ดูเพิ่ม: , ข., ขี่, ขู, และ ขู่

ภาษาไทย แก้ไข

รากศัพท์ แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *C̬.qɯjꟲ, จากภาษาจีนเก่า (OC *hliʔ, *hri); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨡᩦ᩶ (ขี้), ภาษาลาว ຂີ້ (ขี้), ภาษาไทลื้อ ᦃᦲᧉ (ฃี้), ภาษาไทใหญ่ ၶီႈ (ขี้), ภาษาไทใต้คง ᥑᥤᥲ (ฃี้), ภาษาไทดำ ꪄꪲ꫁ (ฃิ้), ภาษาอาหม 𑜁𑜣 (ขี), ภาษาจ้วง haex, ภาษาแสก ไกฺ, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง kij (ขี้)

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์คี่
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงkîi
ราชบัณฑิตยสภาkhi
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kʰiː˥˩/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงคี่

คำกริยา แก้ไข

ขี้ (คำอาการนาม การขี้)

  1. กิริยาที่ถ่ายกากอาหารออกทางทวารหนัก, ถ่ายอุจจาระ, ราชาศัพท์ว่า ลงพระบังคนหนัก

คำประสม แก้ไข

คำนาม แก้ไข

ขี้

  1. กากอาหารที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วขับถ่ายออกทางทวารหนัก, อุจจาระ
  2. สิ่งที่ร่างกายขับถ่ายออกมาเกรอะกรังอยู่
    ขี้ไคล
    ขี้รังแค
    ขี้หู
    ขี้ตา
  3. โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่ไม่ต้องการ
    ขี้ตะกั่ว
  4. เศษหรือกากที่ออกมาจากสิ่งนั้น
    ขี้กบ
    ขี้เลื่อย

คำประสม แก้ไข

คำอนุภาค แก้ไข

ขี้

  1. ใช้ประกอบหน้าคำที่แสดงความหมายในทางที่ไม่ดี
    ขี้เกียจ
    ขี้เหนียว
  2. ใช้ประกอบหน้าคำที่แสดงว่ามักเป็นเช่นนั้น
    ขี้หัวเราะ
    ขี้ขอ

คำประสม แก้ไข

คำพ้องความ แก้ไข

ดูที่ อรรถาภิธาน:ขี้

ภาษาญ้อ แก้ไข

คำนาม แก้ไข

ขี้

  1. ขี้