ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์ดิ้น
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงdîn
ราชบัณฑิตยสภาdin
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/din˥˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨯᩥ᩠᩶ᨶ (ดิ้น), ภาษาลาว ດີ້ນ (ดี้น) หรือ ດິ້ນ (ดิ้น), ภาษาไทลื้อ ᦡᦲᧃᧉ (ดี้น), ภาษาไทใหญ่ လိၼ်ႈ (ลิ้น)

คำกริยา

แก้ไข

ดิ้น (คำอาการนาม การดิ้น)

  1. อาการที่สะบัดหรือฟาดตัวไปมาอย่างแรง
    ดิ้นให้หลุด
    นอนดิ้น
    ชักดิ้นชักงอ
  2. สั่นไหวกระดุกกระดิก
    หางจิ้งจกขาดยังดิ้นได้
  3. ไม่ตายตัว
    คำพูดดิ้นได้
  4. โดยปริยายหมายความว่า แก้ข้อหา, ปลดเปลื้องข้อหา, ในคำว่า ดิ้นไม่หลุด
  5. (ภาษาปาก) พยายามให้รอดพ้นจากอันตรายหรือความผิด
    เขาดิ้นสุดฤทธิ์เพื่อให้พ้นผิด
  6. (ภาษาปาก) เต้นรำตามจังหวะดนตรีที่ร้อนแรง
    ไปดิ้นที่ผับ

รากศัพท์ 2

แก้ไข

เทียบภาษาลาว ດິ້ງ (ดิ้ง)

คำนาม

แก้ไข

ดิ้น

  1. เส้นเงิน ทอง หรือทองแดง สำหรับปักลวดลายบนผ้าหรือแพรเป็นต้น