ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาคผนวก:รายการคำราชาศัพท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Teetaweepo (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่: เพื่อให้เข้าใจลำดับคำราชาศัพท์ ควรเข้าใจลำดับพระราชวง...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:53, 9 เมษายน 2551

เพื่อให้เข้าใจลำดับคำราชาศัพท์ ควรเข้าใจลำดับพระราชวงศ์ (และเทียบเท่า) ดังนี้

ลำดับ ๑)
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • พระบาทสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
  • (สมเด็จพระสังฆราช)
ลำดับ ๒)
  • สมเด็จพระราชินี
  • สมเด็จพระราชชนก, สมเด็จพระราชชนนี
  • สมเด็จพระยุพราช
  • สมเด็จพระบรมราชกุมาร, สมเด็จพระบรมราชกุมารี
ลำดับ ๓)
  • สมเด็จเจ้าฟ้า
ลำดับ ๔)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ, พระองค์เจ้า ซึ่งเป็นพระราชโอรส พระราชธิดา ในพระเจ้าอยู่หัวทุกรัชกาล
ลำดับ ๕)
  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ, พระองค์เจ้า ทั้งที่ทรงกรมและไม่ทรงกรม
ลำดับ ๖)
  • พระวรวงศ์เธอ, พระองค์เจ้า ที่ไม่ทรงกรม
ลำดับ ๗)
  • หม่อมเจ้า


ใช้บ่อย

เกิด
  • ทรงพระราชสมภพ (พระราชา, พระราชินี, พระบรมราชชนนี, พระยุพราช, พระบรมราชกุมาร, พระบรมราชกุมารี)
  • ประสูติ, สมภพ (พระราชวงศ์ )

( ข้อยกเว้น วันเกิด เฉพาะสำหรับ พระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระราชินี ใช้ วันพระบรมราชสมภพ )

ป่วย
  • ทรงพระประชวร (พระราชา)
  • ประชวร (เจ้านาย พระราชวงศ์ , พระสังฆราช)
  • อาพาธ (พระ, เณร)
ตาย
  • สวรรคต (พระเจ้าอยู่หัว, พระราชินี, พระบรมราชชนนี, พระยุพราช, พระบรมราชกุมาร, พระบรมราชกุมารี, พระบรมราชวงศ์ที่ได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น)
  • ทิวงคต (พระยุพราช, เจ้าฟ้าที่ได้รับเฉลิมพระยศพิเศษ, พระราชาต่างประเทศ)
  • สิ้นพระชนม์ (สมเด็จเจ้าฟ้า, พระองค์เจ้า, สมเด็จพระสังฆราช)
  • สิ้นชีพิตักษัย, ถึงชีพิตักษัย (หม่อมเจ้า)
  • ถึงแก่พิราลัย, ถึงพิราลัย (เจ้าประเทศราช, สมเด็จเจ้าพระยา)
  • ถึงแก่มรณภาพ, มรณภาพ (พระ, เณร)
  • ถึงแก่อสัญกรรม (องคมนตรี, ประธานองคมนตรี, รัฐมนตรี, นายกรัฐมนตรี, ประธานสภา, เจ้าพระยา, ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า, ประธานาธิบดีต่างประเทศ)
  • ถึงแก่อนิจกรรม (พระยา, ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นปถมาภรณ์มงกุฎไทย/ทุติยจุลจอมเกล้า)
  • ถึงแก่กรรม, สิ้นชีวิต, เสียชีวิต, มรณะ (สุภาพ)


คำพูด
  • พระราชดำรัส, พระราชกระแส (พระราชา)
  • รับสั่ง (พระราชวงศ์)
พูด
  • มีพระราชดำรัส, มีกระแสพระราชดำรัส (พระราชา, พระราชินี, พระยุพราช, พระบรมราชกุมาร, พระบรมราชกุมารี)
  • รับสั่ง, มีพระดำรัส (พระราชวงศ์)
  • ดำรัส, ตรัส (พระองค์เจ้า, หม่อมเจ้า)

( ข้อยกเว้น ตรัส, รับสั่ง สำหรับ พระราชา, พระราชินี, พระบรมราชกุมาร, พระบรมราชกุมารี ใช้ในกรณีเรื่องธรรมดา )

คำสอน
  • พระบรมราโชวาท (พระราชา)
  • พระโอวาท (เจ้านาย พระราชวงศ์)
สอน
  • มีพระบรมราโชวาท (พระราชา)
  • มีพระโอวาท (เจ้านาย พระราชวงศ์)
คำสั่ง
  • พระบรมราชโองการ (พระราชา)
  • พระราชเสาวนีย์, พระเสาวนีย์ (พระราชินี, พระราชชนนี)
  • พระราชโองการ (พระราชาต่างประเทศ)
  • พระราชดำรัสสั่ง (พระยุพราช, พระบรมราชกุมาร, พระบรมราชกุมารี, พระราชวงศ์)
  • พระราชบัณฑูร (พระบรมราชกุมาร)
  • พระราชบัญชา (พระบรมราชกุมารี)
  • พระประศาสน์ (สมเด็จเจ้าพระยา)
  • บัญชา (นายกรัฐมนตรี)
คำอธิบาย
  • พระบรมราชาธิบาย (พระราชา)
  • พระราชาธิบาย (พระราชินี, พระราชชนนี)
คำถาม
  • พระราชปุจฉา
คำตัดสิน
  • พระบรมราชวินิจฉัย (พระราชา)
คำทักทาย
  • พระราชปฏิสันถาร (พระราชา, พระราชินี)
  • พระปฏิสันถาร (พระราชวงศ์ชั้นสูง)
  • พระดำรัสทักทาย (พระราชวงศ์)


ผลงานประพันธ์ [1]
  • พระราชนิพนธ์ (พระราช, พระราชินี, พระยุพราช, พระบรมราชกุมาร, พระบรมราชกุมารี, พระราชชนก, พระราชชนนี) เช่น
    • พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์ "ไชยเชษฐ์" "สังข์ทอง" "ไกรทอง" "มณีพิชัย" "คาวี"
    • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ "ไกลบ้าน"
    • พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ "เวณิสวานิช"
  • พระนิพนธ์ (พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า - พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า) เช่น
    • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ "ความทรงจำ"
    • สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ทรงพระนิพนธ์ "จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์" "พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕" "เจ้านายเล็กๆ-ยุวกษัตริย์" "ไปรษณียบัตรเจ้าฟ้า"
  • นิพนธ์ (หม่อมเจ้า) เช่น
    • หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ทรงนิพนธ์ "ละครแห่งชีวิต" "วิมานทลาย"


ทั่วไป

ก - ฉ

ช - ต

ถ - ป

ผ - ว

ศ - ฮ

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

 
วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia