ผู้ใช้:Octahedron80/คู่มืออักษรไทธรรม

พยัญชนะ
  1. ละ ที่เป็นอักษรตามหรืออักษรควบกล้ำ สามารถใช้ ᩖ หรือ ᩠ + ᩃ ก็ได้ วิกิพจนานุกรมกำหนดให้ ᩖ เป็นรายการหลัก
  2. ละตังหลาย ᩗ ใช้ใน ᨴᩗᩘᩣ (ตังหลาย) เท่านั้น
  3. หาง ᩛ ใช้ตามหลังพยัญชนะบางตัว ในคำบาลี/สันสกฤต
    • หากตามหลังพยัญชนะ ᨭ (ฏ) ᨮ (ฐ) ᨯ (ฑ) ᨰ (ฒ) ᨱ (ณ) จะเท่ากับ ᩠ + ᨮ (+ฐ)
    • หากตามหลังพยัญชนะ ᨲ (ต) ᨳ (ถ) ᨴ (ท) ᨵ (ธ) ᨶ (น) จะเท่ากับ ᩠ + ᨳ (+ถ)
    • หากตามหลังพยัญชนะ ᨷ (ป) ᨹ (ผ) ᨻ (พ) ᨽ (ภ) ᨾ (ม) จะเท่ากับ ᩠ + ᨻ (+พ)
  4. สะใหญ่ ᩔ (สฺส) พบได้ในคำบาลี
  5. พยัญชนะสะกด ปกติจะเขียนไว้เป็นเชิงของตัวอักษรก่อนหน้า ซึ่งอาจเป็นพยัญชนะหรือสระก็ได้
    • เว้นแต่ ตัวอักษรก่อนหน้าเป็นสระล่าง หรือพยัญชนะเชิง จะเขียนเป็นตัวเต็มแทน
    • ตัวสะกด ᩠ + ᨿ (+ย) เขียนเป็นพยัญชนะเชิงเสมอ (สำหรับคำเมือง)
สระ
  1. ใส่สระหลังจาก (กลุ่ม) พยัญชนะต้นเสมอ ตัว ᨿ, ᩅ, ᩋ ที่ปรากฏในรูปสระ ก็ใช้หลักเดียวกัน
  2. ถ้ามีสระหลายรูปประกอบกัน ให้ใส่สระหน้า สระล่าง สระบน และสระหลัง ตามลำดับ
    • ตัวเชิง ᨿ, ᩅ เป็นสระล่าง แต่สระออยของเขิน ᩭ เป็นสระหลัง
  3. สระอำเขียนต่างจากภาษาไทยคือ เขียนลากข้างก่อน แล้วตามด้วยนิคหิต ส่วนวรรณยุกต์อยู่บนพยัญชนะ (ก่อนสระ)

