ภาษาไทย แก้ไข

 
วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

รากศัพท์ แก้ไข

ยืมมาจากภาษาสันสกฤต आपत्ति (อาปตฺติ) หรือภาษาบาลี อาปตฺติ

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์อา-บัด
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงaa-bàt
ราชบัณฑิตยสภาa-bat
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/ʔaː˧.bat̚˨˩/(สัมผัส)

คำนาม แก้ไข

อาบัติ

  1. (ศาสนาพุทธ) โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ 3 สถาน คือ 1. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ 2. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ 3. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ต่ำกว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