ว. เกี่ยวกับโลก, ทางโลก, ธรรมดาโลก, ของโลก, ตรงข้ามกับ โลกุตระ, เช่น โลกิยธรรม เรื่องโลกิยะ,

โดยปริยายหมายถึง ที่เกี่ยวกับกามารมณ์ เช่น เรื่องโลกีย์. (ป. ; ส. เลากฺย).

  • โลกียวัตร น. ความเป็นไปของสามัญชน. (ป. โลกีย + วตฺตต).
  • โลกียวิสัย น. เรื่องเกี่ยวกับกามารมณ์, เรื่องของคนที่ยังมีกิเลส.
  • โลกียสุข น. ความสุขทางโลก, ความสุขทางกามารมณ์ เช่น การดูมหรสพ.
  • โลกุตร-, โลกุตระ [โลกุดตะระ-] (ดู โลกอุดร).
  • โลกุตรธรรม [โลกุดตะระทำ] น. ธรรมที่พ้นวิสัยของโลก มี 9 อย่าง ได้แก่ มรรคทั้งสี่ ผลทั้งสี่ และนิพพานอีกหนึ่ง.
  • โลกุตรภูมิ [โลกุดตะระ-] น. ภูมิที่พ้นจากโลก; ระดับจิตใจของพระอริยบุคคล.
  • โลเกศ น. ผู้เป็นใหญ่ในโลก, จอมโลก. (ส. ; ป. โลเกส).
  • โลกกลม, โลกมันกลม, โลกมันเล็ก, โลกมันแคบ (ปาก) คำทักทายเมื่อบังเอิญพบกันอีก.
  • โลกแคบ (ปาก) ว. ขาดวิสัยทัศน์, ไม่ทันสมัยนิยม.
  • โลกหน้า น. ชีวิตถัดไปหลังความตาย.
  • เจนโลก ว. ผ่านเหตุการณ์ในโลกมามาก มักใช้กับผู้สูงอายุ.
  • เจ้าโลก (ปาก) น. องคชาติ, จ้าวโลก ก็เรียก.
  • ลูกโลก น. หุ่นจำลองของโลกที่ทำขึ้นเพื่อแสดงรูปทรงสัณฐานของโลก มีแผนที่แสดงตำแหน่งต่าง ๆ บนโลก.
  • หลุดโลก (ปาก) ว. กระทำหรือมักกระทำอย่างพิสดารจากทั่วไป.

ดูเพิ่ม

 
วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

แม่แบบ:โครง