หมายเหตุ: ใช้ ᨠ เป็นพยัญชนะสำหรับเกาะ

1. ᨠᩫ (โอะมีตัวสะกด) ᨠ + ᩫ
2. ᨠᩴ (อัง และนิคหิตของบาลี) ᨠ + ᩴ
3. ᨠᩘ (ใช้ในตังหลาย และ งฺ ของบาลี) ᨠ + ᩘ
4. ᨠᩢ (อะมีตัวสะกด) ᨠ + ᩢ
5. ᨠ᩠ᩅᩫᩡ (อัวะ) ᨠ + ᩠ + ᩅ + ᩫ + ᩡ
6. ᨠ᩠ᩅᩫ (อัวไม่มีตัวสะกด) ᨠ + ᩠ + ᩅ + ᩫ
7. ᨠ᩠ᩅ (อัวมีตัวสะกด) ᨠ + ᩠ + ᩅ
8. ᨠᩬᩴ (ออไม่มีตัวสะกดของคำเมือง)[1] ᨠ + ᩬ + ᩴ
9. ᨠᩬ (ออมีตัวสะกด) ᨠ + ᩬ
10. ᨠᩡ (อะไม่มีตัวสะกด/ไม่เติมก็ได้) ᨠ + ᩡ
11. ᨠᩣ (อาต่ำ) ᨠ + ᩣ
12. ᨠᩤ (อาสูง) ᨠ + ᩤ
13. ᨠᩣᩴ (อำต่ำ) ᨠ + ᩣ + ᩴ
14. ᨠᩤᩴ (อำสูง) ᨠ + ᩤ + ᩴ
15. ᨠᩥ (อิ) ᨠ + ᩥ
16. ᨠᩦ (อี) ᨠ + ᩦ
17. ᨠᩧ (อึ) ᨠ + ᩧ
18. ᨠᩨ (อือ) ᨠ + ᩨ
19. ᨠᩩ (อุ) ᨠ + ᩩ
20. ᨠᩪ (อู) ᨠ + ᩪ
21. ᨠᩮᩡ (เอะไม่มีตัวสะกด) ᨠ + ᩮ + ᩡ
22. ᨠᩮᩢ (เอะมีตัวสะกด) ᨠ + ᩮ + ᩢ
23. ᨠᩮ (เอ) ᨠ + ᩮ
24. ᨠᩯᩡ (แอะไม่มีตัวสะกด) ᨠ + ᩯ + ᩡ
25. ᨠᩯᩢ (แอะมีตัวสะกด) ᨠ + ᩯ + ᩢ
26. ᨠᩯ (แอ) ᨠ + ᩯ
27. ᨠᩮᩬᩥᩡ (เออะ) ᨠ + ᩮ + ᩬ + ᩥ + ᩡ
28. ᨠᩮᩬᩥ (เออไม่มีตัวสะกด หรือเอือมีตัวสะกด) ᨠ + ᩮ + ᩬ + ᩥ
29. ᨠᩮᩥ (เออมีตัวสะกด) ᨠ + ᩮ + ᩥ
30. ᨠᩮᩬᩨᩡ (เออะของเขิน) ᨠ + ᩮ + ᩬ + ᩨ + ᩡ
31. ᨠᩮᩬᩨ (เออของเขิน) ᨠ + ᩮ + ᩬ + ᩨ
32. ᨠᩮᩢᩣ (เอาต่ำ) ᨠ + ᩮ + ᩢ + ᩣ
33. ᨠᩮᩢᩤ (เอาสูง) ᨠ + ᩮ + ᩢ + ᩤ
34. ᨠᩮᩣ (โอต่ำของบาลี) ᨠ + ᩮ + ᩣ
35. ᨠᩮᩤ (โอสูงของบาลี) ᨠ + ᩮ + ᩤ
36. ᨠᩳ (ออไม่มีตัวสะกดของเขิน) ᨠ + ᩳ
37. ᨠᩬᩳ (ออไม่มีตัวสะกดของลื้อ/ยอง) ᨠ + ᩬ + ᩳ
38. ᨠ᩠ᨿᩮᩡ (เอียะ) ᨠ + ᩠ + ᨿ + ᩮ + ᩡ
39. ᨠ᩠ᨿᩮ (เอียไม่มีตัวสะกด) ᨠ + ᩠ + ᨿ + ᩮ
40. ᨠ᩠ᨿ (เอียมีตัวสะกด) ᨠ + ᩠ + ᨿ
41. ᨠᩮᩬᩥᩋᩡ (เอือะ) ᨠ + ᩮ + ᩬ + ᩥ + ᩋ + ᩡ
42. ᨠᩮᩬᩥᩋ (เอือไม่มีตัวสะกด) ᨠ + ᩮ + ᩬ + ᩥ + ᩋ
43. ᨠᩰᩡ (โอะไม่มีตัวสะกด) ᨠ + ᩰ + ᩡ
44. ᨠᩰ (โอไม่มีตัวสะกด) ᨠ + ᩰ
45. ᨠᩰᩫ (โอมีตัวสะกด) ᨠ + ᩰ + ᩫ
46. ᨠᩰᩬᩡ (เอาะไม่มีตัวสะกด) ᨠ + ᩰ + ᩬ + ᩡ
47. ᨠᩬᩢ (เอาะมีตัวสะกด) ᨠ + ᩬ + ᩢ
48. ᨠᩱ (ไอ) ᨠ + ᩱ
49. ᨠᩲ (ใอของคำเมือง) ᨠ + ᩲ
50. ᨠᩭ (ออยของเขิน/ลื้อ/ยอง) ᨠ + ᩭ
51. ᨠᩙ (อังอีกแบบหนึ่ง) ᨠ + ᩙ
52. ᨠᩥᩴ (อิงอีกแบบหนึ่ง) ᨠ + ᩥ + ᩴ

[1] ภาษาคำเมือง: คำพิเศษที่ไม่ต้องสะกดตามนี้ ได้แก่ ᨣᩴ᩵ (ก็) และ ᨷᩴ᩵ (บ่, ไม่)

วรรณยุกต์
  1. ถ้ามีรูปสระหน้า สระล่าง สระบน ให้ใส่วรรณยุกต์หลังจากสระเหล่านี้ครบแล้ว
  2. ถ้าไม่มีสระ หรือมีแต่สระหลัง สามารถใส่วรรณยุกต์หลังจาก (กลุ่ม) พยัญชนะต้นได้ทันที
สัญลักษณ์อื่น ๆ
  1. ไม้ซ้ำ ᩻ ใช้งานได้สามอย่าง ได้แก่
    • คำซ้ำ ให้ใส่ไม้ซ้ำที่ท้ายพยางค์หรือคำที่สะกดสำเร็จแล้ว เหมือนไม้ยมก
    • อักษรนำและอักษรตาม (อย่างคำเขมร) ให้ใส่ไม้ซ้ำหลังจากอักษรตาม (พยัญชนะตัวที่สอง) ทันที แล้วจึงตามด้วยสระ/วรรณยุกต์ต่อไป
    • ใช้เป็นตัวแก้ความกำกวมว่า พยัญชนะสองตัวที่ติดกัน คืออักษรนำและอักษรตาม มิใช่ตัวสะกด (ในกรณีที่สะกดตามปกติแล้วรูปเหมือนกัน) ตำแหน่งที่ใส่เหมือนข้อที่แล้ว
  2. ไม้กั๋งไหล ᩘ ใช้แทน งฺ ในคำบาลี/สันสกฤต โดยวางบนพยัญชนะตัวถัดไป
  3. ระห้าม ᩺ ใช้แทน รฺ ในคำบาลี/สันสกฤต โดยวางบนพยัญชนะตัวถัดไป หรือใช้แทนทัณฑฆาตที่อยู่ท้ายคำ
  4. การันต์ ᩼ ใช้แทนทัณฑฆาตของเขินและลื้อ ส่วนคำเมืองใช้ ระห้าม ᩺
อื่น ๆ
  1. ภาษาเขิน, ภาษาลื้อ, ภาษายอง ที่เขียนด้วยอักษรไทธรรม ใช้อักขรวิธีเดียวกับภาษาคำเมือง เว้นแต่จะกำหนดไว้ในตาราง